บันเทิง

หนังโรงเล็ก:'สารคดี'เสื้อบอลโลก

หนังโรงเล็ก:'สารคดี'เสื้อบอลโลก

21 มี.ค. 2557

"สารคดี" เสื้อบอลโลก : คอลัมน์ หนังโรงเล็ก โดย... นันทขว้าง สิรสุนทร

 
 
          มีคลิปหนังสั้นและสารคดีบางเรื่อง ที่พูดถึงเสื้อฟุตบอลโลก ทั้งแฟชั่นและการเมือง ทั้งดีไซน์และดนตรี แต่แท้จริง มีอะไรบางอย่างที่คนทั่วไปอาจยังไม่ทราบ
 
          หนึ่งในนั้นก็คือ "ตำนาน" เกี่ยวกับเสื้อฟุตบอลร่วมสมัย ซึ่งคือ ดีไซน์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดหย่อนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งประดิษฐ์ที่แห่งยุคปัจจุบันโดยแท้ ดีไซน์ที่ว่านี้เป็นตัวกระตุ้นรายได้ชั้นดีที่มีจุดมุ่งหมายคือส่วนแบ่งจากผู้ปกครองวุ่นวายกับการแจกจ่ายเงินเพื่อซื้อเสื้อบอลแบบใหม่ให้ลูกหลานที่เรียกร้องอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าเงินจากการขายเสื้อบอลจะเป็นแหล่งรายได้หลักใหญ่ในปัจจุบันของสโมสร แต่จากเสียงวิพากษ์วิจารณ์โดยรวมในปัจจุบันมองว่าเสื้อฟุตบอลเป็นการหลอกลวง 
 
          ถึงแม้ว่าเนื้อหานี้จะเริ่มจากปี 1980 ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นสปอนเซอร์ในวงการกีฬา (และความเห็นเรื่องปีที่เป็นจุดเริ่มต้นที่แท้จริงยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่) จากการวิจัยขั้นพื้นฐานในอดีตของวงการฟุตบอลพบว่าแฟชั่นเสื้อฟุตบอลเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลแข่งขัน และเปลี่ยนจากสีหนึ่งสู่อีกสีใหม่ อันเนื่องมาจากความต้องการผนึกเอกลักษณ์ของแต่ละสโมสรทุกวันนี้ ผู้สนับสนุนวงการฟุตบอล เลือกที่จะแสดงความภักดีต่อทีมของตน ด้วยการสวมใส่เสื้อกีฬาแล้วเปลี่ยนมานิยมผ้าพันคอ หมวกตกแต่งบอลลูกเล็กๆ และดอกกุหลาบทำจากผ้า (rosettes) 
 
          แต่ในปี 70 แตกต่างจากเวลานี้ที่เพียงแค่คุณมีเสื้อฟุตบอลแบบเดียวกับที่ผู้เล่นใส่ลงสนามก็เป็นเครื่องพิสูจน์ความเป็น “แฟนพันธุ์แท้” ของแต่ละคนได้แล้ว เชื่อหรือไม่ว่าเมื่อปลายปี 80 เสื้อฟุตบอลยังไม่ใช่เครื่องวัดความเหนียวแน่นของแฟนฟุตบอล 
 
          จนกระทั่งเมื่อ Gazza พาทีมอังกฤษผ่านเกม Italie ในปี 90 พร้อมๆ กับการให้กำเนิดพรีเมียร์ลีกที่ผู้คนพากันสวมเสื้อยืดทำจากเส้นใยสังเคราะห์ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมเสื้อฟุตบอลแบบโมเดิร์นประกอบด้วยหลายส่วน เพราะยึดหลักการใช้งานเป็นสำคัญนอกเหนือจากการเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละทีม ต่อมาเมื่อทีมฟุตบอลเริ่มเข้าร่วมสโมสรมากขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบนเสื้อเพื่อหลีกเลี่ยงการสวมสีเสื้อที่ชนกันเมื่อถึงเวลาลงแข่ง 
 
          จากนั้นแฟชั่นฟุตบอลก็ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงทีละน้อย จากคอเสื้อแบบมีปก, คอวี, คอผูกเชือกและคอแบบติดกระดุม ต่างก็เข้ามาและจากไปแล้วกลับเข้ามาใหม่อีกครั้ง มีเป็นครั้งคราวที่เกิดนวัตกรรมแหวกแนวอย่างสิ้นเชิง แบบที่เกิดเมื่อเกมระหว่างฮังการีและอังกฤษในปี 1953 ซึ่งเกิดการเปรียบเทียบระหว่างเสื้อน้ำหนักเบา เป็นมันเงาสไตล์ยุโรปกับเสื้อยืดผ้าขนสัตว์น้ำหนักมากอย่างไรก็ตามเมื่อกลางปี 70 เมื่อยี่ห้อผู้ผลิตปรากฏบนเสื้อ ทำให้เสื้อฟุตบอลกลายเป็นสัญลักษณ์ของสโมสรและผู้ผลิตสินค้าไปพร้อมๆ กัน 
 
          เมื่อความนิยมเสื้อฟุตบอลเพิ่มมากขึ้นเมื่อต้นปี 90 ส่งผลให้ดีไซน์คำนึงถึงการสวมเสื้อฟุตบอลทั้งในสนามและนอกสนาม กลายเป็นความยุ่งยากอีกอย่างหนึ่ง 
 
          ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาฝั่งธุรกิจของฟุตบอลอาชีพพากันกระโดดเข้าสู่ฟันเฟืองเสื้อผ้า ทำให้เสื้อฟุตบอลกลับเข้าสู่หลักความคิดแบบเพิ่มสมรรถภาพการเล่นในสนาม ทำให้เสื้อในเวลานั้นทำจากผ้าน้ำหนักเบาเพื่อให้สวมใส่สบาย ระบายความร้อนและความชื้น (เหมาะกับอดีตวันชื้นๆ ในเมือง Gasgow ประเทศอังกฤษ) ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญในการลงสนามตลอด 90 นาที 
 
          แน่นอนว่าเสื้อบอลยังเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาให้ดี ด้วยจำนวนยอดขายนับพันในปัจจุบันแม้จะไม่ดีเท่าในยุค 90 ก็ตาม 
 
          ในแง่ความเข้ารูปของเสื้อบอลเองก็เปลี่ยนแปลงอย่างหลากหลายเพียงไม่กี่ปี ตั้งแต่การเข้ารูปแบบพอประมาณไปจนถึงหลวมจนห้อยยานทำให้ขนาดตัวผู้เล่นดูใหญ่โต แล้วก็กลับมาฟิตอีกครั้ง ประเด็นสำคัญของความหลวมและความเข้ารูป คือ การข่มขู่คู่ต่อสู้ 
 
          นั่นก็เพราะเสื้อขนาดใหญ่ทำให้ผู้เล่นดูแข็งแรงและแข็งแกร่ง แต่เมื่อเวลาผ่านไประดับความแข็งแรงของนักฟุตบอลก็เพิ่มมากขึ้น ทำให้เสื้อแบบพอดีตัวที่โชว์ความแข็งแรงทางร่างกายของนักฟุตบอลและสามารถใส่ลงสนามได้จริงกลับมานิยมอีกครั้ง เสื้อบอลที่มีเนื้อผ้าทันสมัยแบบหลายชิ้นผ้า (multi-panelled) ก็มีส่วนช่วยให้ดีไซน์เนอร์สามารถสร้างสรรค์รูปแบบเสื้อบอลที่จะช่วยเสริมศักยภาพทางร่างกายและสร้างภาพลักษณ์แบบเสื้อเกราะ
 
          ฟุตบอลโลกอีกแค่สองเดือนเศษๆ และนั่นหมายความว่า นับจากนี้ทั้งหนังและวรรณกรรม รวมทั้งรายการทีวี ต่างจะมุ่งสู่ "บราซิล 2014"
และแน่นอนว่า "คมชัดลึก" ก็เดินทางแล้ว สู่ริโอ เดอ จาเนโร
 
.......................................
(หมายเหตุ  "สารคดี" เสื้อบอลโลก : คอลัมน์ หนังโรงเล็ก โดย... นันทขว้าง สิรสุนทร)