
มองผ่านเลนส์คม:'เปลี่ยนผ่านที่ไม่เปลี่ยน'
เปลี่ยนผ่านที่ไม่เปลี่ยน : คอลัมน์ มองผ่านเลนส์คม โดย... บรรณวัชร
�� �
��������� ปรากฏการณ์เล็กๆ ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน นั่นคือ ฟรีทีวีหลายช่อง ต้องประชาสัมพันธ์ว่า ช่องของตัวเองอยู่หมายเลขอะไร เนื่องจาก "มัสต์แครี่" ของ กสทช. ทำให้มีการจัดเรียงช่องของแต่ละ "กล่องรับสัญญาณ"
�� �
��������� ซึ่งได้เกิดการเปลี่ยนแปลงสำหรับช่องฟรีทีวีเดิม ช่อง 3-5-7-9-11 และไทยพีบีเอส
�� �
��������� ฉะนั้นง่ายที่สุด ผู้บริโภคสามารถโทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากศูนย์บริการของแต่ละบริษัทดังนี้ พีเอสไอ โทร.0-2730-2999 จีเอ็มเอ็ม โทร.1629 ลีโอเทค โทร.0-2595-8000 และอินโฟแซท โทร.0-2913-9999
�� �
��������� ความวุ่นวายในช่วงเปลี่ยนผ่าน มองโลกในแง่ดี อาจเป็นตัวกระตุ้นให้คนดูเร่งขวนขวายหา "กล่องรับสัญญาณทีวีดิจิทัล" มาติดตั้ง แต่ในโลกเป็นจริง ก็ต้องดูกันอีกที
�� �
��������� สิขเรศ ศิรากานต์ นักวิชาการด้านโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล กล่าวว่า หากพิจารณาจากเม็ดเงินลงทุนทีวีดิจิทัลเบื้องต้น ประกอบด้วย มูลค่าประมูล 24 ช่องประเภทบริการธุรกิจ 24 ช่อง รวม 50,862 ล้านบาท การลงทุนโครงข่าย 5,000-10,000 ล้านบาท �
�� �
��������� ขณะที่มูลค่าอุปกรณ์การรับชมที่จะได้รับคูปองสนับสนุนจาก กสทช. มูลค่าคูปองละ 690-1,200 บาทต่อครัวเรือน จำนวน 22 ล้านครัวเรือน อยู่ที่มูลค่า 15,180-26,400 ล้านบาท �
�� �
��������� ดังนั้นหากรวมมูลค่าการลงทุนจะอยู่ที่ 7-8 หมื่นล้าน โดยยังไม่รวมมูลค่าการลงทุนด้านอุปกรณ์และบุคลากรของ 24 ช่องทีวีดิจิทัล ประเภทธุรกิจ ที่จะเป็นมูลค่า "นับแสนล้านบาท" ในช่วงระยะเวลาใบอนุญาต 15 ปีจากนี้
�� �
��������� จากการศึกษาการเปลี่ยนผ่านสู่โทรทัศน์ระบบดิจิทัลในหลายประเทศ บางประเทศใช้เวลาการเปลี่ยนผ่านสู่ทีวีดิจิทัล ระยะสั้น 2 ปี เนื่องจากมีพื้นที่ขนาดเล็ก ส่วนประเทศขนาดใหญ่ เช่น สหรัฐ ใช้เวลา 13 ปี อังกฤษ ใช้เวลา 7 ปี �
�� �
��������� อาจารย์สิขเรศ จึงเสนอว่า ในช่วงการเปลี่ยนผ่านโทรทัศน์ระบบดิจิทัลของหลายประเทศ หน่วยงานด้านการกำกับดูแล (เรคกูเลเตอร์) ภาครัฐ และเอกชน มีการจัดตั้งหน่วยงานเพื่อทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างการรับรู้และช่วยเหลือประชาชนเปลี่ยนผ่านสู่ทีวีดิจิทัล ไม่มีประเทศใดที่ดำเนินการโดยเรคกูเลเตอร์ เพียงหน่วยงานเดียว
�� �
��������� บ้านเรามีหน่วยงานหลักคือ กสทช. มวลมหาประชาชนก็กำลังรอ "คูปอง" อยู่ด้วยใจระทึก
�� �
��������� สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. บอกว่า หลังจากโครงข่าย (Mux) เริ่มทดลองออกอากาศช่องรายการทีวีดิจิทัล ตั้งแต่วันที่ 1-24 เมษายนนี้ โดย กสทช.กำหนดแผนการรณรงค์ร่วมกับทุกหน่วยงานสร้างการรับรู้ประชาชนเปลี่ยนผ่านการรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ในช่วงหลังสงกรานต์ �
�� �
��������� พูดง่ายๆ กสทช.จะเริ่มคิดแผนการสนับสนุนครัวเรือนไทยรับชมทีวีดิจิทัล ด้วยการกำหนดราคาคูปอง ส่วนลดการซื้ออุปกรณ์รับชมทีวีดิจิทัล และวิธีการแจกคูปอง
�� �
��������� จากนั้น วันที่ 25 เมษายนนี้ กสทช.กำหนดออกใบอนุญาตให้ผู้ชนะประมูลทีวีดิจิทัล 24 ช่อง และผู้ได้รับใบอนุญาตมีเวลา 30 วัน เพื่อเตรียมการออกอากาศเต็มรูปแบบ หรือภายในวันที่ 25 พฤษภาคมนี้ โดย กสทช.จะกำหนดวันออกอากาศทีวีดิจิทัลอย่างเป็นทางการอีกครั้ง
�� �
��������� สุภาพ คลี่ขจาย ประธานชมรมผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล และผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ช่อง THV กล่าวว่า ทีวีดิจิทัลทั้ง 24 ช่อง และฟรีทีวี (อนาล็อก) 6 ช่อง จะร่วมมือกับ กสทช. ในการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์การรับชมทีวีดิจิทัล ให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลในทุกช่องทาง �
�� �
��������� ปัจจัยเร่งที่จะทำให้ผู้ชมทีวีอนาล็อกเดิมเปลี่ยนสู่การรับชมทีวีดิจิทัล คือ การกำหนดราคา "คูปอง" ส่วนลดที่ชัดเจนของ กสทช. รวมทั้งการกำหนดระยะเวลาการยุติทีวีอนาล็อก
�� �
��������� อันดับแรก กสทช.ควรเร่งเอาใจมวลมหาประชาชน ด้วยการแจกคูปองอย่างเร่งด่วน อย่ามัวเอ้อระเหยลอยชายกันอยู่เลย
.......................................
(หมายเหตุ เปลี่ยนผ่านที่ไม่เปลี่ยน : คอลัมน์ มองผ่านเลนส์คม โดย... บรรณวัชร)
�