
1988 ในวัฒนธรรมป๊อป
03 พ.ค. 2559
eat play life : 1988 ในวัฒนธรรมป๊อป : โดย...นันทขว้าง สิรสุนทร
ดูเหมือนว่า ปี 1988 คืออดีตที่มีคุณค่าความทะเยอทะยานอย่างของ Thatcherite (นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกจากพรรคอนุรักษนิยมอังกฤษ) ถูกกล่าวถึงอีกครั้งอย่างสมบูรณ์แบบในเพลง “I Should Be So Lucky” โดย Kylie Minogue และ “The Only Way Is Up” โดยศิลปิน Yazz
ในห้วงเวลาที่ยังไม่มีอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์ยังทำหน้าที่ได้เพียงอย่างเดียว กระแสในสมัยนั้นหวังพึ่ง Flavor Flav แรพเปอร์ชาวอเมริกันเป็นผู้กำหนดเทรนด์ แต่กระแส Pop Culture หมุนเวียนอยู่ในกลุ่มคนเล็กๆ เท่านั้น
20 ปีผ่านมาแล้ว วัฒนธรรมหลังสหัสวรรษ (Postmillennial) กลายเป็นภาพพลาสติกของ Andy Warhol ศิลปะในทุกรูปแบบปรากฏอยู่เกลื่อนกลาดยิ่งกว่าเดิม อีกทั้งยังมีลักษณะพิเศษอื่น เช่น การย่อยสลายตัวเองอยู่ตลอดอายุการใช้งาน การจัดทำขึ้น “โดยเฉพาะ” สำหรับทุกๆ คนบนโลกนี้ แฝงด้วยการเหน็บแนมอย่างจริงใจ ความสวยงามและอัปลักษณ์
ลักษณะที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ส่งถึงผู้บริโภคพร้อมกันในครั้งเดียว เรียกได้ว่าวัฒนธรรมป๊อปทำงานหนักขึ้นและเข้าถึงคุณเร็วขึ้นเช่นกัน
ดังนั้นจึงเป็นเรื่องธรรมดาถ้าหากได้ยินผู้คนบ่นถึงวงดนตรีที่เวทนา นักแสดงที่ขาดรสชาติ ใครก็ตามสามารถพูดถึงความกลวงของศิลปะแบบโมเดิร์นและความนิยมตัดต่อสุนทรพจน์ในแวดวงการเมืองสมัยใหม่ได้ทั้งวัน Pop สมัยหลังสหัสวรรษอาจสับสนและรุนแรง อย่างไรก็ตามเราต้องยอมรับว่าไม่มีช่วงเวลาไหนจะรุ่งเรืองเท่าเวลานี้อีกแล้ว เหมือนกับที่ Paul Whitehouse
ตัวละครวัยรุ่นจาก The Fast Show คงจะพูดว่า “Isn’t pop brilliant?!”
นักหนังสือพิมพ์นามว่า David Quantick ตั้งข้อสังเกตว่า Pop จะย้อนกลับมากินหางของตัวเองในที่สุด ถึงแม้ว่าเขาล้มเหลวในการจับตามองพฤติกรรมนี้ในยุค 90 จนถึงปี 2008 เราสามารถตัดสินได้เองว่า กระแสดังกล่าวกลืนกินทุกอย่างตั้งแต่การเมือง, สิ่งพิมพ์, สถาปัตยกรรม, การตกแต่งบ้าน, การทำอาหาร, กอล์ฟ ไปจนถึงศิลปะชั้นสูง ดนตรีป๊อปหนีออกจากใจกลางชุมชนแออัดของตัวเอง
เพื่อเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของสาธารณชน ตั้งแต่ผู้บริหารรายการโทรทัศน์และโฆษณา จนถึงนายกฯ ที่เล่นกีตาร์อย่างอ่อนหัด ต่างพยายามเปลี่ยนตัวเองเป็นป๊อปสตาร์ ตัวอย่างที่เป็นเครื่องยืนยันที่แน่นอนได้แก่การออกอากาศภาพกอร์ดอน บราวนเอ่ยชื่อสมาชิกวง Artic Monkeys ระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์ในที่ประชุมของพรรค
ประวัติศาสตร์ของวัฒนธรรมนี้ มักจะจัดอยู่ในรูปแบบของชุดการรับช่วงต่อ วัฒนธรรมใหม่เข้ามาแทนวัฒนธรรมเก่า คุณคงจะเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นหากเราแทนวัฒนธรรมแต่ละช่วงเป็นสัตว์ประหลาดที่กินได้ทั้งพืชและเนื้อ ต่อยอดอิทธิพลของตนไปไกลเกินขอบเขตการจัดหมวดหมู่ดนตรี, ภาพยนตร์, รายการโทรทัศน์ และกีฬาแบบดั้งเดิมตามธรรมเนียม
Acid House คือผู้ให้กำเนิดลัทธิบริโภคนิยมมวลชนแบบเบาอารมณ์ (mood-lightened) และกลายมาเป็นนิยามแห่งยุค 90 ไม่ถึงสิบปีต่อมาส่วนผสมของการมองโลกด้วยวัฒนธรรมอังกฤษซึ่งกำลังเคลื่อนที่อยู่ในตลาดของ Young British Artist บวกกับนักลอกเลียนแบบสไตล์บริทป๊อปในอดีต, รัฐบาลใหม่ที่เพิ่งได้รับการเลือกตั้ง และ Spice Girls
นี่คือเรื่องราวที่เคยเกิดขึ้นในอดีตที่น่าจดจด...