'พรหมลิขิต (บุพเพสันนิวาส 2)' เน้นความเป็นอยุธยา
"แดง" ศัลยา ศัลยา สุขะนิวัตติ์ เผยพยายามปั้นแต่งบทโทรทัศน์ ไพรหมลิขิต (บุพเพสันนิวาส 2)" ให้ถูกใจคนดูที่เป็นคนไทยมากที่สุด พร้อมเน้นบอกเล่าเรื่องราวความเป็นอยุ
ทีมบันเทิง คมชัดลึก – ใกล้ความจริงมาอีกนิดแล้ว สำหรับแฟนละคร “บุพเพสันนิวาส” เมื่อมีข่าวว่า “รอมแพง” เจ้าของบทประพันธ์ได้ส่งบทละครภาคต่อเรื่องนี้ที่ใช้ชื่อว่า “พรหมลิขิต” ให้กับ “แดง” ศัลยา นักเขียนบทโทรทัศน์ชื่อดังแล้ว งานนี้ผู้สื่อข่าวมีโอกาสเจอนักเขียนบทโทรทัศน์มือทองจึงถามถึงเรื่องนี้
แฟนๆ บุพเพสันนิวาสเริ่มปลาบปลื้มหลังจากที่เห็นภาพรอมแพงส่งมอบงานให้ศัลยาแล้ว
"ครูปลาบปลื้มลดลง แฟนๆ ปลาบปลื้มมากขึ้ น(หัวเราะ) งานหนักมาแล้ว แต่ก็ประมาณ1 ใน3 นะคะ ก็ถ้าคุณรอมแพงตั้งใจไว้ว่าจะออกให้ทันงานสัปดาห์หนังสือ ปีนี้ ซึ่งคือเมษายน ก็น่าจะเสร็จ แต่ว่าเสร็จแล้วครูก็ไม่ทราบ ครูไม่ได้รับเอง ไม่ได้เจอคุณรอมแพง "
ที่ได้รับมาองค์ประกอบถึงตรงไหน
"มันก็ไปตามเรื่องนะคะ ที่เขาประพันธ์ไว้ ก็มีความคล้ายคลึงตรงที่มีนางเอกอยู่ในยุคนี้ เข้าไปอยู่ในสมัยอยุธยา โดยเล่าเรื่องในรุ่นลูก ก็คล้ายๆ สิ่งที่คุณอุ้ยบอกไปแล้ว ว่าเป็นเด็กผู้หญิงสมัยนี้ ได้กลับไปสู่ยุคนั้น ทิ้งๆที่ไม่ได้ตายนะคะ กลับไปสู่ยุคสมัยนั้น กลับไปเจอรุ่นลูกชายแฝด ไปเจอครอบครัวนี้"
อ่านบทประพันธ์แล้วสนุกไหม
"อ่านไม่ถึงกับละเอียดนะคะ แต่ก็สนุกนะคะ สนุกตามเคย "
ถ้าคุณรอมแพงบอกว่าบทประพันธ์เสร็จเมษายนแล้วในส่วนของบทโทรทัศน์ต้องใช้เวลาแค่ไหน
"ขึ้นอยู่กับเวลาที่มี และขึ้นอยู่กับความยากง่าย ของตัวเรื่องที่จะถ่ายทอดมาเป็นบท เราก็หวังไว้ว่าจะทำให้เร็วกว่าบุพเพสันนิวาส เพราะว่าเรามีความคุ้นเคย รู้จักทางหนีทีไล่แล้ว ต้องทำอย่างไรถึงถูกจริตคนดู คงทำให้ง่ายขึ้น เพราะว่าตอนที่เขียนบุพเพสันนิวาส ตอนแรกเราไม่รู้เลย "
ในการค้นคว้าข้อมูล ต้องใช้เวลาขนาดไหน
"ต้องเยอะเหมือนกัน โดยเฉพาะเป็นเรื่องที่ไกลออกจากสมัยพระณารายน์ เพราะสมัยพระนารายณ์ยังรู้สึกคุ้นเคย เคยอ่าน แต่ว่าพอไล่มาถึงพระเจ้าท้ายสระ พระเจ้าเสือ เราไม่ค่อยได้คุ้ยเคย ก็คงต้องอ่านเยอะ ความยากของบทโทรทัศน์คือเอาคำบรรยาย มาเป็นภาพ มาเป็นเสียง ส่วนใช้เวลานานแค่ไหน อันนี้ก็ตอบไม่ถูกนะคะ มันก็แล้วแต่เวลาที่เรามีใช้ช่วงนั้น อย่างบุพเพสันนิวาส เสียเวลาไปกับความคิดว่าเราจะทำอย่างไรดี กับเรื่องราวข้อมูลประวัติศาสตร์ ที่ไม่มีเนื้อหาเป็นฉาก ไม่มีคำพูด ก็ตรงนั้นทำให้ยาก"
ความกดดันเยอะไหม กับความสำเร็จที่ผ่านมา
"ครูคิดว่ามันก็คงไม่ได้แย่ไปกว่าเดิม มันอาจไม่ได้ดีไปกว่าเดิม แต่มันคงไม่ได้แย่ไปกว่าเดิม หรือถ้ามันแย่ไปกว่าเดิมมันคงย่ในมุมหนึ่ง ก็คือไม่รู้ว่าที่ดีกว่านั้นคืออะไร คือเขียนอะไรออกไป "
อยากเขียนแบบเดิมหรือว่าทิศทางใหม่ไปเลย
"ครูก็ไม่รู้เหมือนกัน ครูก็เขียนเหมือนที่เคยเขียนมา ว่าละครมันต้องเป็นแบบนี้ เล่าเรื่องแบบนี้ ก็ทำแบบที่เคยทำมาหลายสิบปี คงไม่มีอะไรที่เป็นทิศทางใหม่ ความใหม่คือเนื้อหา ที่น่าจะโดนใจคนดูบ้าง"
พออ่านบท1ใน3แล้วมองว่าเป็น โป๊บ เบล เหมือนเดิมไหม
"เวลาเขียนบท ต้องใจว่างก่อน ต้องยังไม่นึกว่าเป็นใคร พี่หมื่นกับการะเกด ก็เป็นโป๊ปเบลล่าแน่นแหละ เขาก็ต้องตัวละครตัวเก่า แต่ว่าตัวอื่นยังไม่คิดว่าเป็นใคร"
“หน่อง” อรุโณชา ผู้จัดอยากได้รุ่นลูกเป็น “โป๊ป-เบลล่า”
"คงอย่างนั้น มันก็ต้องที่มาของความหน้าเหมือนตรงนี้ ก็คงต้องเขียนให้กลายเป็นโป๊ปกับเบลล่า"
เป็นโจทย์ยากไหมที่ต้องเป็นพระนางคู่เดิม เป็นภาค 2 ด้วย
"สำหรับครูไม่ยากหรอก ก็เขียนไปตามเรื่อง ความยากเป็นของเขาที่ต้องไปทำให้โป๊ปลงมาเป็นหนุ่มน้อยของอยุธยา เป็นเรื่องของคนอื่นทั้งสิ้น ถ้าครูจะเขียน ให้เอาสนุก ก็คงเขียนให้โป๊ปเป็นหนุ่มมาดเด็กน้อยมาก เขาจะยากขึ้นไปอีก ต้องอยู่ที่โป๊ปทำตัวอย่างไร (หัวเราะ)"
คนกลัวว่ากว่าทุกอย่างจะเสร็จ โป๊ป เบลล่าจะแก่ไป
"บอกโป๊ป-เบลล่าว่าอย่าไปทำตัวให้แก่ ทำตัวให้เป็นหนุ่มสาวอยู่ตลอด เราจะได้เขียนได้สบายๆ (หัวเราะ)"
กดดันไหม เพราะคนรอดู
"ไม่กดดันมากหรอกนะคะ เพราะว่าครูเชื่อในความเป็นพรหมลิขิต ความต่อเนื่อง ความสอดคล้องของเรื่องเดิม เชื่อในสิ่งเหล่านี้ และเชื่อในคนดู ว่าคนดูรับมันได้ เพราะว่าไม่ได้แตกต่างออกไปจากของเดิม เพราะมันเป็นเรื่องของการให้เห็นสังคมไทย สังคมอยุธยา สังคมโบราณ สิ่งที่อยากทำให้มากกว่าเดิม อยากใส่ความเป็นอยุธยาเข้าไปให้มากขึ้น ให้เห็นว่าอยุธยา เป็นอย่างนี้ ทางกายภาพ วัฒนธรรม ทางซีจีต้องไปทำให้มากขึ้น เพราะว่าของเดิมมีแต่ตลาด บ้าน วัด วัง ตอนนี้มันอาจต้องมีมากขึ้น ส่วนเรื่องปรากฎการณ์มันคงมีนะคะคาดหวังก็ลำบากมากเลย ว่าจะคาดหวังว่าเป็นปรากฎการณ์อะไร เพราะว่าบุพเพเราไม่ได้คาดหวัง แต่ว่าสิ่งที่คาดหวังคืออยากทำให้ถูฏใจคนดูมากที่สุด คนดูคือคนไทย เราจะพยายามทำให้เป็นไทยที่สุด คามเป็นไทยในอยุธยา ที่หลายคนอาจยังไม่รู้ ซึ่งมีประวัติศาสตร์มีอยู่บ้าง แต่ว่าเราต้องกรองว่าอันไหนเท็จจริงแค่ไหน "