ประวัติ "ทมยันตี" ตำนานนักเขียนชั้นครู ผู้จากไป ด้วยวัย 85 ปี
สำหรับเรื่องช็อกวงการบันเทิง และวงการวรรณกรรมไทย กับการจากไปของ ศิลปินนักเขียนชั้นครู คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ หรือ "ทมยันตี" เจ้าของผลงานเขียนทรงคุณค่า ที่ถูกหยิบมาสร้างเป็นละคร ซีรีส์ ภาพยนตร์มากมาย ซึ่งประวัติและผลงานของท่านเป็นที่ประจักษ์แก่เหล่าผู้อ่าน
ประวัติของนักเขียนชั้นครูผู้เป็นตำนาน "คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ หรือ ทมยันตี" เกิด 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2479 เป็นนักประพันธ์นวนิยายชาวไทย นามปากกาที่เป็นที่รู้จัก คือ ทมยันตี, ลักษณวดี, กนกเรขา, โรสลาเรน, วัสสิกา, มายาวดี และเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2555
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
โดยผลของ "ทมยันตี หรือ คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์" ที่เป็นที่กล่าวขาน และถูกหยิบจับมาสร้างเป็นละคร ภาพยนตร์ให้ชมกันหลากหลายเวอร์ชั้น อาทิ คู่กรรม, ทวิภพ, ค่าของคน, อุบัติเหตุ, ดาวเรือง, ล่า, เวียงกุมกาม, นากพัทธ์, พิษสวาท, ดั่งดวงหฤทัย, คำมั่นสัญญา, พี่เลี้ยง, เลือดขัตติยา, ใบไม้ที่ปลิดปลิว เป็นต้น
สำหรับชีวิตส่วนตัวของ "คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ ท่านมีชื่อเล่นว่า "อี๊ด" เป็นบุตรีคนใหญ่ของ "ทองคำ และไข่มุก ศิริไพบูลย์" มีพี่ชายหนึ่งคน และมีน้องสาวหนึ่งคน ตระกูลฝ่ายบิดาเป็นทหารเรือ ตระกูลฝ่ายมารดาเป็นชาววัง คุณหญิงวิมล สมรสกับ "สมัคร กล่าเสถียร" ต่อมาได้หย่าร้างกัน และสมรสครั้งที่สองกับ "ร้อยตำรวจโทศรีวิทย์ เจียมเจริญ" มีบุตรชายด้วยกันสามคน เธอใช้ชีวิตสมรสกับสามีระยะเวลาหนึ่ง แต่ก็เกิดปัญหาอีก
โดยข้อมูลที่มีบันทึกไว้กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับ งานเขียนของ คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ ว่า แม้ไม่ปรากฏว่างานเขียนของเธอเคยได้รับรางวัลสำคัญ แต่เป็นที่ยอมรับทั่วไปว่าเธอถือเป็นนักเขียนที่ประสบความสำเร็จ มีผลงานได้รับความนิยมอย่างสูงเป็นจำนวนมาก เหตุผลที่ผลงานของเธอไม่ได้รับรางวัลทางวรรณกรรมใด ๆ นั้น เป็นเพราะเธอไม่ประสงค์ให้ส่งผลงานเธอไปประกวด และปฏิเสธการรับรางวัลทั้งปวง เธอเคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า "ฉันเคยได้รับรางวัลจากพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มาแล้ว นั่นคือรางวัลสูงสุดในชีวิต จากนั้นไม่เคยอยากได้รางวัลใด ๆ อีกเลย"
ปัจจุบันเธอเริ่มลงมือเขียนเรื่อง "จอมศาสดา" ซึ่งจะเป็นเรื่องสุดท้ายที่เธอจะเขียนแล้ว จากนั้นเธอจะหันหน้าเข้าสู่ความสงบใต้ร่มพระศาสนา
ทางทีมข่าวบันเทิง คมชัดลึก ต้องขอแสดงความอาลัย กับการจากไปของศิลปินนักเขียนชั้นครู ผู้ฝากผลงานอันทรงคุณค่าแห่งวงการวรรณกรรมไทยให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาผลงาน
ขอบคุณข้อมูลจาก : วิมล ศิริไพบูลย์