"ลำยอง" คุณมองคำนี้ ด้วยความหมายแบบไหน ซึ่งพจนุนากรมไทย ได้ชี้ไว้แล้ว
คำว่า "ลำยอง" นั้น เชื่อว่าหลายคนยังได้ยินและติดหูกันอยู่ แต่ทราบหรือไม่ว่า ความหมายที่แท้จริงตาม พจนานุกรมไทย ให้ไว้ว่าอย่างไร จะเป็นเหมือนละครไทย "ทองเนื้อเก้า" หรือไม่ มีคำตอบเพราะจะเป็น "ลำยอง" เหมือนกันไม่ได้
หากกล่าวถึงคำว่า "ลำยอง" ในยุคสมัยนี้หลายคนคงนึกถึงตัวละครหลักในเรื่อง ทองเนื้อเก้า หรือชื่อคน รวมถึงเพราะบุคคลิกในเรื่องของตัวละครชื่อว่า "ลำยอง"เอง ทำให้ความหมายหรือนิยามเรียกตามเหตุการณ์ผันไปตามยุค นั่นคือสื่อคนที่ติดเหล้า ดื่มแอลกอฮอลล์ก็ได้อีกแบบ แต่ทว่าแท้จริงแล้ว "ลำยอง" ยังมีความหมายที่หลายคนอาจหลงลืม
โดยคำว่า "ลำยอง" นั้นได้ให้ความหมายไว้ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ชี้ว่า "ลำยอง" เป็น ส่วนประกอบช่วงบนของปั้นลมปราสาทหรือวิหาร. ว. สวย งาม. ซึ่งทางทวิตเตอร์ ขุนเดชวิทยายุทธ #ครบแล้วสองเข็ม(@dejdanaisupa) ได้ชี้ข้อมูลอีกว่า ลำยอง : ลำยองเป็นชื่อเรียกส่วนประกอบช่วงบนของปั้นลมอาคารมีฐานานุศักดิ์ จะทำต่างจากปั้นลมทั่วไป มีส่วนประกอบสำคัญได้แก่ ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ นาคสะดุ้ง งวงไอยรา ฯลฯ
และนอกจากนี้อย่างที่ทราบกันดีว่า อีกความหมาย คำว่า "ลำยอง" ยังกล่าวถึงความสวยความงาม ได้อีกด้วย ซึ่งคาแรกเตอร์ของตัวละคร "ลำยอง" จึงถูกนำเสนอให้เห็นผนวกกับจินตนาการของผู้เขียนชี้ว่า แม่ของลำยอง ก่อนตั้งท้องลำยอง นั้นฝันถึงนางฟ้า นางสวรรค์ และคำว่า "ลำยอง" จึงน่าจะสื่อความหมายได้ตรงกับตัวละครดังกล่าวอย่างชัดเจน
แต่ทว่าพฤติกรรมของ "ลำยอง" ที่ไม่ได้สวยงามเหมือนหน้าตา โดยเฉพาะเรื่องการดื่มเหล้า , ไม่ดูแลครอบครัว , มีสามีหลายคน ทำให้คำว่า "ลำยอง" ถูกนำมากล่าวถึงภาพลบด้วยเช่นกัน
ซึ่งหากจะใช้คำว่าลำยองในยุค สมัยนี้ก็ต้องดูเหตุการณ์ บรรยากาศให้ดีเพราะคำว่า "ลำยอง" ที่ใช้ไปในแต่ละครั้งอาจจะมีความหมายที่ต้องการสื่อสารไม่เหมือนกัน
ขอบคุณภาพจาก : พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน , @dejdanaisupa