บันเทิง

"แอ๊ด คาราบาว" จากสถาปนิกสู่นักร้องเพื่อชีวิต

"แอ๊ด คาราบาว" จากสถาปนิกสู่นักร้องเพื่อชีวิต

10 ก.พ. 2565

ครั้งนี้คมชัดลึกบันเทิงสเปเชียลจะพาไปย้อนดูจุดเปลี่ยนในชีวิตของ "แอ๊ด คาราบาว" จากอาชีพสถาปนิกสู่การเป็นนักร้องเพื่อชีวิตที่มีชื่อเสียงโด่งดังและยังได้รับยกย่องให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักร้อง-นักประพันธ์เพลงไทยสากล) ประจำปี พ.ศ. 2556 ด้วย

เชื่อว่าหลายคนคงไม่รู้มาก่อนว่ากว่าที่ "แอ๊ด คาราบาว" จะก้าวมาสู่การเป็นนักร้องเพื่อชีวิตชื่อดังและได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ ครั้งนี้คมชัดลึกบันเทิงสเปเชียล จะพามาดูจุดเปลี่ยนในชีวิตของเขากัน โดย "แอ๊ด คาราบาว" เกิดวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497 ที่จังหวัดสุพรรณบุรี มีจิตใจรักเสียงเพลงและดนตรีมาตั้งแต่เด็กๆ จากการที่พ่อเป็นหัวหน้าวงดนตรีประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ชื่อวงดนตรี "ชสพ." เมื่อปี พ.ศ. 2480 ต่อมาเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นได้รับอิทธิพลจากดนตรีแนวตะวันตกจึงหันมาเล่นเครื่องดนตรีตะวันตกต่างๆ เช่น กีตาร์ ซึ่งเหล่านี้ได้เป็นอิทธิพลในการเป็นนักดนตรีในเวลาต่อมา \"แอ๊ด คาราบาว\" จากสถาปนิกสู่นักร้องเพื่อชีวิต

"แอ๊ด คาราบาว" เริ่มเข้ารับการศึกษาชั้นประถมที่โรงเรียนวัดสุวรรณภูมิ และสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย และเดินทางเข้าสู่กรุงเทพมหานครเพื่อศึกษาต่อเหมือนเด็กต่างจังหวัดทั่วไป โดยขอติดมากับรถขนส่งไปรษณีย์ เข้าเรียนต่อใน สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตอุเทนถวายและต่อในระดับปริญญาตรี สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่สถาบันเทคโนโลยีมาปัว ประเทศฟิลิปปินส์ เป็นเวลา 1 ปี (ในปีพ.ศ. 2556 ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาดนตรีไทยสมัยนิยม จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง) ที่ประเทศฟิลิปปินส์ แอ๊ดได้พบกับเพื่อนคนไทยที่ไปเรียนหนังสือที่นั้น คือ "ไข่ สานิตย์"  และ "เขียว กีรติ" ต่อมาทั้ง 3 จึงร่วมกันตั้งวงดนตรีขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่า "คาราบาว" เพื่อใช้ในการแสดงบนเวทีในงานของสถาบัน โดยเล่นดนตรีแนวโฟล์คพายุภา อาหล่ามกุล

เมื่อ "แอ๊ด คาราบาว" สำเร็จการศึกษาและกลับมาเมืองไทย ได้ทำงานประจำเป็นสถาปนิกในสำนักงานเอกชนแห่งหนึ่ง และส่วนเขียวทำงานเป็นวิศวกร ประเมินราคาเครื่องจักรโรงงานอยู่กับบริษัทของประเทศฟิลิปปินส์ที่มาเปิดสาขาในประเทศไทย และทั้งคู่จะเล่นดนตรีในตอนกลางคืน โดยเล่นประจำที่ดิกเก็นผับ ในโรงแรมแอมบาสเดอร์ สุขุมวิทมีงานส่วนตัวคือรับออกแบบบ้านและโรงงาน ต่อมาเมื่อ "ไข่" และ "เขียว" กลับมาจากประเทศฟิลิปปินส์ ทั้ง 3 ได้เล่นดนตรีร่วมกันอีกครั้งแต่ทุกคนก็แยกย้ายไปทำงาน  ต่อมาปี พ.ศ. 2523 "แอ๊ด คาราบาว" ได้ทำงานเป็นสถาปนิก ประจำสำนักงานบริหารโครงการ ของการเคหะแห่งชาติ  \"แอ๊ด คาราบาว\" จากสถาปนิกสู่นักร้องเพื่อชีวิต

ส่วนจุดเปลี่ยนในชีวิต "แอ๊ด คาราบาว" อยู่ที่การรับหน้าที่เป็นโปรดิวเซอร์อัลบั้มชุดแรกให้กับวงแฮมเมอร์ ในปี พ.ศ. 2522 ในชุด บินหลา โดย "แอ๊ด คาราบาว" ยังเป็นผู้ออกแบบปกอัลบั้มด้วย โดยอัลบั้มชุดนี้ทำให้แฮมเมอร์เป็นที่รู้จักในวงการเพลง และปี พ.ศ. 2523 "แอ๊ด" ยังได้แต่งเพลง ถึกควายทุย ให้แฮมเมอร์บันทึกเสียงในอัลบั้ม ปักษ์ใต้บ้านเรา หลังจากนั้นตัวของ "แอ๊ด คาราบาว" ก็มีความคิดที่ว่าหากจะออกอัลบั้มเป็นของตัวเอง คงจะประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน จึงร่วมกับเขียว ออกอัลบั้มชุดแรกของวง "คาราบาว" ในชื่อชุด "ขี้เมา" ในปี พ.ศ. 2524 สังกัดพีค็อก สเตอริโอ ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จมากนัก ปีถัดมา คาราบาว ได้สมาชิกใหม่เพิ่มอีก 1 คน คือเล็ก - ปรีชา ชนะภัย มือกีตาร์จาdกวง เพรสซิเดนท์ (เล็กเป็นเพื่อนเก่าของแอ๊ดตั้งแต่สมัยเรียนอยู่ช่างก่อสร้างอุเทนถวายด้วยกัน) มาร่วมงานในชุดที่ 2 คือชุด แป๊ะขายขวด ชุดที่ 3 ชุด "วณิพก" ในระหว่างนั้นวงคาราบาวในยุคแรกก็ได้ออกทัวร์เล่นคอนเสิร์ตตามโรงภาพยนตร์ต่าง ๆ ทั่วประเทศ แต่ไม่ได้รับความสนใจเท่าไร บางครั้งมีคนดูไม่ถึง 10 คนก็มี

คาราบาว มาประสบความสำเร็จถึงขีดสุดในอัลบั้มชุดที่ 5 ของวง คือชุด "เมด อิน ไทยแลนด์" ที่วางจำหน่ายในปลายปี พ.ศ. 2527 ซึ่งมียอดจำหน่ายสูงถึง 5,000,000 ตลับ/ก๊อปปี้ ซึ่งเป็นสถิติที่สูงที่สุดในประเทศไทย และนับตั้งแต่นั้น ชื่อของ ยืนยง โอภากุล หรือ แอ๊ด คาราบาว ก็เป็นที่รู้จักกันดีของคนไทย และออกผลงานเพลงร่วมกับวงคาราบาวมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงได้แสดงคอนเสิร์ตที่สหรัฐอเมริกาอีกด้วย  จนถึงวันนี้ไม่ต่ำกว่า 900 เพลง \"แอ๊ด คาราบาว\" จากสถาปนิกสู่นักร้องเพื่อชีวิต

 

\"แอ๊ด คาราบาว\" จากสถาปนิกสู่นักร้องเพื่อชีวิต

 

ขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย