ไหว้ "เทวดานพเคราะห์"รับสงกรานต์อย่างไรให้ปัง นับจากนี้เช็คเลย
การไหว้สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ก็มีวีธีเคล็ดลับที่แตกต่างกันออกไป อย่างการไหว้เทวดานพเคราะห์ก็เช่นกัน วันนี้จึงขอเอาใจสายมู สายความเชื่อ มาตอบโจทย์ว่า การไหว้เทวดานพเคราะห์ ต้องทำอย่างไรให้บ้างปัง และถูกหลักตามหลักความเชื่อที่มีมา
ได้ฤกษ์ดีวันที่ 12 เมษายน 2565 เริ่มกิจกรรม"สรงน้ำพระธาตุและเทวดานพเคราะห์" กันแล้ว ณ ศาลาสำราญมุขมาตย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ที่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม จัดขึ้นเป็นธรรมเนียมประจำทุก ๆ ปีสืบเนื่องวัฒนธรรมไทยที่ดีงาม ก่อนหน้าที่ ทีมข่าวคมชัดลึก ได้เผยแพร่ถึงประวัติความเป็นของ "เทวดานพเคราะห์" ทั้ง 9 องค์ กันไปเรียบร้อย
วันนี้เอาใจสายมู สายความเชื่อใน การไหว้เทวดานพเคราะห์ ว่าต้องทำอย่างไรให้ปัง และถูกหลักตามหลักความเชื่อที่มีมา
โดยรายละเอียดข้อมูล การไหว้สักการะสรงน้ำ เทวดานพเคราะห์ ที่ได้เขียนบอกไว้ และถูกเผยแพร่จาก กรมศิลปากร นั้นมีเนื้อหาชี้บอกว่า "หากต้องการทราบว่าเทวดานพเคราะห์องค์ใดเสวยอายุให้นับอายุเต็มเป็นตัวตั้ง เริ่มต้นนับกำลังของเทวดานพเคราะห์ประจำวันเกิดเวียนขวาไปตามผังทักษา แต่ละองค์จะเสวยอายุตามกำลังแห่งตน ยกเว้นพระเกตุจะไม่เข้าเสวยอายุ แต่จะเข้าแทรกเพื่อบรรเทาเคราะห์กรรมหรือเพิ่มความเจริญรุ่งเรือง
คนไทยโบราณได้ผนวกความเชื่อจากศาสนาฮินดูเข้ากับศาสนาพุทธ โดยให้จัดเครื่องบูชาถวาย ดังนี้ ข้าวปั้นจำนวนเท่ากำลังพระเคราะห์ใส่กระทง พร้อมข้าวตอก ดอกไม้ หมากพลู แล้วเขียนเลขประจำตัวพระเคราะห์ (บัตร) ใส่กระทงนั้นไปบูชาพระพุทธรูป จากนั้นจุดธูปตามจำนวนกำลังพระเคราะห์ หรือหล่อพระพุทธรูปประจำเทวดานพเคราะห์ถวายวัด"
สำหรับใครที่อยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร หรือใกล้เคียงและยังไม่มีแพลนที่จะไปไหนช่วงสงกรานต์ ก็สามารถเดินทางไป สรงน้ำเทวดานพเคราะหื และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ เสริมสิริมงคลตามความเชื่อ รับปีใหม่ไทยกันได้
อย่าง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ที่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม จัดขึ้น ณ ศาลาสำราญมุขมาตย์ ระหว่างวันที่ 12-14 เมษายน 2565 ก็ถือเป็นิอีกหนึ่งพิกัดที่น่าปักหมุดไปยลวัฒนธรรมความเข้มขลังกันได้ดีทีเดียว และวันนี้(12 เม.ย.) เพิ่งมีพิธีบวงสรวงกันไปทีมข่าวจึงหยิบภาพสวยๆ มาฝากให้ร่วมอนุโมทนาบุญ
ขอบคุณภาพ : กรมศิลปากร