สุดอาลัย "ต๊อด ปิติ" โพสต์ถึง "อานิดหน่อย จุตินันท์" ครั้งแรก
หลังการเสียชีวิตของ จุตินันท์ ภิรมย์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ที่ได้เสียชีวิตลงที่สหรัฐอเมริกา ในวันนี้ 13 กันยายน 65 ล่าสุด ด้าน "ต๊อด ปิติ" ก็ได้ออกมาโพสต์ถึง อานิดหน่อย ที่เคารพรักเป็นครั้งแรก
โดย จุตินันท์ ภิรมย์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ได้เสียชีวิตลงเมื่อเวลาประมาณ 11.00 น. ตามเวลาประเทศไทย หลังจากเดินทางไปพักรักษาด้วยอาการป่วยที่บอสตันสหรัฐอเมริกา ขณะที่เมื่อเข้าไปดูในเฟซบุ๊กของ "ต๊อด ปิติ" หรือ "ปิติ ภิรมย์ภักดี" ทายาทสิงห์ ก็ได้มีเพื่อนและคนรู้จักเข้ามาแสดงความเสียใจ และ โพสต์ ไว้อาลัย ต่อการจากไปของ คุณนิดหน่อย หรือ จุตินันท์ ภิรมย์ภักดี กันเป็นจำนวนมาก แต่ล่าสุดเมื่อช่วงค่ำวันนี้ 13 กันยายน 65 ทาง ต๊อด ปิติ ก็ได้มีความเคลื่อนไหวเป็นครั้งแรก เกี่ยวกับการเสียชีวิตของ "อานิดหน่อย จุตินันท์"
โดย "ต๊อด ปิติ" ได้โพสต์ภาพของ จุตินันท์ ภิรมย์ภักดี พร้อมข้อความสั้นๆ ลงอินสตาแกรม @tp12toddpiti ว่า “ด้วยความเคารพรักและอาลัยอย่างยิ่งครับอานิดหน่อย” สำหรับ "จุตินันท์ ภิรมย์ภักดี" นอกจากจะเป็น CEO "บุญรอดบริวเวอรี่" เขายังดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทยด้วย สำหรับประวัติ ของนายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี หรือ คุณนิดหน่อย เป็น บิดาของ ตั๊น จิตภัสร์ เกิดเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2500 เป็นหนึ่งในทายาทเบียร์สิงห์ รุ่นที่ 3 โดยเป็นบุตรชายของนายจำนงค์ ภิรมย์ภักดี และคุณหญิงสุภัจฉรี ภิรมย์ภักดี
ปัจจุบันมีตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด และบริษัทบุญรอดเทรดดิ้ง จำกัดนอกจากนี้ นายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี ยังเคยทำหน้าที่อดีตสมาชิกวุฒิสภาปี พ.ศ. 2549 และอดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ส่วนคู่สมรส จุตินันท์ ภิรมย์ภักดี คือ ม.ล.ปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี (นามสกุลเดิม กฤดากร) มีบุตรธิดาด้วยกัน 3 คน ได้แก่น.ส.จิตภัสร์ ภิรมย์ภักดี (ตั๊น), น.ส.นันทญา ภิรมย์ภักดี (ตุ๊ย) และนายณัยณพ ภิรมย์ภักดี (ต่อย)
หากยังไม่ลืม หม่อมหลวงปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี ภรรยาของ จุตินันท์ ภิรมย์ภักดี เคยมีความเกี่ยวข้องกับวงการบันเทิงโดย หม่อมหลวงปิยาภัสร์ คือผู้รับบทเป็นพระสุริโยทัย ในภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท ซึ่งกำกับโดยหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิมยุคล เมื่อปี พ.ศ.2544
โดยหลังการเสียชีวิตของท่านผู้หญิงวิยะฎาผู้เป็นมารดา หม่อมหลวงปิยาภัสร์ ได้เข้าถวายงานบางส่วนในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เช่น การตามเสด็จ และถวายงานเกี่ยวกับฉลองพระองค์ และสิ่งของต่าง ๆ ที่ต้องประสงค์ รวมทั้งจะเป็นผู้หนึ่งที่เดินแบบถวาย เมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง นำแฟชั่นโชว์ผ้าไหมไทย ไปแสดงในประเทศต่าง ๆ ด้วย ซึ่งหม่อมหลวงปิยาภัสร์ เองยังเคยได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 8 บุคคลที่เป็นสุดยอดสไตล์แห่งปี 2003 จากนิตยสารแอลประเทศไทยอีกด้วย
สุริโยไทสร้างขึ้นจากพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 69 พรรษา ด้วยพระองค์มีพระราชประสงค์ว่าทรงเป็นห่วงประวัติศาสตร์ไทย เพราะเริ่มห่างหายไปจากความรับรู้และการให้ความสำคัญของชาวไทยร่วมสมัย
ภาพยนตร์ดำเนินเรื่องโดยอิงจากคำบอกเล่าของโดมิงโก ดือ ซีซัส (Domingos De Seixas) ทหารรับจ้างของชาวโปรตุเกสซึ่งเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรอโยธยาช่วง พ.ศ. 2067-2092 เป็นภาพยนตร์ทุนสร้างมหาศาลกว่า 400 ล้านบาท นับว่าเป็นภาพยนตร์ไทยที่มีทุนสร้างมากที่สุดในขณะที่ออกฉาย โดยใช้เวลาสร้างนานกว่า 5 ปี โดยแบ่งเป็นเวลาในการเขียนบท 2 ปี และถ่ายทำ 3 ปี
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ทอดพระเนตรภาพยนตร์ "สุริโยไท" รอบปฐมทัศน์ ณ ศาลาเฉลิมกรุง เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2544 อีกสามวันต่อมาได้มีการฉายรอบสื่อมวลชน ณโรงภาพยนตร์เอสเอฟ ซีเนม่า เดอะมอลล์ บางกะปิ
สุริโยไทเข้าฉายจริงเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม ปีเดียวกัน ซึ่งในวันแรกนั้นมีผู้มารอชมเป็นจำนวนมาก โรงภาพยนตร์บางแห่งมีการรอต่อแถวซื้อบัตรนานกว่าหนึ่งชั่วโมง
ภาพยนตร์ได้รับความนิยมอย่างถล่มทลายและเป็นที่กล่าวขานอย่างมาก โดยได้รับคำวิจารณ์ว่าสร้างได้อย่างละเอียดละไม ใส่ใจในทุกรายละเอียด โดยเฉพาะเครื่องแต่งกาย ทรงผมและฉากประกอบ แต่ก็ได้รับคำวิจารณ์จากชาวต่างชาติว่า เนื้อหามีรายละเอียดซับซ้อนเกินไปเนื่องจากมีตัวละครมาก และดำเนินเรื่องอย่างล่าช้า อีกทั้งในตอนจบก็ไม่มีไคลแม็กซ์ ถึงแม้ว่าบทภาพยนตร์จะเข้มข้นด้วยเป็นเรื่องของการแย่งชิงอำนาจในราชบัลลังก์เหมือนบทละครของเช็คสเปียร์ก็ตาม
สุริโยไทเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินในประเทศไทยสูงสุด ด้วยรายได้ 324.5 ล้านบาท ในกรุงเทพฯ ปริมณฑลและจังหวัดเชียงใหม่ และรายได้รวมทั้งประเทศ 550 ล้านบาท