บันเทิง

ไขความปัง เพลงดัง หรือเพราะเนื้อร้องมีคำนี้ "โอม" ขึ้นมนต์บูชาศักดิ์สิทธิ์

ไขความปัง เพลงดัง หรือเพราะเนื้อร้องมีคำนี้ "โอม" ขึ้นมนต์บูชาศักดิ์สิทธิ์

21 ก.ย. 2565

เพลงคาขุนแผน (หลวงพ่อกวย) ที่ขับร้องโดย "กานต์ ทศน" , เพลง นะหน้าทอง ขับร้องโดย "โจอี้ ภูวศิษฐ์" ที่เป็นหนึ่งใน candidate คมชัดลึกลูกทุ่งอวอร์ด 2565 กับความปังที่เกิดขึ้นนั่น วันนี้ลองมาไขความลับกันดู เพราะ 2 เพลงนี้มี หนึ่งคำที่ เหมือนกัน ประหนึ่งมนต์สำคัญนั่นเอง

งานประกาศรางวัลคมชัดลึกลูกทุ่งอวอร์ด 2565 ที่กำลังจะถึงในวันที่ 29 กันยายน 2565 นี้มีศิลปิน ผลงานเพลงมากมายที่ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล จากทั้งคณะกรรมการและแฟนคลับที่ชื่นชอบในผลงาน ซึ่งหากลองเจาะลึกลงไปแล้วนั้นผลงานเพลงดังที่เข้าชิง ดันให้มีชื่อเสียงนั้น ก็หลายเพลงที่ได้ถ่ายทอดเรื่องความเชื่อ ความศรัทธาเข้ามาเกี่ยวข้อง และในเนื้อเพลงดังกล่าวก็มีคำขึ้นตนบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อผสานรวมอยู่ในเพลงนั้นด้วย

อาทิ เพลง คาขุนแผน (หลวงพ่อกวย) ที่ขับร้องโดย กานต์ ทศน , เพลง นะหน้าทอง ขับร้องโดย โจอี้ ภูวศิษฐ์ 

ไขความปัง เพลงดัง หรือเพราะเนื้อร้องมีคำนี้ \"โอม\" ขึ้นมนต์บูชาศักดิ์สิทธิ์

เพลง คาขุนแผน (หลวงพ่อกวย) ในเนื้องร้องบางส่วนนั้นมีเนื้อหาว่า "โอมสิทธิท้าวฟื้นเจริญศรี ให้ลูกมีคนรักคนเมตตา ให้ลูกโด่งดังกับเขาเถิดหนา ชื่อเสียงก้องฟ้าคนรักมากมาย
โอมให้หน้ากูงามคือดั่งพระแมน ให้แขนกูงามดั่งพระนารายณ์ ให้ฤทธิ์กูงามดั่งพระจันทร์ฉาย
สาวเมืองสวรรค์ยังอยู่บ่ได้เมื่อเห็นหน้ากู"

ส่วนเพลง นะหน้าทอง ในเนื้องร้องบางส่วนนั้นมีเนื้อหาว่า "ฉันจึงเป่าคาถา เพื่อให้เธอหลงรัก ให้ลืมผู้บ่าวเป็นร้อย ที่มันคอยมาทัก และขอให้ความรักนี้ ไม่มีเสื่อมคลาย โอม

ไขความปัง เพลงดัง หรือเพราะเนื้อร้องมีคำนี้ \"โอม\" ขึ้นมนต์บูชาศักดิ์สิทธิ์

โดยทั้ง 2 บทเพลงนี้เรียกว่าสร้างชื่อสร้างความโด่งดังหลังจากปล่อยเพลงนี้ออกมา ขณะที่หากย้อนกลับไปที่เส้นทางดนตรีของทั้ง 2 คนดนตรีชี้ดังนั้น ไม่ได้เพิ่มเริ่มเดินทางสายนี้แต่ ต่อสู้ฝ่าฟันมานานหลายปีเลยทีเดียว ซึ่งสังเกตได้อย่างหนึ่งว่า ทั้ง 2 เพลงนี้ คำว่า "โอม" อยู่ในเนื้อร้อง ซึ่งสายความเชื่อนั้นเป็น คำนำบูชาขึ้นต้นก่อนที่สวดภาวนาขอพรต่อเทพตามความเชื่อด้วย

ตามข้อมูลจากสำนักราชบัณฑิตยสภา ได้ให้ความหมายของคำว่า "โอม" ไว้ดังนี้ "โอม เป็นคำที่ประกอบด้วยเสียง 3 เสียง คือ  อะ อุ มะ  ซึ่งเป็นเสียงพยางค์ท้ายของนามเทพเจ้าทั้ง 3 ในศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู คำว่า

  • อะ มาจากชื่อ พระศิวะ หรือพระอิศวร
  • อุ มาจาก ชื่อ พระวิษณุ หรือพระนารายณ์
  • มะ มาจากชื่อ พระพรหม 

เมื่อรวมเสียง อะ อุ มะ  เป็นคำว่า โอม จึงถือเป็นคำศักดิ์สิทธิ์ มักใช้เป็นคำขึ้นต้นของการกล่าวมนตร์ เช่น บทสวดบูชาพระพิฆเนศ ขึ้นต้นว่า Wโอมคะเนศายะ  นะมะหะริโอม"        

ส่วนผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ ได้นำคำว่า "โอม" มาใช้และบอกที่มาให้เข้ากับความเชื่อในพระพุทธศาสนา หมายถึงพระรัตนตรัย คือ อะ อุ มะ ซึ่งมาจากพยางค์ต้นของคำ 3 คำ ได้แก่

  • อะ มาจากคำว่า อรหัง (อ่านว่า อะ –ระ -หัง) หมายถึงพระพุทธเจ้า
  • อุ มาจากคำว่า อุตตมธรรม (อ่านว่า อุด-ตะ -มะ-ทำ) หมายถึงพระธรรมอันสูงสุด  และ
  • มะ มาจากคำว่า มหาสงฆ์ หมายถึงพระสงฆ์ 

ชาวพุทธมักจะเปล่งเสียง "โอม" แล้วตามด้วยเสียง เพี้ยง เมื่อต้องการขอพร ขอความช่วยเหลือ หรือตั้งจิตอธิษฐานให้เป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น โอมเพี้ยง ขอให้ผมสอบได้คะแนนดี ๆ ด้วยเถิด,  แม่เป่าแผลให้ลูกที่เดินหกล้มหัวเข่าถลอก แล้วพูดว่า โอมเพี้ยงขอให้หายเร็ว ๆ นะลูก เป็นต้น 

ไขความปัง เพลงดัง หรือเพราะเนื้อร้องมีคำนี้ \"โอม\" ขึ้นมนต์บูชาศักดิ์สิทธิ์

หากย้อนกลับไปนั้นนอกจากเพลงดังอย่าง คาถาขุนแผน(หลวงพ่อกวย) , นะหน้าทอง ที่มีคำว่า "โอม" แล้วยังมีอีกหลายเพลง อาทิ คาถามหานิยม , โอม(แค่เธอเท่านั้น) , โอมเพี้ยง , โอมจงเงย เป็นต้น 

จะว่าไปแล้วเหล่าบทเพลงต่าง ๆ ก็เป็นดั่งบันทึกเรื่องราวอีกหนึ่งหน้าของสังคมที่ถ่ายทอด และแฝงไว้ซึ่งวัฒนธรรมอย่างหนึ่งให้ได้เห็นกันนั่นเอง 

ไขความปัง เพลงดัง หรือเพราะเนื้อร้องมีคำนี้ \"โอม\" ขึ้นมนต์บูชาศักดิ์สิทธิ์

ขอบคุณข้อมูล -ภาพ  : สำนักราชบัณฑิตยสภา , calligraphy

ติดตามข่าวสาร คมชัดลึก อื่นๆ ได้ที่

คมชัดลึก ลูกทุ่ง Awards 2565 ใครคือ 6 Candidate กับ 8  สาขา Popular Vote ในครั้งนี้รู้พร้อมกันที่ คมชัดลึก ทุก Platform