บันเทิง

ใส่เสื้อบอลไปงานแต่ง ‘ลูลู่’ ไม่เข้าธีมตรงไหน ‘ก้อง ห้วยไร่’ สะดวกแบบนี้

ใส่เสื้อบอลไปงานแต่ง ‘ลูลู่’ ไม่เข้าธีมตรงไหน ‘ก้อง ห้วยไร่’ สะดวกแบบนี้

14 มี.ค. 2566

‘ก้อง ห้วยไร่’ ปรากฎตัวด้วยชุดสุดชิล ใส่ไปงานแต่งงาน ลูลู่ อาร์สยาม ธีมสีทองก็ใส่สีทอง ไม่ตรงธีมตรงไหนเอาปากกามาวงเลย พร้อมฟาดดักคนดราม่า กาลเทศะใครอยากใช้ก็ใช้ไปอย่าบังคับกู กูสะดวกแบบนี้

พิธีวิวาห์ ของนักร้องสาวอารมณ์ดี ลูลู่ อาร์สยาม และแฟนหนุ่ม จัดไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา มีเพื่อน ๆ ในวงการบันเทิงไปร่วมแสดงความยินดีเพียบ

 

หนึ่งในนั้นมี ก้อง ห้วยไร่ ก็ไปร่วมงานด้วย ที่ก้องแต่งตัวมาแบบสุดชิล สายสปอร์ต เข้ากับธีมงานสีทอง 

อย่างไรก็ตาม ก้อง ห้วยไร่ คิดว่า งานนี้อาจจะเกิด ดราม่า แน่ๆ เลยติดแคปชั่นกันดราม่าเอาไว้ว่า "ยินดีกับพี่ชายพี่สาวนะครับขอโทษที่ทำให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวเสียใจร้องไห้ขี้มูกโป่ง 555 ตรีมทองไงหล่ะ มีใครทองกว่ากูไหม", 

 

"กาลเทศะ คำที่ถูกสร้างถูกประดิษฐ์ขึ้นมาทีหลังก่อนที่มนุษย์เกิด ใครอยากใช้ก็ใช้ไปอย่าบังคับกู กูสะดวกแบบนี้ ยินดีด้วยนะครับพี่สาว ขอให้คืนนี้เป็นคืนแห่งการบวกกัน"

 

ใส่เสื้อบอลไปงานแต่ง ‘ลูลู่’ ไม่เข้าธีมตรงไหน ‘ก้อง ห้วยไร่’ สะดวกแบบนี้

 

ด้านชาวเน็ตต่างแสดงความคิดเห็นกันต่างๆ นานาถึงเรื่องกาลเทศะ อย่างเช่น ‘คือจริงๆ ไอกาลเทศะ ค่านิยมอะไรก็ตามมันก็แค่ของปลอมๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อแบ่งแยก แล้วมันก็ไม่มีกฎหมายห้าม คนที่ไม่ใช่เจ้าของงานก็ไม่ต้องยุ่งถ้าเจ้าของงานโอเค คนแต่งโอเค ก็ไม่ต้องไปยุ่งเรื่องเค้าครับ สอนคนอื่นได้นะครับ แต่เค้าจะรับหรือไม่รับมันสิทธิของเขา ด่าทอกันมันไร้สาระ เลิกคิดว่าตัวเองเป็นคนสำคัญควบคุมใครต่อใครได้เถอะครับ’ 

ก้อง เข้ามาตอบว่า ‘เจตนาผมก็อยากจะพิมพ์ประมาณนี้แหละ แต่เรียบเรียงคำพูดไม่เป็น ขอบคุณมากนะครับ’

 

ขณะที่ก็มีคนบอกว่า ‘กาลเทศะ = ให้เกียรติสถานที่ เจ้าภาพ และบ่งบอกถึงมารยาทค่ะคุณก้อง’ 

ก้องเข้ามาตอบว่า ‘อุ้ยยยย’ 

 

บ้างก็บอกว่า ‘โดยส่วนตัวปกติแล้วชอบคุณก้องนะคะ แต่จะเล่นทุกอย่างเลยก็ยังไงอยู่ ควรให้เกียรติเจ้าของงาน มันเป็นมารยาททางสังคม ถึงแม้เค้าอาจจะไม่พูดแต่มันก็น่าคิด เจ้าของงานเค้าอาจจะให้เกียรติคุณเค้าถึงไม่พูดก็ได้ อันนี้มองจากคนนอกนะคะ เรามองว่ามันไม่สมควรค่ะ ไม่ว่ากันนะเพราะส่วนตัวตัวเราชอบผลงานคุณแต่อันไหนไม่ควรก็ติงไปตามความเป็นจริง จะชมทุกอย่างก็ไม่คะ’ 

 

หรือล่าสุด มีคนบอกว่า ‘การทำสัญญลักษณ์เพื่อสื่อคงไม่ผิดอะไร หากไม่ละเมิดกฎหมาย แต่การชี้นำบางอย่างมันควรจะต้องดูนิดนึงว่าคนที่เสพเขาเอาไปใช้อย่างไรได้บ้างในสังคมที่คุณสื่อออกไป

กาลเทศะมีไว้เพื่อให้เกียรติกันและกัน เป็นระเบียบ เป็นประเพณีปฎิบัติที่เราสมมุติขึ้นกันในสังคมนั้นๆ ต่างสังคมต่างวิธีปฎิบัติกันไป เช่น จีนเคียวอาหารจับๆในสังคมเขานั้นมันไม่แปลก ญี่ปุ่นดูดเส้นก๋วยเตี๋ยวราเม็งดังๆเขาบอกว่าอร่อยผู้หญิงซูลูใช่ชุดเปลือยอกเพื่อเข้าพิธีหมู่บ้านถือว่าเป็นชุดประจำเผ่าที่ให้เกียรติงาน คุณคือก้องห้วยไร่รึเปล่าครับที่ใส่ชุดบอลไปงานแต่งแล้วเขาไม่ว่าอะไร ลองให้ท่านอื่นใส่ไป และบอกว่าสะดวกแบบนี้ เจ้าภาพอาจจะยิ้มแต่ในในคิดอย่างไร?

ถูกผิดอย่างไรก็แล้วแต่จะคิดกันเอง คิดได้ก็ดี คิดไม่ได้ก็ค่อยๆเรียนรู้ไป’

 

ใส่เสื้อบอลไปงานแต่ง ‘ลูลู่’ ไม่เข้าธีมตรงไหน ‘ก้อง ห้วยไร่’ สะดวกแบบนี้

 

ใส่เสื้อบอลไปงานแต่ง ‘ลูลู่’ ไม่เข้าธีมตรงไหน ‘ก้อง ห้วยไร่’ สะดวกแบบนี้

 

ใส่เสื้อบอลไปงานแต่ง ‘ลูลู่’ ไม่เข้าธีมตรงไหน ‘ก้อง ห้วยไร่’ สะดวกแบบนี้

 

ใส่เสื้อบอลไปงานแต่ง ‘ลูลู่’ ไม่เข้าธีมตรงไหน ‘ก้อง ห้วยไร่’ สะดวกแบบนี้

 

ใส่เสื้อบอลไปงานแต่ง ‘ลูลู่’ ไม่เข้าธีมตรงไหน ‘ก้อง ห้วยไร่’ สะดวกแบบนี้