เป็นห่วง "นุ้ย เชิญยิ้ม" หาหมอ อาการกระดูกคอเสื่อม
ล่าสุด นุ้ย เชิญยิ้ม ต้องเดินทางเข้าพบหมอเพิ่มเติม เพื่ออัปเดตอาการกระดูกคอเสื่อม ซึ่งก่อนหน้านี้ นุ้ย เชิญยิ้ม ได้ออกมาโพสต์ภาพขณะเดินทางไปโรงพยาบาล พร้อมกับบอกเล่าว่า “หมอนรองกระดูกคอข้อที่ 4-6 อักเสบ”
ก่อนหน้านี้ นักแสดงตลก นุ้ย เชิญยิ้ม ได้ออกมาโพสต์ภาพขณะเดินทางไปโรงพยาบาล ผ่านทางไอจีส่วนตัว พร้อมกับข้อความเล่าว่า “หมอนรองกระดูกคอข้อที่ 4-6 อักเสบ ทำให้กลับมาปวดอีกแล้ว นอนปวดกระดูกปวดคอ ร้าวไปถึงก้านสมอง กะบอกตาซ้ายแดงกล่ำเลย กำลังเดินทางไป ร.พ. ขอบคุณ น้องตันตัน เชิญยิ้ม ที่มาช่วยขับรถไปส่งพี่ #ไม่รู้จะเจอหมอหรือป่าวไม่ได้นัดไว้ #ไม่ผ่า #กินยาบรรเทาไป” ล่าสุด นุ้ย อัพเดตอาการอีกครั้งว่า “วันนี้คุณหมอนัดดูอาการหมอนรองกระดูกคอเสื่อมทรุด หลังจากหมอเช็คอาการแล้วบอกว่ายังไม่ต้องผ่าครับ ขอขอบคุณ คุณหมอวศินเอาแสงดีกุล แพทย์ผู้เเชียวชาญศัลยกรรม ระบบประสาท กระดูกสันหลัง ที่ให้คำแนะนำครับ🙏❤️🙏”
งานนี้ก็มีแฟนๆ เข้ามาคอมเมนต์อวยพร ให้กำลังใจนุ้ยจำนวนมาก รวมถึงพี่น้องในวงการบันเทิง อาทิ nulek_gaga“หายเร็วๆนะคะพี่❤️❤️❤️”, nickynachat “หายไวๆครับ อาจารย์”, ice_napatcharin “หายไวไวนะคะ✌🏼”, amp_pheerawas_k “ขอให้พี่แข็งแรงๆนะครับ❤️” และ aanan_boonnak “หายไวๆนะครับ” เป็นต้น และเมื่อพูดถึงโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อม จริงๆแล้วโรคนี้ สามารถ “หายได้” โดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัด ซึ่งหมอนรองกระดูกคอจะคั่นอยู่ระหว่างปล้องกระดูกคอที่จะมีประมาณทั้งหมด 7 ปล้อง มีหน้าที่ช่วยในเรื่องของการเคลื่อนไหวกระดูกคอ ทำให้มนุษย์เราสามารถก้มหรือเงยคอได้ เมื่อเราใช้ไปนานๆ หรือใช้ไม่ถูกต้องก็จะทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมได้
พฤติกรรมเสี่ยงที่จะเป็นหมอนรองกระดูกคอเสื่อมเร็วของคนในปัจจุบัน ได้แก่
พนักงานออฟฟิศที่ใช้คอมพิวเตอร์ทั้งวัน คนที่จดจ่อใช้มือถือสมาร์ทโฟนแบบหนักหน่วง คนทำงานห้องแล็บที่ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์บ่อยๆ คนทำงานฝีมือก้มๆ เงยๆ ต่างๆ พฤติกรรมเหล่านี้จะยิ่งเร่งให้หมอนรองกระดูกคอของเราเสื่อมไวกว่าปกติ ส่วนมากโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมจะพบในคนที่อายุประมาณ 40 ปี ขึ้นไป และมักจะเป็นบริเวณปล้องที่ 5 ต่อ 6 รองลงมา คือ ปล้องที่ 6 ต่อ 7
เมื่อมีการเสื่อมหรือแตกของหมอนรองกระดูก
ก็จะมีโอกาสเกิดการกดทับที่ประสาทไขสันหลังและรากประสาทได้ ทำให้เกิดอาการปวดคอร้าวมาที่แขน หากเป็นมากๆ หรือมีการกดทับเส้นประสาทมากๆ ก็จะทำให้เกิดอาการแขนอ่อนแรง ชาบริเวณปลายนิ้ว เป็นต้น
การที่เราสะบัดคอแล้วมีเสียงดังกร็อบแกร็บ คือ อาการของโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อมหรือไม่?
ต้องบอกว่าไม่ใช่ โรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อมส่วนใหญ่จะไม่มีเสียง หากเราสะบัดแล้วมีเสียงกร็อบแกร็บแต่ไม่มีอาการปวดใดๆ ก็ไม่น่าจะมีผลขนาดต้องทำการรักษา ซึ่งเสียงที่ว่า คือ เสียงของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นมากกว่า แต่โดยปกติแล้วการสะบัดคอให้มีเสียงดังๆ นั้น แพทย์แนะนำว่า “ไม่ควรทำ” เพราะมีผลทำให้ข้อต่อบริเวณคอเสื่อมเร็วได้เช่นกัน เกิดจากการทำงานที่หนักเกินไปเวลาเราสะบัดแรงๆ
การรักษาโดยทั่วไปของโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อม
จะเป็นการชะลอไม่ให้มันเสื่อมไวขึ้น ส่วนใหญ่คนไข้จะมาด้วยอาการปวดบริเวณต้นคอถึงสะบัก แพทย์จะให้ทานยาลดการอักเสบ การนอนพัก กายภาพบำบัด ประคบด้วยน้ำร้อน การบริหาร อาการปวดเหล่านี้ก็จะสามารถหายได้เองส่วนการผ่าตัดโดยใช้หมอนรองกระดูกเทียมนั้น ปัจจุบันก็มีการผ่าตัดอยู่เหมือนกันแต่ให้ผลได้ไม่ดีเท่าที่ควร การผ่าตัดโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อมที่จำเป็นต้องทำ คือ หมอนรองกระดูกมีการแตกและกดทับบริเวณเส้นประสาทไขสันหลัง ซึ่งโชคดีหน่อยที่เราพบได้ค่อนข้างน้อยมาก
ขอบคุณข้อมูลจาก
รศ. นพ.วิวัฒน์ วจนะวิศิษฐ
หัวหน้าหน่วยกระดูกสันหลัง ภาควิชาออโธปิดิกส์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล