ประวัติ'รุต โปงลางสะออน'เสียชีวิต เพราะ ฮีทสโตรก ในวัย 39 ปี
ช็อกวงการบันเทิง และวงการดนตรีไทย หลังจากที่ "รุต โปงลางสะออน หรือ มารุต มากเจริญ" มือพิณฝีมือดีแห่งวงโปงลางสะออน ได้เสียชีวิตลงในวัย 39 ปี ซึ่งสาเหตุมาจาก "โรคฮีทสโตรก" ขณะที่ครูของ ผู้เสียชีวิตได้กล่าวถึงลูกศิษย์สุดอาลัย
ต้องขอแสดงความอาลัย และเสียใจกับครอบครัว ศิลปินพื้นบ้านหนุ่ม "รุต โปงลางสะออน หรือ มารุต มากเจริญ" มือพิณฝีมือดีแห่งวงโปงลางสะออน ที่ล่าสุดสื่อทุกสำนักได้รายงานถึงเหตุการจากไปของ ศิลปินหนุ่ม "โรคฮีทสโตรก"
ซึ่งเป็นโรคที่คร่าชีวิตมาหลายท่านแล้ว เนื่องจากสภาวะอากาศที่ร้อนในช่วงหน้าร้อนของไทย ในปี 2566 นี้นั่นเอง
ข่าวการเสียชีวิตอของ "รุต โปงลางสะออน" นั้น ทราบเรื่องมาจาก เพจเฟซบุ๊ก คนลูกทุ่ง ที่ได้เคลื่อนไหวแจ้งข่าวร้ายช็อกวงการบันเทิงลูกทุ่งพื้นบ้าน ว่าวงการบันเทิงได้สูญเสียคนดังไปอีกหนึ่งคนจากโรคฮีทสโตรก นั่นก็คือ "รุต โปงลางสะออน" มือพิณฝีมือดี ที่เคยสร้างความบันเทิง และความสุขในนาม โปงลางสะออน
ที่ขณะนั้น แจ้งเกิด อี๊ด , ลูลู่ , ลาล่า นามสกุลโปรงลางสะออน นั่นเอง
สำหรับประวัติผู้เสียชีวิต "รุต หมอพิณ หรือ รุต โปงลางสะออน" มีชื่อจริงว่า "มารุต มากเจริญ"
- จบปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- เคยเป็นหนึ่งในสมาชิกโปงลางสะออน ในตำแหน่ง "หมอพิณ"
- ข้าราชการ สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ตำแหน่งดุริยางคศิลปินชำนาญงาน กลุ่มดุริยางค์ไทย
ทั้งนี้ผู้ใช้เฟซบุ๊ก Pongsilp Arunrat ผู้เป็นอาจารย์ได้กล่าวถึงการจากไป พร้อมระลึกถึง ผู้เสียชีวิตว่า "มารุต มากเจริญ" ดุริยางคศิลปินชำนาญงาน กลุ่มดุริยางค์ไทย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร จากไปอย่างกระทันหันเมื่อคืนวันที่ 9 เมษายน พ.ศ.2566 ด้วยอายุ 39 ปี ผมเห็นมารุตสีซอหลายงาน เขาเป็นคนซอที่ฝีมือดีมาก
เมื่อราวเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 ทางสำนักการสังคีต กรมศิลปากร เชิญผมไปเป็นวิทยากรอบรมเพลงเห่กล่อมพระบรรทมให้กับศิลปินสำนักการสังคีตเป็นเวลา 5 วัน ผมจึงได้พบกับมารุตและเขาก็มาฝากตัวเป็นลูกศิษย์ "มารุต" มีอัธยาศัยดีมาก เขาเรียนรู้ได้เร็ว สีซอสามสายได้ดี ได้เรียนเพลงช้าลูกหลวง เพลงสรภัญญะใหญ่ ที่เป็นเพลงสำคัญของซอสามสายเขาบอกว่าเรียนซอกับ "พี่ธีระ ภู่มณี
เข้ารับราชการในตำแหน่งของ"พี่ธีระ" จึงมีพื้นฐานซอที่ดีมาก เมื่อจบโครงอบรมผมบอกเขาว่าถ้าว่างจะต่อเพลงให้อีกนะมารุตจะได้เป็นครูซอคนสำคัญของสำนักการสังคีตในภายภาคหน้าเขาก็ดีใจมาก ผมเจอมารุตครั้งสุดท้ายเมื่อตอนซ้อมวงเครื่องสายเพื่อบันทึกองค์ความรู้ดนตรีไทยที่เป็นงานวิจัยของผม เราจึงได้สนทนากันอย่างสนุกสนาน
แต่น่าเสียดายที่วันบันทึกงานมารุตติดภารกิจราชการไปประเทศญี่ปุ่น เมื่อทราบข่าวมารุตจากไปอย่างกระทันหันผมตกใจมาก เพราะเขาคือลูกศิษย์คนหนึ่งที่ผมหวังจะให้เขาเป็นครูซอคนสำคัญแห่งสำนักการสังคีต กรมศิลปากร ที่น่าจะถ่ายทอดให้กับลูกศิษย์รุ่นหลังได้อีกมากมาย หลับให้สบายนะมารุตศิษย์รัก"