บันเทิง

ทวงคืนความยุติธรรม 'เวสป้า อิทธิพล' เรียกค่าเสียหาย 'อาร์เอส' 18 เพลง 5 ล้าน

ทวงคืนความยุติธรรม 'เวสป้า อิทธิพล' เรียกค่าเสียหาย 'อาร์เอส' 18 เพลง 5 ล้าน

07 ก.ค. 2566

เปิดใจ นักร้อง นักแต่งเพลง "เวสป้า สเตอร์" หรือ "อิทธิพล เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา" หลังถูก "อาร์เอส" อดีตต้นสังกัด ฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์เพลง 12 ล้านบาท จากการนำเพลงที่ตัวเองแต่งให้ศิลปินหลายคนไปร้องในงานต่างๆ

โดยเจ้าตัวแถลงข่าวว่า ผมเขียนเพลงให้ทุกค่าย ประมาณเกือบ 500 เพลง ผมใช้เวลาทั้งชีวิตตั้งแต่อายุ 12 ผมไม่เคยเซ็นสัญญาที่เป็นขายขาดกับใคร แล้วทำไมผมต้องเซ็น เวลาผมเซ็นสัญญาทุกค่ายก็จะบอกผมว่า คุณจะได้เปอร์เซ็นต์เทปเท่านี้ เปอร์เซ็นต์ทำนองเนื้อร้องเท่านั้น ถ้าผมเป็นโปรดิวซ์ผมก็จะได้ค่าโปรดิวเซอร์ และหลังจากนั้นถ้าใครเอามาร้องใหม่ ผมก็จะได้เท่าโน้นเท่านี้ 

 

แต่เราเป็นคนตัวเล็กๆ เราก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะไปแก้สัญญาค่ายใหญ่ๆ ค่ายเล็กๆเราอาจจะต่อรองกันได้บ้าง แต่เราดูแล้วเราไม่ใช่สัญญาขายขาด และรุ่นพี่ของผมบางท่านถามว่า ถ้าไม่เซ็นล่ะ เราก็ไม่มีข้าวกิน คือต้องบอกก่อนว่า ผมจนมาตั้งแต่กำเนิด

 

มีคนบอกว่าสู้ยังไงก็แพ้ ก็ขายเขาไปแล้วนิ คุณขายทองเขาไปแล้ว คุณจะเอาทองเขามาใช้ได้ไหม วันนี้จะทำให้ทุกอย่างกระจ่าง ผมจะทำให้ทุกคนรู้ว่า ทรัพย์สินทางปัญญามันมีอะไรบ้าง แต่ผมบอกก่อนว่าวันนี้ที่เราจะมาพูดกันทั้งหมด ไม่โจมตีใคร เพราะว่าไอสัญญา buyout ที่ต่างประเทศ เขาแก้กันแล้ว แต่ว่าของเรายังไม่แก้ มันเป็นมาตั้งแต่ยุคครูเพลง และค่ายเพลงต่างๆก็สืบทอดกัน คือค่ายเพลงเขาจะซื้อเพลง เขาก็เขียนสัญญาให้รัดกุมที่สุด และเป็นของเขาแต่เพียงผู้เดียว ถามว่าค่ายเพลงผิดไหม เขาก็ต้องทำตามๆกันไป

เมื่อศิลปินสร้างสรรค์ผลงาน จะมีกฎหมายสร้างสรรค์และคุ้มครองสิทธิ์ให้กับศิลปินตามมาตรา 15 ศิลปินเพลงจะมีสิทธิ์อยู่ 50 สิทธิ์ที่หนึ่งคือมีสิทธิ์ทำซ้ำดัดแปลง สิทธิ์ที่สองคือสิทธิ์เผยแพร่ต่อสาธารณะชน สิทธิ์ที่สามให้เช่าต้นฉบับสำเนา โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เราจะเห็นว่าหลังๆ  บางค่ายซื้อเอ็มวีของบางค่ายไปเปิด พอหมดสัญญาก็จบกัน สี่ก็คือลิขสิทธิ์ก็เป็นต่อของผู้อื่น ห้าก็เป็นสิทธิ์อนุญาตตามข้อ 123

 

อันนี้ไม่สำคัญแต่ผมให้ดูที่ขีดเส้นใต้นะครับ ข้อสองคือสิทธิ์เผยแพร่ ต่อสาธารณะชนอันนี้เรื่องใหญ่ และวันนี้วันที่ 7 กรกฎาคมคือวันปลดปล่อย สัญญาทาสอย่างแท้จริง วันนี้ผมจะให้ดูสัญญาเพลงที่แท้จริง ที่คนสงสัยว่าผมเซ็นอะไร กับทางบริษัท จริงๆไม่ใช่บริษัทเดียว แต่ทุกบริษัทก็เป็นแบบนี้ สัญญายุคนั้นจะมีแค่หน้าเดียวเท่านั้น 

"เวสป้า สเตอร์"

เดี๋ยวผมจะเปิดให้ดูว่าเอกสารนี้ทำขึ้นโดยบริษัทอาร์เอส กับผม อิทธิพล  เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา มาดูที่ว่ามีเพลงอะไรบ้าง คือนี้ผมเซ็นสองเพลงคือ ด้วยไอรัก กับ ไม่อาจเปลี่ยนใจ ผมไม่เคยขายลิขสิทธิ์ขาดนะครับ ผมย้ำอีกครั้งนึง เรามาดูข้อที่สองก่อนนะครับผู้ขาย ตกลงขายลิขสิทธิ์เนื้อร้อง ดังกล่าวตามข้อหนึ่ง อัตราเพลงละ 5,000 บาท ย้ำชัดๆว่า 5,000 บาท ผมพูดเลยว่าเวลาเราจะไปจัดคอนเสิร์ตใหญ่ ครั้งหนึ่งคุณเข้าไปดูได้ในกรมทรัพย์สินทางปัญญา ถ้าส่วนใหญ่บริษัทจะระบุเอาไว้ว่า จ่ายครั้งนึง 40,000 - 50,000 - 100,000 บาท แล้วมันก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ ต่อให้ซี้ขนาดไหน พี่ชายของผมคนนึงในค่าย ผมไม่ขอเอ่ยชื่อ คือเขาไปขอลิขสิทธิ์ จะจัดคอนเสิร์ตตัวเอง โดนข้างละ 50,000 บา  20 เพลงก็คือล้านนึง สุดท้ายจัดไม่ได้ จนวันนึง มีคนจะจัดให้ ก็ไปขอแต่สุดท้ายไม่ได้ เพราะบริษัทก็อยากจะเอาไว้จัดเอง

 

ข้อที่สองคือการซื้อขายนี้ ผู้ซื้อมีสิทธิ์จะนำ เนื้อร้องทำนองดังกล่าว ไปผลิตเป็นแผ่นเสียง และนำไปทำโสตทัศนวัสดุ ขึ้นมาจำหน่ายในนามของผู้ซื้อเอง และข้อ 4 คือนำสัญญาว่าจ้าง จะไม่นำสิทธิ์เนื้อลองนี้ไปขายใครอีก ถ้าผิดสัญญาผมก็ต้องเสีย 100,000 บาท 

 

เห็นไหมว่าลิขสิทธิ์ที่ผมเปิดให้ดู 5 สิทธิ์บริษัทได้จากผมไปแค่ 2 สิทธิ์ดัดแปลง คือสิทธิ์ทำซ้ำดัดแปลง โสตทัศนวัสดุ เพื่อออกจำหน่ายเท่านั้นและมิหนำซ้ำนะครับ ยังมีข้อตกลงตอนท้ายอีกว่าหากผู้ซื้อซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ เนื้อร้องตามสัญญานี้นำเพลงหนึ่งเพลงใดไปให้คนอื่นร้อง เพื่อไปบันทึกเสียงโสตทัศนวัสดุ จะยินยอมตอบแทนให้แก่อีกเป็นจำนวนครั้งละ 5,000 บาท แต่ผู้ขายมีหน้าที่มารับค่าตอบแทนด้วยตัวเอง นั่นหมายความว่าถ้าผมไม่ไปรับ ด้วยตัวเองก็จะไม่ได้ แล้วก็มีลายเซ็นถูกต้อง จะเห็นได้ว่าอีก 3 สิทธิ ยังอยู่กับผม 

 

แต่บริษัทได้เอาสิทธิ์ของผม คือมันน่าจะเป็นของผม ก็รอจนกว่าศาลจะตัดสิน ซึ่งจริงๆในเนื้อความมันเป็นของเราอยู่แล้ว แต่ว่าใครก็ไม่มาซื้อกับผมหรอก เพราะว่าเรามันก็ตัวเล็กตัวน้อย ใครจะเอาไปร้องหรือไม่อาจเปลี่ยนใจไปร้อง เขาจะซื้อกับผมหรือซื้อกับบริษัท เขาก็ต้องซื้อกับบริษัท คือในกรมทรัพย์สินทางปัญญา ก็ได้ขึ้นชื่อผมเอาไว้ว่าเป็นแค่เป็นแค่คนแต่ง และสิทธิ์เป็นของบริษัท ฉะนั้นสิ่งนี้จะถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง ถ้าศาลตัดสินเราถึงจะรู้ 

 

ในประวัติศาสตร์ยังไม่เคยมีนักร้องคนไหน สู้จนถึงสุดทาง และนี่คือเพลงไม่อาจเปลี่ยนใจที่ผมเคยแต่งไว้ในยุคนั้น ตอนแรกมันชื่อเพลงว่ารักเธอได้ไหม เพลงนี้พี่หนูมิเตอร์เป็นคนเรียบเรียง ทำนองคือ เอ จิตพล ผมเป็นคนเขียนเนื้อ เมื่อก่อนเราได้เปอร์เซ็นต์เทปซีดี ผมอยู่บริษัทได้เดือน 2-3 แสน เจมส์ได้ 1 ล้าน ดังได้ 1.2 ล้าน เราเป็นโปรดิวซ์ได้อีกม้วนละ 50 สตางค์ 

 

เราถูกละเมิดอะไรบ้าง เราถูกละเมิดการจัดเก็บลิขสิทธิ์ต่างๆ ผับบาร์ คาราโอเกะ ห้องอาหาร สตีมมิ่ง ผมจะบอกว่าสตีมมิ่งจะกันค่าลิขสิทธิ์เอาไว้ ที่บอกให้รู้ ผมเป็นกรรมการบริษัทเอ็มซีที ลิขสิทธิ์ดนตรีแห่งประเทศไทยมาหลายสมัยด้วยการเลือกตั้ง 

 

รู้จักเพลงโกหกหน้าตายไหมครับ รู้จักเพลงทั้งรักทั้งเกลียด ครูเพลง มนตรี ผลพันธิน แต่งเพลงฮิตไว้มากมายแล้วก็เสียชีวิต อย่างอนาถา ตายอยู่ในบ้านคนเดียวอย่างโดดเดี่ยว 3 วัน (ร้องไห้) ญาติถึงจะรู้ว่าเสียชีวิต เขียนเพลงโกหกหน้าตายดังทั้งประเทศ ชีวิตพวกเราควรเป็นอย่างนี้ต่อไปเหรอ มีอีกหลายศิลปินที่ต้องเรี่ยไรเงินซื้อโลงศพ พี่แดงก็เสีย เราจัดงานได้ร้านเล็กๆ เขาโปรดิวซเพลงให้กับ นิตยา บุญสูงเนิน เพลงกอดฉัน สาวบางโพ แกก็ไม่เคยได้อะไรเลย มันกดทับพวกเรามาตลอด พี่น้องเราโดนไล่จับลิขสิทธิ์ กว่า 32 บริษัท อยากฝากรัฐบาลไกล่เกลี่ยให้เหลือ 1 บริษัท ทุกวันนี้แฟนเพลงขอเพลงมา บางทีผมร้องไม่รู้ว่าจะโดนฟ้องวันไหน 

 

ผมอยากโดนฟ้อง เพราะปกติค่ายเพลงจะฟ้องคนที่ร้อง แต่ผมเขียนเพลงด้วย ผมโดนฟ้อง เพราะผมฟ้องเขาก่อน เรารวมตัวกัน 30 กว่าคน เราพยายามยื่นเรื่องไปที่ต่างๆ กรมทรัพย์สินทางปัญญาบอกชมพูฟรุตตี้ คุณขายเขาไปแล้วนิ ขายบ้านไปแล้วนิ เขาขุดเจอบ่อน้ำมัน คุณจะไปเอาน้ำมันเขาได้ไง ตรรกะนี้แหละครับ จากข้าราชการ รัฐบาล 

 

(ร้องไห้) ผมมีพี่ชายคนนึงที่แต่งเพลง เราเจอกันในวันเกิดพอดี มีผม พี่หนุ่ย พี่แป้น พี่หมู บอกเขามาหาพวกผมสิ จะเลี้ยงวันเกิดให้ เขาบอกไกล แต่เค้นไปมา ไม่มีค่ารถ ผู้ชายคนนี้แต่งเพลงความในใจ ล้างให้ออก หลงตัวเอง แต่ไม่มีที่ไป เขาแต่งเพลงดังเยอะกว่าผมอีก 

"เวสป้า สเตอร์"

(วีระ คนแต่งเพลง) มันก็เป็นความขมขื่น ไม่นานนี้มีการเงาเสียง เอาเพลงความในใจ บริษัทเก็บเงินค่าเพลง กี่หมื่นไม่รู้ แต่ผมไม่ได้เลย ตอนขายเพลงขาย 1 พันบาท จะได้ต่อเมื่อมีคนเอามาร้องใหม่ คือผมก็ไม่ได้ว่าอะไร แต่การที่เอาเพลงเราไปเผยแพร่และเก็บเงิน เราก็ควรจะได้บ้าง และมีอีกหลายรายการ คืออยากให้มีความยุติธรรมเกิดขึ้น นักแต่งเพลงคือชีวิต ไม่ใช่อาชีพ ให้ความยุติธรรมกับเราบ้างเถิด 30-40 ปีแล้ว คือนักร้องก็ลำบากแล้วนะ แต่ก็ยังสามารถไปร้องได้แล้วก็ได้เงิน แต่นักแต่งเพลงทำยังไง ร้องเพลงก็ดีบ้างไม่ดีบ้าง บางคนก็ร้องไม่ค่อยได้ อย่างผมอาจจะร้องได้แต่ก็ไม่ดีเท่าไหร่ แล้วทีนี้นักแต่งเพลงจะไปทำอะไร ก็ต้องไปทำอย่างอื่น งานแต่งเพลงตอนนี้ก็น้อยลง จะลำบากหรือเปล่าอันนี้ก็ต้องไปคิดเอาเองแล้วกัน มันก็หนักหนา ก็ต้องมีอย่างอื่นทำ อย่างที่บอกนักแต่งเพลงมีชีวิต ในการแต่งเพลง ถ้างานเพลงของเขาแต่งไป 100 ถึง 200 เพลง ดังหนึ่งเพลงมันก็ดีแล้ว ก็ควรจะมีอะไรให้เขายังชีพได้ ผู้ที่มีผลประโยชน์อยู่ก็ควรที่จะแบ่งปัน เพราะคนที่แต่งเพลงไม่ดังมันก็ยิ่งลำบากเข้าไปอีก ผมไม่ได้เรียกร้องว่าเราลำบากและจะต้องอย่างนั้นอย่างนี้ เอาควรจะได้ในสิ่งที่ควรจะต้องได้ เท่านั้นเอง

 

โดนไป 12 ล้าน คดีอะไรบ้าง ?
3 คดี เล่าได้คร่าวๆ คืองานไหลที่ชลบุรี งานนั้นร้อง 10 กว่าเพลง ถ้าจำไม่ผิดโดนปรับเพลงละ 4 แสน ละมีไปร้องที่ปลาทูแช็ก เขาลงคลิปเต็มในยุทูป อันนี้โดนไป 2 กรณี ร้องที่ร้านด้วย และไปเผยแพร่ และอีกคดีไม่แน่ใจ 

 

มีอีกใช่ไหม เห็นอิงเคสของ หนุ่ม กะลา ?
ถ้าฟ้องหลายคดี ก็น่าจะโดน แต่อย่างที่ชี้แจง ถ้าสิทธิ์เป้นของผม ก็รอให้ศาลพิจราณาคดีผมก่อนก็ได้ แต่ทางบริษัทเห็เราฟ้องเขาไป เขาเลยฟ้องกลับ เขาคงมั่นใจว่าสัญญาทาสเป็นของเขา ก็ต้องรอขอความกรุณาจากเขา

 

สัญญาเพลงทุกเพลงเนื้อหาในฉบับเหมือนกันไหม ?
จะเหมือนกันแต่ละปีครับ ไม่เคยเหมือนกันเลย ผมจะบอกให้ชัดเลยนะครับยุคที่ผมอยู่อาร์เอส ไม่มีสิทธิ์เผยแพร่ แต่ในยุคที่กลับมาอยู่อาร์สยาม นั่นมีระบุมีสิทธิ์เผยแพร่ แต่ไม่ต้องกลัวนะครับ ผมก็ยังมีทีเด็ดของผมอีก ในแต่ละสัญญาในแต่ละปี ค่ายเพลงก็จะปรับตัว จากหน้าเดียวก็จะเป็นสองหน้า สามหน้าเพื่อให้มีการรัดกุมมากขึ้น เพราะว่ามันก็จะมีการฟ้องกันของครูเพลงต่างๆ พอบางคดีแพ้เขาก็จะมีการปรับขึ้นมา ฉะนั้นผมแทบจะมีสัญญาเกือบทั้งหมด แต่จริงๆแล้วเราไม่ได้คู่สัญญานะ หลายๆ ค่ายที่เราไปเซ็น ไม่ได้คู่สัญญาเลย เขาจะเก็บเป็นฝ่ายเดียว แต่บังเอิญว่าผมไปแอบถ่ายเอาไว้ ผมเลยมีสัญญา เขาฟ้องมาแต่ผมมีสัญญา เราก็เลยได้สำเนานั้นมาครับ ไปถามนักแต่งเพลงก็ได้ครับเราไม่ได้คู่สัญญา คือเซ็นใบเดียวแล้วเขาก็เก็บไป  

 

อันนี้จะทำให้เราชนะไหม ?
คืออันนี้ผมก็ไม่แน่ใจ ผมไม่ได้เซ็นสิทธิ์เผยแพร่เพราะว่า ในคดีต่างประเทศทั่วโลก มันชัดเจนอยู่แล้ว แม้แต่กฎหมายไทยมันก็มีชัดเจนอยู่ ว่าผู้สร้างสรรค์ มี 5 สิทธิ์

 

คดีความคืบหน้าถึงไหน ?
คดีจัดขึ้นอีกครั้งเป็นคดีของผม เดือนกันยายนครับ 

 

ฟ้องเขาเรื่องอะไรบ้าง ?
ละเมิดสิทธิ์เผยแพร่ต่อสาธารณะชน 18 เพลง คือทนายเราก็เก่ง ไม่ต้องฟ้องทั้งหมด เพราะงานผมมีกว่า 200 กว่างาน จะได้ขึ้นความกันง่ายหน่อย พยานต่างๆก็จะขึ้นกัน ก็จบเร็วหน่อย คือถ้าผมหลุดก็หมายความว่าพี่น้องเราหลุด 

 

เรียกร้องค่าเสียหายไปเท่าไหร่ ?
18 เพลง 5,000,000 ครับ 

 

เลยเป็นเหตุให้ทางต้นสังกัดเดิมฟ้องกลับ ?
ใช่ครับ เป็นเหตุให้เขาฟ้องกลับเรา

 

มีไกล่เกลี่ยบ้างหรือยัง ?
ตอนนี้ก็มีพี่ชายคนหนึ่ง เป็นคนกลางได้ติดต่อมาแล้ว แต่ว่ายังไม่ได้คุย จริงๆธงของพวกเราที่จับมือกัน เราอยากให้ศาลตัดสิน เพราะถ้ามันจบ ให้สังเกตมันมีหลายคดีที่ไม่จบ พอไม่มีการตัดสิน มันก็ไม่มีบรรทัดฐานเกิดขึ้น ผมก็ไม่อยากจะรบฆ่าฟันให้ตาย ถ้าเราคุยกันได้ และดูแลพี่น้องเราตามความเหมาะสมตาม 

 

คือผมจะบอกวิธีการแบ่ง ยูทูปเก็บมา 100 บาท กันค่าลิขสิขธิ์ไว้ 20 บาท ใครได้บ้าง 20 บาท อันนี้ค่อนข้างแม่นนะแต่ว่าไม่ตายตัว ค่ายได้ 5 บาท สิทธิ์เผยแพร่ 5 บาท แต่ค่ายได้ 2.5 บาท เพราะเป็นเจ้าของผู้ลงทุน ฉะนั้นผมได้ 2.5 บาท ค่ายได้ 7 บาท แต่ละแพลตฟอร์มไม่เท่ากัน ยูทูปได้ 80 แต่ไปแบ่งกับค่ายอีก 40 บาท ที่เราควรจะได้ ถ้าค่ายจ่ายเราแบบเทปซีดี เหมือนทำนอง 10 สตางค์ เนื้อร้อง 10 สตางค์ เรียบเรียง 5 สตางค์ โปรดิวซ์ได้ 1 บาท โคโปได้ 50 สตางค์ อันนี้ระบุชัดเจน มีรายเซ็นผู้บริหารชัดเจน 

 

เรียกร้องอยากได้ส่วนแบ่ง ?
คำว่าเรียกร้องอยากได้ส่วนแบ่ง ผมว่าไม่ใช่สักทีเดียว เพราะเป็นสิ่งที่เราควรได้ ค่ายเพลงละเมิดนักแต่งเพลง แต่เราไม่เคยรู้ จนมีคนที่เก่งๆมาชี้ทาง เพราะเราไม่ได้เซ็นขายขาด เรารู้ว่าเราได้ด้วยกัน เราได้มาตลอดตั้งแต่เทปซีดี พอเป็นดิจิตัลทำไมเราไม่ได้ 

 

สัญญาได้บอกไหม อนาคตมีแพลตฟอร์มที่เกิดขึ้น เราจะได้ส่วนแบ่งตรงนี้ไหม ?
ในสัญญาหลายบริษัทจะระบุเลยว่า คุณได้เปอร์เซ็นเท่านี้ แต่บางบริษัทจะทำข้างนอก และมันยังไม่เกิดขึ้นในยุคนั้น เลยไม่มีใครรู้ว่าจะมีรายได้ต่อสาธารณะชน ดิจิตอลแพลตฟอร์ม 

 

จะเรียกร้องสัญญาได้ไหม ?
เราเรียกร้องไม่ได้ครับ เขาคิดว่าเป็นอขงเขาเด็ดขาด ซึ่งผมมีหมัดหนักว่าเป็นของเขาจริงไหม 

 

ได้บอกไหมว่าเราให้เขากี่ปี ?
อันนี้เรื่องใหญ่ สัญญามันไม่เหมือนกันเลย ผมจะบอกว่าแต่ละค่าย แต่ละยุค ไม่เหมือนกันเลย เราตีไม่ได้เลย ว่าจะระบุยังไง แต่เราไม่ได้ขายขาด บริษัทจะมีอยู่ 3 แบบ แบบที่ 1 เพิ่งมี แบบยุติธรรม แบบจ่ายไม่ยุติธรรม กับไม่จ่ายเลย 

 

ที่โดนฟ้องมีโอกาสชนะยังไงบ้าง ?
มันน่าจะเป็นของผมแน่นอน รอให้ศาลตัดสิน ถ้าเจรจาผมยินดีคุย แต่ให้พี่น้องผมทุกคนยอมรับได้ ผมไม่ขอเอาตัวรอดคนเดียว อยากให้มีผู้ใหญ่รับรอง ก่อนหน้านี้ผมพยายามหาทาง เพราะไม่มีทนาย หรือใครคนไหน อยากสู้กับค่ายใหญ่ เราก็ถอย จนเราได้เจอทนายทิม 

"เวสป้า สเตอร์"

(ทนาย) ทีมกฎหมายมองว่าเขามีสิทธิ์มากกว่านั้น เวลาศาลท่านพิจารณาหรือพิพากษาคดี เราไม่ได้มองที่หัวสัญญา ว่าสัญญานี้ขายสิทธิ์ขาด สัญญานี้เป็นแบบไหน ถ้าจะต้องพิจารณาถึงเจตนารมณ์ คู่สัญญาว่ามีประสงค์อย่างไร แล้วจะต้องพิจารณาต่อว่าเมื่อศาลพิจารณาไปแล้ว ทางปฏิบัติของคู่สัญญาได้ทำอย่างไรต่อ ซึ่งที่เราดูจากข้อเท็จจริง มันไม่ได้เป็นการขายสิทธิ์ขาด ไม่ได้เป็นการโอนสิทธิ์ไปทั้งหมดนะครับ จริงๆสิทธิ์เขามีมากกว่านั้น ส่วนประเด็นที่สองในฐานะนักกฏหมาย ลิขสิทธิ์เจตนาของเขาคุ้มครอง ศิลปิน สร้างสรรค์ แต่วันนี้ทุกท่านจะเห็นเลยว่า ศิลปิน กลับถูกเอากฎหมายที่คุ้มครองเขา มาทำร้ายตัวเขาเอง นักกฎหมายไม่ได้ต่างกับศิลปิน ศิลปินผมคุยกับพี่ครั้งแรก พี่เวสป้าบอกว่า เพลงมันเหมือนเป็นเหมือนลูกพี่ แต่วันนี้พี่ถูกลูกพี่มาทำร้ายเอง นักกฎหมายก็เช่นกันกฎหมายมีเจตนาคุ้มครอง ความยุติธรรมแต่วันนี้สิงหาโดนเราใช้กฎหมายไม่ได้มันเกิดอะไรขึ้นในประเทศนี้

"เวสป้า สเตอร์"

"เวสป้า สเตอร์"