ปล่อยให้ ‘จูน’ รอเก้อ คู่กรณีไม่มาตามนัดอีก อ้าง เป็นเพียงแฟนเพลง หนุ่ม กะลา
บุคคลที่สามหรือคู่กรณีของ จูน เพ็ญชุลี ภรรยา หนุ่ม กะลา ที่ถูกยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหาย 10 ล้าน ปล่อยให้ จูน รอเก้อ ไม่มาตามนัดอีกครั้ง หลังไม่ประสงค์ไกล่เกลี่ย เพราะเป็นเพียงแฟนเพลง หนุ่ม กะลา
ความคืบหน้าล่าสุดวันนี้ 28 สิงหาคม 2566 กรณี จูน เพ็ญชุลี ภรรยา หนุ่ม กะลา ยื่นฟ้องสาวคู่กรณี 10 ล้านบาท และมีนัดไกล่เกลี่ยกันที่ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดลพบุรีเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา แต่ทว่าในวันที่ 15 สิงหาคม 2566 ทนายพัฒน์ ทนายความของจูน เผยว่าคู่กรณีไม่ประสงค์จะไกล่เกลี่ย
และได้นัดอีกครั้งในวันที่ 28 สิงหาคม 2566 ซึ่งในช่วงเช้าวันนี้ ทนายพัฒน์ ทนายความของจูน โพสต์แจ้งผ่านเฟซบุ๊ก ทนายเมียหลวง โทร. 087-813-3012 ว่า "มาเรียกร้องความเป็นธรรมเรียกค่าเสียหาย 10 ล้านบาท …. ตามนัด หวังว่าจะได้เจอ… จะได้คุย …. #แพงที่ไม่ต้องพยายาม"
ทว่าต่อมา ช่วงบ่ายวันเดียวกัน ทนายได้เผยโพสต์ล่าสุด ระบุว่า สาวคู่กรณีไม่มาตามนัดอีกครั้ง และมีการกล่าวอ้างว่าความสัมพันธ์ของตนกับนักร้องดังเป็นเพียงแฟนเพลง เรื่องความสัมพันธ์ชู้สาวนั้น จูน เพ็ญชุลี เป็นคนคิดไปเอง จึงฟ้องร้องตนไม่ได้
“คดีไม่สามารถเจรจาไกล่เกลี่ยได้ เพราะตัวคู่กรณีไม่มา โจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยได้แสดงตนโดยเปิดเผยในทำนองชู้สาวกับสามีโจทก์ จึงมีสิทธิ์เรียกค่าทดแทน 10 ล้านบาท
จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยเป็นแค่แฟนเพลงของสามีโจทก์ ไม่ได้แสดงตนโดยเปิดเผยกับสามีโจทก์ในทำนองชู้สาวเป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ โจทก์คาดเดาไปเอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิ์เรียกค่าทดแทน…..
เมื่อคดีไม่สามารถตกลงกันได้ จึงต้องมีการเลื่อนไปสืบพยานกันในวันที่ 15 ถึง 17 พฤศจิกายน 2566 ต่อไป ….เปิดหลักฐานกันให้ศาลตัดสินครับ ศาลเท่านั้นคือผู้ตัดสิน…
#แพงที่ไม่ต้องพยายาม
#ทนายชายพัฒน์
#ทนายเมียหลวง
การที่จำเลยไม่มาศาลในคดีแพ่งนั้น เป็นสิทธิของจำเลยไม่สามารถบังคับได้
แต่ถึงอย่างไรก็ตามเมื่อถึงวันนัดที่จำเป็นจำเลยก็ต้องมาปรากฏตัวเอง เช่น วันนัดสืบพยาน และไม่ได้หมายความว่าจำเลยไม่มาแล้วกระบวนการทางศาลจะเดินต่อไปไม่ได้ ถ้าจำเลยไม่มาก็ต้องพิจารณาพิพากษาคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียว นี่คือ หลักกฏหมาย
ในการต่อสู้คดีของจำเลยในคดีเกี่ยวกับการฟ้องเมียน้อยนั้น เป็นสิทธิของจำเลยที่จะต่อสู้อย่างไรก็ได้เช่นกัน แต่การเชื่อว่าจำเลยกระทำความผิดจริงหรือไม่ก็ต้องดูตามพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนและในทางนำสืบของโจทก์(พยานบุลคล + พยานเอกสาร + พยานวัตถุ) ซึ่งศาลจะต้องเป็นผู้พิจารณาว่าพยานหลักฐานของโจทก์ฟังได้หรือไม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1523 วรรค 2 ถ้าพยานหลักฐานโจทก์ฟังได้ว่าจำเลยทำผิด ศาลก็จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่าจำเลยจะต้องรับผิดชอบแก่โจทก์เพียงใด (จำนวนเงิน) มาตรา 1525 แต่หากฟังไม่ได้ก็ต้องยกฟ้องไป นี่คือหลักกฎหมาย
#ส่วนในคดีดังที่เป็นข่าวหลาย ๆ คดี ผมก็ไม่สามารถที่จะกล้าตอบได้ว่าจำเลยกระทำความผิดจริงหรือไม่ แต่ก็ขอให้ทุกท่านเป็นผู้พิจารณาเอาว่า ความจริงเป็นเช่นไร?
#แล้วท่านล่ะคิดเช่นไร?
#ทนายชายพัฒน์
#ทนายเมียหลวง