บันเทิง

เปิดเบื้องหลังความสำเร็จของคนไทย ในงานเทศกาลดนตรีระดับโลก

เปิดเบื้องหลังความสำเร็จของคนไทย ในงานเทศกาลดนตรีระดับโลก

26 มิ.ย. 2567

808 Festival ขึ้นแท่นเทศกาลดนตรีสายแดนซ์ระดับโลก ด้วยการจัดอันดับจาก DJ Mag แซงเทศกาลดนตรีสายแดนซ์ชื่อดังกว่าหลายสิบประเทศ

ล่าสุดทาง DJ Mag เพิ่งจะทำการจัดอันดับ 100 เทศกาลดนตรีเต้นรำที่ดีที่สุดของโลกประจำปี 2024 ออกมา โดย 808 Festival ของไทยค้วาอันดับที่ 36 มา และเป็นอันดับต้นของเอเชีย ซึ่งเป็นอันดับที่อยู่สูงกว่าเทศกาลดนตรีระดับโลกอีกหลายๆงาน

 

จากแนวดนตรีที่มีคนฟังเฉพาะกลุ่มในอดีต ปัจจุบัน Electronic Dance Music ได้กลายเป็นดนตรีในกระแสและเป็นส่วนหนึ่งของดนตรีป็อป, ฮิปฮอป หรือแม้กระทั่งดนตรีร็อกไปจนถึงฮาร์ดคอร์และเฮฟวีเมทัลร่วมสมัยไปแล้ว แต่กว่าที่ดนตรีเต้นรำร่วมสมัยในซีนดนตรีโดยรวมของไทยจะเดินทางมาจนถึงจุดนี้ได้ก็ต้องใช้เวลานานกว่าสิบปี โดยผู้ที่ถือได้ว่าเป็นคนริเริ่มในการจุดประกายให้ดนตรีเต้นรำร่วมสมัยก้าวเข้ามามีบทบาทในซีนดนตรีแดนซ์ของไทยและค่อยๆไต่ระดับความสำเร็จจากภายในประเทศสู่ระดับเอเชียและในขณะนี้ได้รับการยอมรับในระดับโลกไปแล้วก็คือ “อาสิทธิ์ ประชาเสรี” ผู้ก่อตั้งและประธานบริษัท ณัฐรัฐโฮลดิ้งส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทจัดเทศกาลดนตรีเต้นรำระดับโลก 

เปิดเบื้องหลังความสำเร็จของคนไทย ในงานเทศกาลดนตรีระดับโลก

สิ่งที่การันตีความสำเร็จในการก่อร่างสร้างซีนเทศกาลดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ในไทยหลายๆงานจนได้รับการยอมรับบนเวทีโลกได้อย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุดก็คือการที่ทาง DJ Mag สื่อที่ทรงอิทธิพลของโลก ของทางฝั่งสหราชอาณาจักรที่ได้รับการยอมรับเป็นอย่างสูงทั้งในวัฒนธรรมดนตรี อิเล็กทรอนิกส์ แดนซ์ มิวสิก รวมถึงดีเจและมีการวางจำหน่ายในหลายประเทศไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกา, สเปน, ฝรั่งเศส, อิตาลี, เยอรมนี, แคนาดา, รัสเซีย รวมถึงในเอเชียอย่าง จีน, เกาหลีใต้, ซาอุดิอาระเบีย, อินโดนีเซีย ไปจนถึง ศรีลังกา และอีกหลายประเทศทั่วโลกได้ยกย่องเทศกาลดนตรี 808 Festival ให้เป็นหนึ่งในเทศกาลดนตรีเต้นรำที่ดีที่สุดในระดับโลกด้วย 

เปิดเบื้องหลังความสำเร็จของคนไทย ในงานเทศกาลดนตรีระดับโลก

"อาสิทธิ์ ประชาเสรี" ผู้ปลุกปั้นงาน 808 Festival และซีนเทศกาลดนตรีสายแดนซ์ชื่อดังอีกมากมาย เป็นที่ยอมรับและติดอันดับสำคัญขึ้นแท่นในระดับโลก
 

เทศกาลดนตรีสายแดนซ์ 808 Festival จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2013 ซึ่งก็ถือเป็นก้าวแรกและก้าวสำคัญที่ทำให้กรุงเทพฯเป็นอีกหนึ่งเมืองใหญ่ที่เริ่มมีที่ทางสำหรับซีนดนตรีเต้นรำในระดับสากล โดย คุณ อาสิทธิ์ ประชาเสรี ได้แสดงความเห็นว่าดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ที่มีพัฒนาการมาอย่างยาวนานถือเป็นแม่เหล็กที่ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบดนตรีแนวนี้ให้เดินทางมาประเทศไทยให้มากขึ้นได้ ซึ่งการได้มีส่วนร่วมในการรับชมเทศกาลดนตรีเต้นรำดีๆก็ทำให้เกิดการบอกต่อขึ้นในหมู่นักท่องเที่ยวทั่วโลก ส่งผลให้กรุงเทพฯเริ่มกลายเป็นอีกหนึ่งหมุดหมายสำคัญที่ให้ขาแดนซ์ทั่วโลกอยากจะมาสัมผัสประสบการณ์ใน Dance Music Festival ในไทย

เปิดเบื้องหลังความสำเร็จของคนไทย ในงานเทศกาลดนตรีระดับโลก

นอกจาก 808 Festival แล้ว "อาสิทธิ์ ประชาเสรี" ก็ยังจัดคอนเสิร์ตและเทศกาลดนตรีแนวอิเล็กทรอนิกที่มีสเกลโปรดักชั่นในการจัดเทศกาลเทียบเท่ากับระดับสากลอีกหลายงานไม่ว่าจะเป็น Together Festival, Output Festival, Road to UItra และอีกหลายงาน โดยในแต่ละงานและในแต่ละปีที่จัดงานดีเจที่มาสาดบีทดนตรีเต้นรำหลากหลายแนวให้ฟลอร์ลุกเป็นไฟก็ล้วนแล้วแต่เป็นดีเจระดับแถวหน้าของโลกทั้งสิ้น ยกตัวอย่างเช่น Alan Walker, Marshmello, David Guetta, Gryffin, Armin Van Buuren, ZEDD, DJ Snake, Calvin Harris, Andrew Rayel และอีกมากมาย ส่วนดีเจที่ถือว่าแจ้งเกิดในงาน 808 Festival ในประเทศไทยเลยก็คือ Knock 2 และ Isoxo

 

ย้อนกลับไปในปี 2013 ซึ่งเป็นปีที่จัดงาน 808 Festival เป็นครั้งแรก ทางบริษัท ณัฐรัฐโฮลดิ้งส์ จำกัด สามารถดึงศิลปินและดีเจตัวท็อปของวงการในช่วงเวลานั้นอย่าง Steve Aoki, Chuckie และ Bassjackers  มาสาดบีทดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ให้แดนซ์ฟลอร์สะเทือนได้ตั้งแต่ปีแรก ซึ่งก็เป็นการแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจที่จะทำให้ 808 Festival เป็นเทศกาลดนตรี Electronic Dance Music ที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติตั้งแต่ก้าวแรก ส่วนในครั้งที่ 2 ของการจัดงานที่ได้ Nicky Romero และ Blasterjaxx มาโชว์ก็ทำให้ตัวงานได้รับเสียงชื่นชมมากขึ้นไปอีก โดยความสำเร็จเริ่มที่จะทะยานขึ้นสู่เพดานบินที่สูงขึ้นไปอีกในปีที่ 3 เมื่อทางผู้จัดได้สุดยอดดีเจอย่าง Armin Van Buuren, Porter Robinson และ Jack Ü ที่มี Skrillex และ Diplo เป็นสมาชิกและถือเป็นวงซูเปอร์กรุ๊ปของซีนดนตรีเต้นรำมาสร้างความมัน ซึ่งนับได้ว่าไม่ธรรมดามากๆ
 

นับวันงาน 808 Festival จะมีสเกลการจัดงานทั้งในด้านโปรดักชั่นแสงสีเสียง, พลุ, จอ LED ขนาดมหึมาที่สร้างงานวิชวลที่สวยงามบนเวทีและเอฟเฟกต์สุดตระกาลตาที่ในแต่ละปีจะเห็นได้ชัดว่ายิ่งใหญ่มากขึ้นเป็นลำดับ สิ่งที่น่าสนใจก็คือ 808 Festival เป็นเทศกาลดนตรีที่มีการแบ่งเวทีออกเป็น 2 เวทีเพื่อรองรับนักฟังและขาแดนซ์ที่ชื่นชอบดนตรีอิเล็กทรอนิกส์เฉพาะทางอย่างเทคโนไปจนถึงดรัมแอนด์เบสด้วย

 

ความเอาใจใส่ทั้งในเรื่องสเกลการจัดงานและกองทัพดีเจที่อยู่ในระดับแถวหน้าของโลกทำให้จำนวนผู้ชมต่างชาติเพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยในปี 2022 มีชาวต่างชาติมาร่วมงานราวๆ 24% ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในโซนเอเชียที่เท่านั้น แต่รวมถึงผู้ชมจากสหรัฐอเมริกา, นอร์เวย์ และ เยอรมนี และอีกหลายประเทศ โดยคุณ อาสิทธิ์ เคยแสดงความเห็นที่น่าสนใจว่าดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ร่วมสมัยในปัจจุบันนี้ได้ก้าวออกจากเพลงที่เปิดในคลับในอดีตไปสู่การเป็นดนตรีในกระแสที่มีผู้ฟังทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่วัยรุ่นและวัยทำงาน 

เปิดเบื้องหลังความสำเร็จของคนไทย ในงานเทศกาลดนตรีระดับโลก
   

ส่งผลให้ดนตรีเต้นรำร่วมสมัยในเวลานี้มีฐานผู้ฟังที่ชอบไปดูโชว์ของเหล่าดีเจที่แต่ละคนชื่นชอบมีทั้งกลุ่ม Gen Z และ Gen Y โดยข้อมูลเชิงสถิติและพัฒนาการของดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นผลมาจากการวางแผนทางด้านโครงสร้างการจัดงานที่ดีมาตั้งแต่ครั้งแรกทำให้บัตรงาน 808 Festival ในปี 2022 ขายหมดทุกใบ รวมถึงบัตรโซฯ V.I.P. ที่มีราคาไล่ไปตั้งแต่ระดับแสนถึงล้านบาทขายหมดตั้งแต่ 2 เดือนแรกหลังจากที่ประกาศจัดงาน ส่วนงาน 808 Festival 2023 ที่ได้ David Guetta และ Marshmello เป็นเป็นดีเจเฮดไลน์ก็ประสบความสำเร็จไม่แพ้กัน
   

สิ่งที่ทำให้เทศกาลดนตรีภายใต้การดูแลของคุณ อาสิทธิ์ ประชาเสรี ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 808 Festival ที่มีมาตรฐานอยู่ในระดับโลกแล้วมีหลายปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นไลน์อัปดีเจที่เรียกเสียงฮือฮาได้ทุกครั้ง จากคุณภาพในการจัดงานที่เหล่าดีเจระดับโลกไว้วางใจ และพร้อมเสมอที่จะมาเล่นที่นี่ โปรดักชั่น และงานวิชวลบนเวทีที่ไม่เพียงทำให้อยากเต้นแบบนอนสต็อปเท่านั้น แต่ยังดึงดูสายตาตลอดเวลาด้วย, การกำหนดตารางโชว์ของศิลปินแต่ละคนที่เหมาะสมไปจนถึงความ Loyalty หรือความรักที่แฟนๆมีให้กับศิลปินอย่างเต็มที่ ซึ่งก็ยิ่งทำให้โชว์ไม่เพียงแต่สนุกมากๆเท่านั้นแต่ก็ยังมีความอบอุ่นซุกซ่อนอยู่ในนั้นด้วย

 

"อาสิทธิ์ ประชาเสรี" ได้แสดงความเห็นเพิ่มเติมว่านักท่องเที่ยวที่มาเป็นผู้ชมในเทศกาลดนตรีถือโอกาสในวันหยุดพักผ่อนที่นอกจากเสพย์งานศิลปะดนตรีเต้นรำแล้ว พวกเขาก็ยังเดินทางท่องเที่ยวไปในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆในไทยด้วย ส่งผลให้คุณ อาสิทธ์ เริ่มหันมาจัดงานในขนาดที่เล็กลงโดยมีผู้ชมยู่ในระดับเล็กอย่าง 600-2000 คนและในระดับกลางที่มีผู้ชมราวๆ 2,000-8,000 คนในพื้นที่ท่องเที่ยวสำหรับชาวต่างชาติ ซึ่งก็ทำให้ซีนดนตรีเต้นรำร่วมสมัยคึกคักมากขึ้น นอกจากนี้ทางผู้จัดก็ยังได้ทดลองทำการตลาดในประเทศเพื่อนบ้านอย่าง สิงคโปร์ และ เมียนมา มาแล้วด้วย

 

ล่าสุดทาง DJ Mag เพิ่งจะทำการจัดอันดับ 100 เทศกาลดนตรีเต้นรำที่ดีที่สุดของโลกประจำปี 2024 ออกมา โดย 808 Festival ของไทยค้วาอันดับที่ 36 มา และเป็นอันดับต้นของเอเชีย และอยู่สูงกว่าเทศกาลดนตรีระดับโลกอีกหลายๆงาน

 

ความสำเร็จของงาน 808 Festival ไม่ได้เป็นไปแบบก้าวกระโดด แต่ทางผู้จัดต้องอาศัยประสบการณ์นานนับสิบปีในการวิเคราะห์หลากหลายปัจจัยที่จะผลักดันให้งานไปถึงระดับโลกได้ ไม่ว่าจะเป็นการคัดสรรค์ไลน์อัปดีเจ, งานโปรดักชั่น, ระบบเสียง, การออกแบบพื้นที่ในการจัดงาน, บู้ทดีเจ, พื้นที่ของเวทีและแดนซ์ฟลอร์ ไปจนถึงรายละเอียดเล็กๆน้อยๆหลายๆอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกิจกรรมในงาน, โซนร้านอาหาร, ระบบรักษาความปลอดภัยและอื่นๆ

 

การขยับจากอันดับที่ 58 ไปอยู่ในอันดับที่ 36 ของโลกถือเป็นการก้าวกระโดดครั้งสำคัญ ไม่เฉพาะเพียงแต่ความสำเร็จของทางผู้จัดเท่านั้น แต่รวมถึงความสำเร็จโดยรวมในเรื่องคุณภาพและมาตรฐานในการจัดเทศกาลดนตรีระดับนานาชาติในประเทศไทยอีกด้วย เนื่องจากในปัจจุบันมีการจัดเทศกาลดนตรีเฉพาะในสหราชอาณาจักรสูงถึง 202 งาน ซึ่งมีตั้งแต่งานสเกลเล็กที่จุดผู้ชมได้ 500 คนไปจนถึง 80,000 คน ยังไม่นับรวมเทศกาลดตรีเต้นรำที่มีอยู่แทบจะทุกประเทศทั่วโลก ส่วนการต่อสู้ของทางผู้จัดที่ล้วนแล้วแต่ได้รับผลกระทบมาจากสถานการณ์โควิด-19 แต่ยังคงรักษามาจรฐานการจัดงานเอาไว้อย่างคงเส้นคงว่าเอาไว้ได้ก็ถือเป็นหนึ่งในเกณฑ์การตัดสินเพื่อจัดอันดับของทาง DJ Mag ด้วย รวมถึงการจัดอันดับให้อีกงานสำคัญของพวกเราในครั้งนี้ก็คือ Together Festival ในอันดับที่80 ก็ถือเป็นเรื่องน่าภูมิใจให้กับทีมทำงานทุกคนเช่นกัน
 

2024 ถือเป็นปีที่อัตราการเติบโตของเทศกาลดนตรีเต้นรำทั่วโลกอยู่ในระดับที่สูงมากและไม่มีทีท่าว่าจะซาลงเลย ยอดขายบัตรโดยรวมอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ถึงแม้ว่าจะลดลงบ้างถ้าหากเทียบกับยอดขายก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 เพราะในปัจจุบันต้องยอมรับว่าหลายประเทศทั่วโลกยังคงประสบกับปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ แต่ดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ร่วมสมัยก็ยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมันเป็นแนวดนตรีที่สร้างความคึกคักและสร้างความสุขให้กับผู้ชมได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเป็นเอนเตอร์เทนเนอร์ของเหล่าดีเจที่มาร่วมสร้างสีสันในงาน 808 Festival มาตั้งแต่ปีแรกๆ ซึ่งเห็นได้ชัดว่าทางผู้จัดให้ความสำคัญในการเลือกดีเจที่จะมาเล่นในงานเพื่อสร้างความสนุกให้กับผู้ชมเป็นอย่างมาก

 

ทั้งหมดนี้ทำให้ 808 Festival ประสบความสำเร็จอย่างสูงทั้งในไทยและกลุ่มชาวต่างชาติที่หลงใหลในดนตรี อิเล็กทรอนิกส์ แดนซ์ และเชื่อเหลือเกินว่าในปีต่อๆไป 808 Festival จะก้าวขึ้นสู่อันดับเทศกาลดนตรีเต้นรำที่สูงกว่าเดิมอย่างแน่นอน

เปิดเบื้องหลังความสำเร็จของคนไทย ในงานเทศกาลดนตรีระดับโลก