"วัคซีนโควิด" "ซิโนแวค" มาเลเซียจ่อเลิกใช้ ส่วนไทยไม่มีทางเลือกต้องฉีดไปก่อน
นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา โพสต์ข้อความเกี่ยวกับการใช้ "วัคซีนโควิด" "ซิโนแวค" ในประเทศแถบเพื่อนบ้านอาเซียน ซึ่งบ้านเราเพิ่งสั่งซื้อเพิ่มมาอีก 12 ล้านโดส
นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความเกี่ยวกับการใช้ "วัคซีนโควิด" "ซิโนแวค" ในประเทศแถบเพื่อนบ้านอาเซียน ซึ่งบ้านเราเพิ่งสั่งซื้อเพิ่มมาอีก 12 ล้านโดส
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ย้ำ 2 เหตุผลซื้อวัคซีน โควิด-19 ซิโนแวค "Sinovac" เพิ่ม 12 ล้านโดส
- ปมซื้อ "ซิโนแวค" เพิ่มเผยจอห์นสันฯไม่ส่งให้ แอสตร้าฯกำลังผลิตไม่ถึง
- เสียชีวิตแล้ว"สาววัย 29"ฉีด"ซิโนแวค"หลังนอนเป็นเจ้าหญิงนิทรานาน 3 เดือน
การสั่งซื้อ "วัคซีนโควิด" "ซิโนแวค" มีการเปิดเผยถึง 2 เหตุผลหลักๆ คือ
- เพื่อเตรียมวัคซีนให้เพียงพอจากการที่วัคซีน "จอห์นสัน&จอห์นสัน" ไม่สามารถนำเข้ามาได้ตามกำหนดเวลา และปริมาณ "แอสตร้าเซนเนก้า" อยู่ที่ 5-6 ล้านโดสต่อเดือน ขณะที่ต้องมีปริมาณวัคซีนให้เพียงพอ 10-15 ล้านโดส/เดือน จึงต้องสั่ง "ซิโนแวค" และ "ไฟเซอร์" เพิ่มในไตรมาส 4 ของปี 2564
- การฉีดวัคซีนสูตร ซิโนแวค+แอสตร้าเซนเนก้า มีผลการศึกษาแล้วว่า มีภูมิคุ้มกันมากกว่าฉีดซิโนแวคครบ 2 หรือแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม 3 เท่า และใช้เวลาฉีดครบ 2 เข็มเร็วกว่า (ซิโนแวค+แอสตร้าเซนเนก้า ใช้เวลา 3 สัปดาห์ , แอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม ใช้เวลา 10-12 สัปดาห์)
ขณะเดียวกัน หมอธีระวัฒน์ ก็ได้โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า "อินโดนีเซีย ยอมรับวัคซีน ชิโนแวคในระยะหลังกันตายได้ 79% จาก 95% ในระยะแรก และกันอาการหนักได้ 53% ตกจาก 74% ซึ่งด้อยลงมาก แต่ตามข่าวไม่ได้ให้รายละเอียดว่าเกิดจากเดลตาหรือไม่
ในประเทศไทยไม่มีทางเลือกเนื่องจากวัคซีนอื่นไม่มีหรือมีไม่พอ ดังนั้นต้องฉีดไปก่อน สำหรับประเทศมาเลเซียทางการประกาศจะค่อยๆเลิกใช้วัคซีนชิโนแวค ในระบบการฉีดของประเทศที่เป็นทางการภายในเดือนกันยายนนี้ ทั้งนี้ ยังมีวัคซีนชิโนแวคเหลือ 14 ล้านโดส
เหตุผลที่ซื้อซิโนแวคเพิ่ม
CR เฟซบุ๊ก หมอธีระวัฒน์