เด่นโซเชียล

เปิดแผนมาตรการ "การป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล" 10 ข้อ เริ่ม 1 ก.ย.2564

เปิดแผนมาตรการ "การป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล" 10 ข้อ เริ่ม 1 ก.ย.2564

27 ส.ค. 2564

พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษก ศบค. สรุปการ "คลายล็อกดาวน์" พร้อมเปิดรายละเอียดแผนมาตรการป้องกัน "โควิด-19" "การป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล"

(27 ส.ค.2564) พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษก ศบค. สรุปการ "คลายล็อกดาวน์" พร้อมเปิดรายละเอียดแผนมาตรการป้องกัน "โควิด-19" Universal Prevention หรือเรียกว่า การป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล โดยจะเริ่มในวันที่ 1 กันยายน 2564 นี้ 

 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

สำหรับ Universal Prevention หรือเรียกว่า การป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล คือ การระมัดระวังป้องกันตนเองขั้นสูงสุดตลอดเวลาของทุกคนไม่ว่าจะเป็นบุคลากรทางการแพทย์หรือประชาชนทั่วไป ให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อ "โควิด-19" แม้ยังไม่พบว่ามีความเสี่ยง

 

"ขอให้เราคิดเสมอว่า เราอาจติดเชื้อ โควิด-19 โดยไม่รู้ตัวและไม่มีอาการ รวมทั้งทุกคนที่อยู่รอบตัวเราไม่ว่าจะสนิทแค่ไหนอาจเป็นผู้ติดเชื้อแฝงกันทั้งหมด และอาจแพร่เชื้อมาให้เราได้ เราจึงต้องป้องกันอย่างสุดความสามารถที่จะไม่ให้ตนเองไปรับเชื้อโควิด-19 หรือแพร่เชื้อให้ผู้อื่น"

 

Universal Prevention การป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล แบ่งเป็น 10 ข้อ

 

1.ออกจากบ้านเมื่อจำเป็นเท่านั้น

 

2.ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี และผู้มีโรคเรื้อรัง หลีกเลี่ยงการออกนอกบ้าน เว้นแต่จำเป็น (น้อยครั้งและใช้เวลาสั้นที่สุด)

 

3. เว้นระยะห่างจากคนอื่นอย่างน้อย 1-2 เมตร ในทุกสถานที่⁣

 

4. สวมหน้ากากอนามัยและทับด้วยหน้ากากผ้าตลอดเวลา ทั้งที่อยู่ในและนอกบ้านที่มีคนมากกว่า 2 คน⁣

 

5. หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้าที่สวมใส่อยู่ รวมทั้งใบหน้า ตา จมูก ปาก โดยไม่จำเป็น⁣

 

6. ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่หรือแจลแอลกอฮอล์ทุกครั้ง ก่อนรับประทานอาหาร หลังใช้ส้วม ไอจาม หรือสัมผัสวัตถุ/สิ่งของ ที่ใช้ร่วมกัน⁣

 

7. ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อพื้นผิวที่ถูกสัมผัสบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นข้าวของเครื่องใช้หรือสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพ⁣

 

8. แยกของใช้ส่วนตัวทุกชนิด ไม่ควรใช้ของร่วมกับผู้อื่น⁣

 

9. เลือกทานอาหารที่ร้อนหรือปรุงสุกใหม่ ควรทานอาหารแยกสำรับ หากทานร่วมกันให้ใช้ช้อนกลางส่วนตัว⁣

 

10. หากสงสัยว่าตนเองมีความเสี่ยง เช่น สัมผัสผู้ที่อาจติดเชื้อ หรือมีอาการ ควรได้รับการตรวจด้วย ATK เพื่อยืนยันว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ หรือไปรับการตรวจรักษาที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน