เด่นโซเชียล

ดร.อนันต์ ยกเคส "คลัสเตอร์" รร.ในสหรัฐฯ เด็กติดเชื้อจากครูลามพ่อแม่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ดร.อนันต์ ยกเคส "คลัสเตอร์" โรงเรียนในสหรัฐฯ เด็กติดเชื้อจากครูลามพ่อแม่ พบเป็น"สายพันธุ์ เดลต้า" ส่วนใหญ่ไม่ได้รับวัคซีน

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนานักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ค Anan Jongkaewwattana กรณีเกิดคลัสเตอร์ในโรงเรียนประถมแห่งหนึ่ง ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ว่า คลัสเตอร์ห้องเรียนนี้ เกิดจากครูคนหนึ่ง รู้ตัวว่ามีอาการไม่สบาย แต่ก็มาสอนหนังสือให้เด็ก 2 วัน กว่าจะรู้ว่าตัวเองเป็นโควิด-19 ตัวครูเองไม่ได้ฉีดวัคซีน และ เวลาสอนหนังสือ ก็มีช่วงเปิดหน้ากากพูดในบางครั้ง นักเรียนในห้องนี้มี 24 คน อายุต่ำกว่า 12 ยังอยู่ในช่วงที่ยังฉีดวัคซีนไม่ได้ 
แต่มีการใส่หน้ากากอนามัยเรียนในห้องตลอดเวลา ห้องเรียนไม่ใช่ระบบปิด ประตูห้องเปิด และ หน้าต่างเปิดทั้งสองด้าน มีอากาศถ่ายเท โต๊ะเรียนของนักเรียนเว้นระยะห่าง 6 ฟุต ซึ่งเชื่อว่า น่าจะเป็นระยะปลอดภัย จากการกระจายของละอองฝอยขนาดใหญ่ ที่สำคัญ ในห้องเรียนมีเครื่องกรองอากาศเปิดใช้งานตลอดเวลา

 

ดร.อนันต์ ยกเคส \"คลัสเตอร์\" รร.ในสหรัฐฯ เด็กติดเชื้อจากครูลามพ่อแม่

หลังจากที่ครูรู้ตัวว่าติดโควิด-19 ก็หยุดสอน แต่หลังจากนั้นพบว่า เด็ก 12 คน หรืออย่างน้อย 50% ติดโควิด-19 (2 คนยังไม่ได้ตรวจ) โดยนักเรียน 6 คน มีอาการป่วย นอกจากนี้ เด็ก ๆ เหล่านี้ ยังไปแพร่เชื้อต่อให้ผู้ปกครองที่บ้านอีก 8  คน ผลการถอดรหัสพันธุกรรมของไวรัสบ่งชี้ว่า เป็นสายพันธุ์เดลตา ที่น่าจะมาจากแหล่งเดียวกันหมด ผู้ติดเชื้อทุกคนไม่มีใครป่วยหนัก 

 

ดร.อนันต์ ยกเคส \"คลัสเตอร์\" รร.ในสหรัฐฯ เด็กติดเชื้อจากครูลามพ่อแม่

 

จากแผนภาพที่ CDC แสดงมาชัดว่า นักเรียนที่อยู่ตำแหน่งใกล้ครู จะได้รับไวรัสเยอะที่สุด โดย 80% ป่วยและมีอาการ และ 21% ที่ติดเชื้อนั่งอยู่ตำแหน่งไกลออกไป 

 

อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่า วัคซีนมีผลกับตัวแปรสายพันธุ์เดลต้า แต่ความเสี่ยงของการแพร่เชื้อ ยังคงเพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนในโรงเรียน โดยไม่ปฏิบัติตามกลยุทธ์การป้องกันอย่างเคร่งครัด 
 

จากการยกเคสตัวอย่างของ ดร.อนันต์ ทำให้มีผู้เข้ามาแสดงความกังวลว่า หากในประเทศไทย มีการเปิดการเรียนการสอนในเดือนพฤศจิกายนจริง อาจทำให้เกิดการแพร่กระจายของโควิด-19 เพิ่มขึ้น ในขณะที่กลุ่มนักเรียนส่วนใหญ่ ยังไม่ได้รับวัคซีน จึงอยากให้รัฐบาลทบทวนมาตรการดังกล่าวด้วย

 

ที่มา : Anan Jongkaewwattana

logoline