เด่นโซเชียล

พร้อมแล้ว "วัคซีนใบยา" ดีเดย์ ทดลองฉีดในคนระยะ 1 สิ้น ก.ย. นี้

พร้อมแล้ว "วัคซีนใบยา" ดีเดย์ ทดลองฉีดในคนระยะ 1 สิ้น ก.ย. นี้

05 ก.ย. 2564

พร้อมแล้ว "วัคซีนใบยา" วัคซีนสัญชาติไทย เตรียมทดลองฉีดในมนุษย์ ระยะที่ 1 สิ้นเดือนกันยายนนี้ คาด ฉีดได้ทั้งประเทศ กลางปี 2564

"วัคซีนใบยา" เตรียมพร้อมทดสอบในมนุษย์แล้ว สิ้นเดือนกันยายนนี้ หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทวีความรุนแรงขึ้น ด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิต ท่ามกลางการระดมจัดหา "วัคซีน" จากต่างประเทศ เพื่อหยุดการแพร่ระบาด และลดอัตราการติดเชื้อ หรือ เสียชีวิต โดยที่ผ่านมา คณะนักวิจัยของประเทศไทย ทั้งจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้คิดค้นพัฒนาวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 ของไทยเองมาโดยตลอทั้ง ChulaCov19 วัคซีนชนิด mRNA ที่พัฒนาโดยศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ รวมทั้ง "วัคซีนใบยา" ด้วย


ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Co-founder และ CEO 
บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด เปิดเผยความก้าวหน้า ของวัคซีนใบยา ที่กำลังจะทดสอบในมนุษย์ระยะที่ 1 ภายในเดือนกันยายนนี้ พร้อมทั้งมีการปรับสูตรวัคซีนโควิด19 รุ่นที่ 2 เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้น แต่ต้องดูผลการศึกษาระยะที่ 1 ก่อน หากเป็นไปตามแผน คาดว่า ไตรมาส 3 ปี 2565 น่าจะมีวัคซีนพร้อมฉีดให้ประชาชนได้ 

 

ส่วนโรงงานผลิตวัคซีนนั้น ทางทีมวิจัยมีโรงงานผลิตที่ได้มาตรฐาน และเป็นโรงงานผลิตวัคซีน และยาชีววัตถุด้วยพืช ใช้สำหรับมนุษย์แห่งแรกของเอเชียด้วย

 

พร้อมแล้ว \"วัคซีนใบยา\" ดีเดย์ ทดลองฉีดในคนระยะ 1 สิ้น ก.ย. นี้
 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 Timeline วัคซีนใบยา 

 

  • กุมภาพันธ์ 2563 คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการทดสอบวัคซีนใบยากับสัตว์ทดลอง เช่น หนูขาวและลิง ซึ่งแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2563 พบว่า วัคซีนสามารถกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในสัตว์ทดลองได้ผลสูง  
  • ตุลาคม 2563 เริ่มสร้างโรงงานต้นแบบการผลิตวัคซีน ที่อาคารจุฬาพัฒน์ 14 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
  • มิถุนายน 2564 โรงงานต้นแบบแล้วเสร็จ มีเนื้อที่ 1,200 ตร.ม. มีกำลังการผลิตวัคซีนเดือนละ 1-5 ล้านโดส
  • กันยายน 2564  วัคซีน "ใบยา" กำลังจะนำเข้าทดสอบในมนุษย์ระยะที่ 1 ในช่วงปลายเดือน หลังจากเปิดรับอาสาสมัคร เพื่อทดสอบวัคซีนกลุ่มแรก จำนวน 50 คน อายุ 18 – 60 ปี โดยอาสาสมัครจะได้รับการฉีดวัคซีน จำนวน 2 เข็ม เว้นระยะเวลาห่างกัน 3 สัปดาห์ เมื่อทดสอบกับอาสาสมัครกลุ่มแรกเสร็จ ก็จะทดสอบวัคซีนกับอาสาสมัคร กลุ่มอายุ 60–75 ปี ต่อไป
  • กลางปี 2564 คาดว่า วัคซีนใบยาจะพร้อมฉีดให้คนไทย ในราคาต้นทุนโดสละ 300 – 500 บาท

 

นอกจากนี้ คณะนักวิจัยยังได้พัฒนาวัคซีนใบยารุ่นที่ 2 เพื่อรับมือการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 ซึ่งคาดว่า จะพร้อมทดสอบกับอาสาสมัครปลายปี 2564 โดยจะปรับปรุงศักยภาพของวัคซีนในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันดีขึ้นด้วย

 

"วัคซีนใบยา" ป้องกันโควิด-19 ผลิตจากใบพืช เป็นผลงานสตาร์ทอัพแห่งจุฬาฯ บริษัท ใบยาไฟโตฟาร์ม จำกัด (ภายใต้ CU Enterprise) โดยสองนักวิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภญ.ดร.สุธีรา  เตชคุณวุฒิ และรองศาสตราจารย์ ดร.วรัญญู พูลเจริญ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ เป็นวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิด subunit vaccine ซึ่งต่างประเทศมีการผลิตวัคซีนชนิดนี้มานานแล้ว โดยผลิตจากหลายแหล่ง เช่น พืช แมลง ฯลฯ ขณะที่หลายประเทศผลิต subunit vaccine จากใบพืช เช่น แคนาดา และเกาหลีใต้


ผู้สนใจสามารถบริจาค เพื่อสนับสนุนการพัฒนาวัคซีนใบยา โปรดดูรายละเอียดได้ที่ https://www.cuenterprise.co.th/ 
หรือ Facebook: CUEnterprise