เด่นโซเชียล

"มิว" ระบาด 39 ประเทศ กรมวิทย์ยัน มิว - C.1.2 ยังไม่เข้าไทย ต้องเฝ้าระวัง

"มิว" ระบาด 39 ประเทศ กรมวิทย์ยัน มิว - C.1.2 ยังไม่เข้าไทย ต้องเฝ้าระวัง

06 ก.ย. 2564

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงยืนยัน โควิด-19 สายพันธุ์มิว และ C.1.2 ยังไม่เข้าไทย แม้มิวจะระบาดแล้ว 39 ประเทศ กลายเป็นสายพันธุ์หลักในโคลัมเบียร์ ย้ำยังคงเฝ้าระวังอย่างดี

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงข่าวการเฝ้าระวังเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์ พบสายพันธุ์มิว ระบาดแล้ว 39 ประเทศ โดยเฉพาะโคลัมเบียที่พบที่แรก ขึ้นเป็นสายพันธุ์หลัก ขณะที่ สายพันธุ์ C.1.2 ยังระบาดแค่ 3% WHO ยังไม่จัดขั้นและชื่อเรียกสายพันธุ์ แต่จำเป็นต้องเฝ้าระวังและจับตา ทั้งสองสายพันธุ์ 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวในการแถลงข่าวการเฝ้าระวังการกลายพันธุ์เชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 ในประเทศไทย ว่า สำหรับการเฝ้าระวังการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสทั่วโลกปัจจุบันเกิดขึ้นตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้องค์การอนามัยโลก (WHO) จึงได้ทำการจัดชั้นของการกลายพันธุ์ โดยแบ่งเป็น การกลายพันธุ์ที่อยู่ในความสนใจ Variants of interrest (VOI) การกลายพันธุ์ในตำแหน่งที่อาจจะมีการแพร่ระบาดได้ การกลายพันธุ์ในตำแหน่งที่อาจจะมีการดื้อวัคซีน หรือการกลายพันธุ์ที่มีการผิดปกติซึ่งเชื้อไวรัสสายพันธุ์มิว ก็ถูกจัดชั้นอยู่ในกลุ่มนี้เช่นกัน ส่วนชั้นที่น่าห่วงกังวลหรือที่เรียกว่า Variants Of Concern ปัจจุบันยังคงมีอยู่ 4 สายพันธุ์ คือสายพันธุ์อัลฟา สายพันธุ์เบตา สายพันธุ์แกรมมา และสายพันธุ์เดลตา โดยทั้ง 4 สายพันธุ์นี้มีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะเดลตา ที่มีการแพร่ระบาดได้รวดเร็วมากสามารถหลบภูมิคุ้มกันหลบวัคซีนได้ ขณะที่สายพันธุ์เบตาและสายพันธุ์แกรมมา สามารถหลบวัคซีนได้ดี แต่อำนาจในการแพร่กระจายต่ำ 

\"มิว\" ระบาด 39 ประเทศ กรมวิทย์ยัน มิว - C.1.2 ยังไม่เข้าไทย ต้องเฝ้าระวัง \"มิว\" ระบาด 39 ประเทศ กรมวิทย์ยัน มิว - C.1.2 ยังไม่เข้าไทย ต้องเฝ้าระวัง

ดังนั้นสายพันธุ์มิวจึงอย่างถูกจัดอยู่ในกลุ่มของสายพันธุ์ที่น่าสนใจยังไม่ถูกยกระดับเป็นสายพันธุ์ที่น่าห่วงกังวล ส่วนสายพันธุ์ C.1.2 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มาก่อนหน้านี้ยังไม่ถูกนำมาจัดชั้นและยังไม่ได้ถูกนำมาให้ชื่อในภาษากลางที่ WHO กำหนด

 

สำหรับสายพันธุ์ C.1.2 นักวิทยาศาสตร์พบว่ามีการกลายพันธุ์ในตำแหน่งที่อยู่ในสายพันธุ์เดลตา และสายพันธุ์แกรมมา ที่สามารถหลบวัคซีนได้และมีในจุดของอัลฟาที่สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นการกลายพันธุ์ในหลายตำแหน่งของC. 1.2 จึงทำให้เป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่ต้องจับตาดู โดยสายพันธุ์นี้ ระบาดครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2564 ในแอฟริกาใต้ และแพร่ระบาดมากที่สุดในแอฟริกาใต้ และมีการแพร่ระบาดอยู่บ้างในประเทศ เช่น อังกฤษ นิวซีแลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ และจีน แต่ยังคงถูกจำกัดอยู่ในกลุ่มเล็กไม่กี่ประเทศ 

\"มิว\" ระบาด 39 ประเทศ กรมวิทย์ยัน มิว - C.1.2 ยังไม่เข้าไทย ต้องเฝ้าระวัง

ทั้งนี้สายพันธุ์ C.1.2 สาเหตุที่ต้องเฝ้าระวังเนื่องมาจากการกลายพันธุ์มีหลายตำแหน่งที่คล้ายกับVOCsและมีอัตราการกลายพันธุ์สูงกว่าสายพันธุ์อื่น แต่ยังไม่ต้องตื่นตระหนกเพราะมีเพียงการระบาดเพียง 3% เท่านั้น  สายพันธุ์ที่ระบาดส่วนใหญ่ทั่วโลกยังคงเป็นสายพันธุ์เดลตาและยังไม่พบสายพันธุ์ C.1.2 ในประเทศไทย 

\"มิว\" ระบาด 39 ประเทศ กรมวิทย์ยัน มิว - C.1.2 ยังไม่เข้าไทย ต้องเฝ้าระวัง

สำหรับสายพันธุ์มิวหรือบี. 1.621 เป็นสายพันธุ์ที่ตรวจที่แพร่ระบาดครั้งแรกในประวัติในโคลัมเบียในวันที่ 11 มกราคมและพบการแพร่ระบาดมากที่สุดในอเมริการองลงมาเป็นโคลัมเบีย เม็กซิโก สเปน เอกกวาดอ แต่ยังไม่พบในเอเชียตะวันออกเชียงใต้ สำหรับสายพันธุ์มิวพบทั่วโลกเพียง 0.1% เท่านั้นโดยมีการกลายพันธุ์ทำให้ไวรัสสามารถหลบหลีกภูมิคุ้มกันได้ ทำให้ไวรัสแพร่กระจายได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของสายพันธุ์มิวในประเทศโคลัมเบียพบว่ามีการระบาดมากถึง 40%จนระบาดเป็นสายพันธุ์หลักซึ่งปัจจุบันพบแล้วในกว่า 39 ประเทศ 

 

ขณะที่ WHO และ Public Health England (PHE)ได้ยกระดับขึ้นมาเป็น Variant off interest (VOIs)โดย PHE ได้ประเมินความเสี่ยงว่าพบว่ามีการหลีกหนีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติได้ดีกว่าเดิมเนื่องจากพบการกลายพันธุ์ที่ส่งผลให้Antigenic change ได้แก่ E484K และมีความต้านทานต่อวัคซีน แต่ยังไม่ข้อมูลที่ยืนยันเพียงพอว่าการแพร่ระบาดจะเร็วหรือไม่ การติดเชื้อง่ายหรือไม่ เมื่อเทียบกับสายพันธุ์เดลตาและยังไม่มีหลักฐานว่าคนที่ติดเชื้อแล้วจะกลับมาป่วยด้วยสายพันธุ์มิวส์ได้มากน้อยแค่ไหน โดยรวมสายพันธุ์มิวส์ยังไม่น่าวิตกกังวล แต่จำเป็นต้องติดตามเฝ้าระวังต่อไป