เช็กเงื่อนไข "กองทุนประกันสังคม" ทั้ง 3 มาตรา ได้รับสิทธิแตกต่างกันอย่างไร
สำนักงานประกันสังคม ไขข้อข้องใจ เปิดทำความรู้จัก "กองทุนประกันสังคม" ทั้ง 3 มาตรา ผู้ประกันตนเช็กเลย ได้รับสิทธิแตกต่างกันอย่างไร
ช่วงนี้ยังคงติดตามมาตรการเยียวยาของรัฐบาล จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งผู้ประกันตนแต่ละมาตรา ทั้งมาตรา 33 , มาตรา 39 และ มาตรา 40 ต่างได้รับเงินเยียวยากันไปบ้างแล้ว
คราวนี้ มาทำความรู้จักว่า กองทุนประกันสังคม 3 มาตรา มาตราไหน คุ้มครองอะไรบ้าง เนื่องจากประกันสังคม ไม่ได้ครอบคลุมแค่กลุ่มมนุษย์เงินเดือนเท่านั้น แต่แบ่งออกเป็น 3 มาตราหลัก ที่มอบสวัสดิการให้คนทำงานแต่ละกลุ่ม แตกต่างกันดังนี้
ทำความรู้จักแต่ละมาตรา
มาตรา 33 คือ ลูกจ้างผู้ซึ่งทำงานให้กับนายจ้าง ที่อยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี ได้แก่
- ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
- คลอดบุตร
- ทุพพลภาพ
- ตาย
- สงเคราะห์บุตร
- ชราภาพ
- ว่างงาน
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- เตรียมเฮ "ประกันสังคมมาตรา33" ได้เงินเยียวยา 2,500 เพิ่มรอบ 2 แน่
- ประกันสังคม ม33, ม39 รู้ไว้ ก.ย.นี้ "จ่ายเงินสมทบประกันสังคม" เท่าเดิมแล้ว
- "เช็กสิทธิประกันสังคม ม.40" รายใหม่ก่อนยื่นทบทวน แก้ปัญหาเงินไม่เข้าทำไง
มาตรา 39 คือ ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ โดยเป็นบุคคลที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 จ่ายเงินสมทบก่อนออกจากงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน แล้วลาออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคม โดยได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี ได้แก่
- ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
- คลอดบุตร
- ทุพพลภาพ
- ตาย
- สงเคราะห์บุตร
- ชราภาพ
มาตรา 40 คือ บุคคลทั่วไปที่ประกอบอาชีพ หรือแรงงานอิสระ ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือ
ผู้ประกันตนมาตรา 39 โดยได้รับความคุ้มครองมากที่สุด 5 กรณี ได้แก่
- ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
- ทุพพลภาพ
- ตาย
- ชราภาพ
- สงเคราะห์บุตร
- ตามเงื่อนไขการเกิดสิทธิ
นอกจากนี้ ยังมีอีก 2 กองทุนของประกันสังคม ที่คุ้มครองชีวิตคนทำงาน
โดยเงินที่ประกันสังคมใช้จ่ายเพื่อสิทธิประโยชน์ มาจากกองทุนประกันสังคม และกองทุนเงินทดแทน ซึ่งทั้ง 2 กองทุน คือ หลักประกันแก่ผู้ประกันตนให้ได้รับประโยชน์ทดแทน ต่างกันที่ที่มาของเงิน และความครอบคลุมในการคุ้มครองเท่านั้น
กองทุนประกันสังคม นายจ้าง ลูกจ้าง ต้องนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน โดยคำนวณจากค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับ กำหนดฐานค่าจ้างขั้นต่ำที่ 1,650 บาท และสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท โดยรัฐบาลจะออกเงินสมทบเข้ากองทุนด้วยส่วนหนึ่ง สิทธิประโยชน์จากกองทุนประกันสังคมที่ลูกจ้างจะได้รับจะมี 7 กรณี ได้แก่
- ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
- คลอดบุตร
- ทุพพลภาพ
- ตาย
- สงเคราะห์บุตร
- ชราภาพ
- ว่างงาน
กองทุนเงินทดแทน คือ กองทุนที่จ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างแทนนายจ้าง เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย อันเนื่องมาจากการทำงานให้แก่นายจ้าง โดยนายจ้างจ่ายเงินเข้ากองทุนเงินทดแทนแต่เพียงฝ่ายเดียว สิทธิประโยชน์จากกองทุนเงินทดแทนที่ลูกจ้างจะได้รับจะมี 4 กรณีได้แก่
- ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
- ทุพพลภาพ
- ตายหรือสูญหาย
- สูญเสียอวัยวะ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง