เด่นโซเชียล

ทำความรู้จัก "เต่าปูลู" เต่าหัวโต อกแบน มีหางสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์

ทำความรู้จัก "เต่าปูลู" เต่าหัวโต อกแบน มีหางสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์

06 ก.ย. 2564

อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย พบ "เต่าปูลู" เต่าหัวโต มีหาง อกแบน สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ อีกครั้ง หลังเคยพบที่น้ำตกแม่เกิ๋งหลวง 2 ปีก่อน

เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย พบเต่าปูลู จำนวน 1 ตัว บริเวณศาลาที่พักน้ำตกแม่เกิ๋งหลวง วัดขนาดและชั่งน้ำหนักเพื่อทำการเก็บข้อมูล พบว่า เต่าปูลูตัวที่พบมีขนาดกระดอง 11×20 cm.วัดรอบ 30 cm. ความยาวสุดปลายหาง 51.82 cm. น้ำหนัก 1.10 kg. ทั้งนี้เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2562 เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัยก็ได้พบเต่าปูลู 1 ตัว บริเวณน้ำตกแม่เกิ๋งหลวงมาแล้วเช่นกัน ทำความรู้จัก \"เต่าปูลู\" เต่าหัวโต อกแบน มีหางสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

เต่าปูลู (Platysternon megacephalum) เป็นภาษาละติน แปลว่า หัวโต อกแบน เป็นสัตว์น้ำจืด วงศ์ Platysternidae มีลักษณะพิเศษคือมีหัวขนาดใหญ่ กระดองยาว ปากงุ้มเป็นตะขอและแข็งแรงมาก เท้ามีเล็บแหลมคม ขาหน้ามี 5 นิ้ว ขาหลังมี 4 นิ้ว ปกคลุมด้วยเกล็ดหนามกระจายอยู่ทั่วฝ่ามือฝ่าเท้า และมีหางคล้ายแส้ความยาวเท่าลำตัว เต่าชนิดนี้ไม่สามารถหดหัวและขาเข้าไปในกระดองได้เหมือนเต่าชนิดอื่น

ทำความรู้จัก \"เต่าปูลู\" เต่าหัวโต อกแบน มีหางสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์

 

ความพิเศษของเต่าปูลูคือ สามารถปีนป่ายโขดหินและต้นไม้ได้ มักอาศัยอยู่ตามภูเขาสูง ลำธารน้ำตก และพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ออกหากินในเวลากลางคืน และจำศีลในฤดูหนาวโดยหลบอาศัยอยู่ในซอกหิน หรือตามโพลงไม้ใต้น้ำ ช่วงจำศีลชอบปีนตอไม้ขึ้นไปอาบแดด ฤดูวางไข่ของเต่าปูลูคือช่วงปลายเดือนเมษา 

 

สำหรับเต่าปูลู ถือเป็นดัชนีที่บ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า เนื่องจากเป็นเต่าที่อาศัยอยู่ป่าต้นน้ำที่สมบูรณ์ กฎหมายจัดให้เต่าปูลูเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎกระทรวง กําหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่า คุ้มครอง พ.ศ.2546 IUCN (2011) จัดสถานภาพการอนุรักษ์ (Conservation status) เป็น สัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ (EN - Endangered) การคุ้มครองตามอนุสัญญา CITES (2011) จัดอยู่ในบัญชี 2 (Appendix II)

 

 

 

 

ที่มา : อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย - Wiang Kosai National Park 

แหล่งข้อมูล : ฐานข้อมูลสัตว์ป่าเมืองไทย กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า Wildlife Research Division