"หมอดื้อ" ชี้ "Long Covid" ผลกระทบจากโควิด-19 ที่ต้องไม่มองข้าม
"ศนพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา" ชี้ "Long Covid" ผลกระทบจากโควิด-19 ที่ต้องไม่มองข้าม หวั่นบั่นทอนคุณภาพชีวิตคนไทย
9 ก.ย. 64 ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า
ผู้ติดเชื้อ ไม่ว่าอาการหนักหรือเบา ไม่จำกัดอายุ เมื่อการติดเชื้อผ่านพ้นไป จะมีอาการเรื้อรังเกิดขึ้นได้ (subacute และ long COVID) ประมาณ อาจถึง 30% จนถึงครึ่งหนึ่ง
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- "Digital Health Pass" คืออะไร เปิดใช้แล้วบน หมอพร้อม เช็กเลยวิธีใช้งาน
- "โควิดวันนี้" ผู้ติดเชื้อกลับมาพุ่งอีก เศร้าเสียชีวิตเพิ่ม 220 ราย
- "ไทยร่วมใจ" เปิดลงทะเบียนฉีด "แอสตร้าเซนเนก้า" เข็ม 1 เริ่มลงทะเบียนวันนี้ (9 ก.ย.)
และกระทบทุกอวัยวะ สมองจะพัฒนาไม่เต็มที่ หรืออาการสมองเสื่อม แม้แต่อัมพฤกษ์ มากน้อยต่างกันออกไป
อาการเหล่านี้ จะบั่นทอนคนไทย ประสิทธิภาพ คุณภาพชึวิต และงบประมาณในการรักษาต่อเนื่องยืดยาวทับซ้อนกับผู้ที่ติดเชื้ออาการหนักลักษณะแบบเดียวกับ myalgic encephalomyelitis /chronic fatique syndrome
อาการ Long Covid
Long Covid หรือ POST-COVID SYNDROME อาจมีอาการคล้าย ๆ เดิมที่เคยเป็นตอนที่ติดเชื้อ โควิด-19 หรืออาจจะเป็นอาการใหม่ ที่ไม่เคยเป็นตอนที่ติดเชื้อเลย แน่นอนว่าผู้ติดเชื้อที่มีอาการหนักต้องนอนโรงพยาบาลนาน ๆ อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวมากกว่า แต่อาการ “Long Covid” นี้ ยังสามารถเกิดได้ในผู้ติดเชื้อที่มีอาการน้อย หรือแทบไม่มีอาการเลยก็ได้ โดยอาการที่เกิดขึ้นนั้นอาจยาวนานได้ถึง 3 เดือนขึ้นไป
อาการที่พบมักมีดังนี้
- อ่อนเพลียเรื้อรัง เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ
- ใจสั่น หายใจไม่อิ่ม รู้สึกแน่น ๆ หน้าอก
- มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ สมองไม่สดชื่น ความจำไม่ดีเหมือนเดิม
- ปวดตามข้อ รู้สึกจี๊ด ๆ ตามเนื้อตัว หรือปลายมือปลายเท้า
- รู้สึกเหมือนยังมีไข้อยู่ตลอด
- มีภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล หรือมีผลกระทบทางจิตใจหลังเผชิญสถานการณ์รุนแรง (Post-Traumatic Stress Disorder)