"บ้านล้านหลัง เฟส 2" สรุปให้ครบจบ ผ่อนกี่ปี ดอกเบี้ยเท่าไหร่ ใครกู้ได้
สรุปมาให้ เปิดอัตราดอกเบี้ยโครงการ "บ้านล้านหลัง เฟส 2" หรือระยะที่ 2 กับ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กำหนดระยะเวลายื่นคำขอกู้เงินตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน 2564
สรุปมาให้ เปิดอัตราดอกเบี้ย "โครงการบ้านล้านหลัง เฟส 2" หรือระยะที่ 2 กับ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กำหนดระยะเวลายื่นคำขอกู้เงินตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน 2564 และสิ้นสุดระยะเวลาทำนิติกรรมวันที่ 30 ธันวาคม 2566 หรือเมื่อธนาคารให้สินเชื่อเต็มกรอบวงเงินของโครงการ
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- "ธอส." เผย "โครงการบ้านล้านหลัง เฟส 2" ยอดลงทะเบียนทะลุ 12,890 ราย
- เช็กด่วน วิธีลงทะเบียน "บ้านล้านหลัง เฟส 2" เริ่มวันนี้
- เปิดเงื่อนไข "บ้านล้านหลัง" เฟส 2 ผ่อนเพียง 5,000 บาทต่อเดือนเท่านั้น
ทั้งนี้ "โครงการบ้านล้านหลัง" ธนาคารสงวนสิทธิในการกําหนดระยะเวลาสิ้นสุดโครงการก่อนกําหนด หากธนาคารให้สินเชื่อเต็มวงเงินของโครงการแล้ว
วัตถุประสงค์การยื่นกู้ "โครงการบ้านล้านหลัง"
(1) เพื่อซื้อที่ดินพร้อมอาคาร หรือห้องชุด
(2) เพื่อปลูกสร้างอาคาร หรือเพื่อซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างอาคาร
(3) เพื่อซื้ออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวเนื่องเพื่อประโยชน์ในการอยู่อาศัย พร้อมกับวัตถุประสงค์ซื้อที่ดินพร้อมอาคาร หรือห้องชุด
หมายเหตุ นิยามคำว่า “อาคาร” หมายถึง บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ และอาคารพาณิชย์เพื่อที่อยู่อาศัย ยกเว้น บ้านเช่าและแฟลต
วงเงิน : วงเงินให้กู้สูงสุดไม่เกิน 1,200,000 บาทต่อราย/ต่อหลักประกัน
ระยะเวลาผ่อน : ไม่น้อยกว่า 7 ปี และไม่เกิน 40 ปี อายุผู้กู้รวมกับระยะเวลาที่ขอกู้ต้องไม่เกิน 70 ปี ยกเว้น ข้าราชการ ตุลาการ อัยการ หรืออื่น ๆ ที่มีอายุเกษียณมากกว่า 60 ปี อายุผู้กู้เมื่อรวมกับระยะเวลาที่ขอกู้ต้องไม่เกิน 75 ปี
อัตราดอกเบี้ย / ค่าธรรมเนียม
- ปีที่ 1 - ปีที่ 4 = 1.99% ต่อปี
- ปีที่ 5 - ปีที่ 7 = MRR-2.00% ต่อปี
- ปีที่ 8 จนถึงตลอดอายุสัญญากู้เงิน
- กรณีรายย่อยทั่วไป = MRR-0.75% ต่อปี
- กรณีสวัสดิการหักเงินเดือน = MRR-1.00% ต่อปี
- กรณีกู้ซื้ออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกฯ = MRR
หมายเหตุ : MRR ตามประกาศธนาคาร
ค่าธรรมเนียม
ได้รับสิทธิฟรีค่าธรรมเนียม จำนวน 4 รายการ ดังนี้
(1) ค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ (0.1% ของวงเงินกู้)
(2) ค่าประเมินราคาหลักประกัน (1,900 - 2,300 บาท)
(3) ค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม (1,000 บาทต่อราย)
(4) ค่าจดทะเบียนนิติกรรมจำนอง (1% ของวงเงินจำนอง)
คุณสมบัติ : ประชาชนทั่วไปที่มีความต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในราคาซื้อขายไม่เกิน 1,200,000 บาทต่อหน่วย โดยมุ่งเน้นกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ กลุ่มคนวัยทำงานหรือประชาชนที่กำลังเริ่มต้นสร้างครอบครัว รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุ
เอกสาร
เอกสารส่วนบุคคล
- บัตรประจำตัวประชาชน / บัตรข้าราชการ
- ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- สำเนาทะเบียนสมรส / ใบหย่า / ใบมรณะบัตร (ถ้ามี)
- สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ – สกุล (ถ้ามี)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนคู่สมรส (ถ้ามี)
เอกสารทางการเงิน
พนักงานประจำ
- ใบรับรองเงินเดือน / หนังสือผ่านสิทธิสวัสดิการ
- สลิปเงินเดือนหรือหลักฐานการรับเงินเดือนย้อนหลัง 3 เดือน
- สำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน
ผู้ประกอบอาชีพอิสระ
- สำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 12 เดือน/หลักฐานแสดงฐานะการเงินอื่นๆ (พร้อมเอกสารฉบับจริง)
- สำเนาทะเบียนการค้า/ทะเบียนบริษัท/ห้างหุ้นส่วน
- หลักฐานการเสียภาษีเงินได้
- รูปถ่ายกิจการ
- สำเนาใบประกอบวิชาชีพ
เอกสารหลักประกัน
- สำเนาสัญญาจะซื้อจะขาย / สัญญาวางมัดจำ / สัญญาเช่าซื้อการเคหะและหนังสือรับรองยอดคงเหลือ
- หลักฐานการเป็นเจ้าของบ้าน เช่น สำเนาใบคำขอ เลขหมายบ้าน สำเนา- สัญญาซื้อขายฉบับ สำนักงานที่ดิน (ทด.13 หรือ อ.ช.23)
- สำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดินฉบับกรมที่ดิน
- สำเนาโฉนดที่ดิน/น.ส.3ก./หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด (อช.2) ทุกหน้า
- ใบอนุญาตปลูกสร้าง / ต่อเติม
- แบบแปลน
- ใบประมาณการปลูกสร้าง / สัญญาว่าจ้างก่อสร้าง
- อื่น ๆ (ถ้ามี)
หมายเหตุ ** ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการขอเอกสารต่างๆ ของผู้กู้เพิ่มเติม เพื่อใช้ประกอบพิจารณาการให้สินเชื่อของธนาคาร **
ขอบคุณข้อมูลจาก ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)