ถึงแล้ว "ยาโมโนโคลนอลแอนติบอดี" มูลค่า 150 ล้านบาท เยอรมนีบริจาคให้ไทย
13 ก.ย. 2564
ถึงไทยแล้ว "ยาโมโนโคลนอลแอนติบอดี" ที่เยอรมนีบริจาคให้ประเทศไทย มูลค่า 150 ล้านบาท ใช้รักษาผู้ป่วย "โควิด-19"
ทวิตเตอร์ Georg Schmidt ของ นายเกออร์ก ชมิดท์ เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ได้โพสต์ข้อความ ระบุว่า "ยาที่บริจาคให้กับประเทศไทย สำหรับใช้ในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 มาถึงแล้ว ในวันนี้ ผมมารับโมโนโคลนอลแอนติบอดี มูลค่า 150 ล้านบาทร่วมกับ @MFAThai, กรมควบคุมโรค #DDC และ #RoyalThaiCustoms"
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- "ผู้ประกันตน" ม.33, 39, 40 รอบตกหล่น ยื่นทบทวนสิทธิ ก่อนชวดเงินเยียวยา
- นนทบุรีเปิดให้วอล์กอินฉีดวัคซีน "ซิโนฟาร์ม" ฟรีเช็กรายละเอียดที่นี่
- "ข่าวปลอม" หยุดแชร์ "ฟ้าทะลายโจร" ตราย่าจันทร์ อย.อนุญาตกินต้าน โควิด-19 ได้
- สำหรับยา Monoclonal antibody (โมโนโคลนอลแอนติบอดี) คือ แอนติบอดีที่สร้างจากเซลล์เม็ดเลือดขาว ที่ออกแบบมาให้มีความจำเพาะต่อความต้องการโมโนโคลนอลแอนติบอดี ที่ใช้รักษาโควิด-19 มีทั้งแบบผสม และไม่ผสม
- ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) อนุมัติการใช้ยาแอนติบอดีแบบผสม รักษาผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แบบมีเงื่อนไข ภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉิน เช่นเดียวกับอีกหลายประเทศ
- โดยยาแอนติบอดีแบบผสม เป็นแอนติบอดีชนิดโมโนโคลนอล 2 ชนิด คือ แอนติบอดีที่สกัดจากหนู ซึ่งถูกดัดแปลงพันธุกรรมให้มีระบบภูมิคุ้มกันอย่างมนุษย์ และแอนติบอดีที่สกัดจากผู้ที่หายป่วยจากโรคโควิด-19 เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทำให้ไวรัสอ่อนกำลังลง และยับยั้งการติดเชื้อภายในร่างกายผู้ป่วยลงได้
- ผลการวิจัยพบว่า ช่วยลดจำนวนเชื้อไวรัสในร่างกายของผู้ป่วย ลดระยะเวลาการรักษาในโรงพยาบาล และลดความเสี่ยงจากการเสียชีวิตได้ ต้องให้เร็ว ตั้งแต่ระยะแรกในการป่วย
- ใช้ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงจะมีอาการรุนแรง ผู้สูงอายุและผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน เป็นต้น
- ยังไม่มีผลการศึกษาในมนุษย์ถึงการรักษาการติดเชื้อจากสายพันธุ์ต่าง ๆ เช่น เบตา แอลฟา แกมมา และเดลตา
ที่มา : ทวิตเตอร์ Georg Schmidt
https://chulalongkornhospital.go.th/