ชุดตรวจ "โควิด-19" RT-PCR ของไทย แก้ปัญหาขาดแคลนชุดตรวจ ทดแทนการนำเข้า
ไบโอซายน์ โชว์ศักยภาพนักวิจัยไทย พัฒนาชุดตรวจโควิด แบบ RT-PCR มาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข รายแรกของไทย แก้ปัญหาขาดแคลนชุดตรวจ ลดการนำเข้า เร่งขยายกำลังผลิต รองรับผู้ป่วยใหม่
กลุ่ม บริษัท ไบโอซายน์ แอนิมัล เฮลธ์ จำกัด พัฒนาและผลิต ชุดตรวจโควิด-19 แบบ Real Time PCR เป็นรายแรกของไทย ได้รับ อนุญาติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ลดการพึ่งพา การนำเข้าจากต่างประเทศแก้ปัญหาการขาดแคลนชุดตรวจ
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- โพลชี้ อยากให้ อยาก "เปิดโรงเรียน" 25 % หนุนฉีด "วัคซีนโควิด" ทุกคน 60%
- ยื่นหนังสือ ครูหยุย ปรับร่างกม. "กระท่อม" ห้ามขายเด็กต่ำกว่า20 ปี
- 12 SME ไทยคว้า "สุดยอด SMEแห่งชาติ " ครั้งที่ 13 หนุนเข้าสู่ MAI - SET ในอนาคต
- คร.พร้อมฉีด "ไฟเซอร์" ให้ "นักเรียน" 12 ปีขึ้นไป ต้นตุลาคมนี้
- อย่าเชื่อ "สเปรย์ระงับกลิ่นปาก" พ่นคอฆ่าเชื้อ "โควิด-19" ระวังโทษคุก 1ปี
น.สพ.ธนวัฒน์ คงเจริญสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่ม บริษัท ไบโอซายน์ แอนิมัล เฮลธ์ จำกัด เปิดเผยว่า กลุ่มบริษัทฯ ประสบความสำเร็จในการพัฒนาและผลิต ชุดตรวจโควิด-19 แบบ Real Time PCR เป็นรายแรกของไทย โดยผลิตภัณฑ์ของ บริษัทฯได้รับอนุญาติจากสำนักงานคณะกรรมาการอาหารและยา ตั้งแต่เดือน กันยายน 2563 และ ได้มีการนำไปใช้ในการตรวจผู้ป่วยโควิด-19 ที่โรงพยาบาล และ ห้องแล็ปปฏิบัติการชั้นนำต่างๆ ซึ่งการที่เราสามารถผลิต ชุดตรวจโควิด-19 แบบ Real Time PCR ได้ภายในประเทศนั้น มีประโยชน์หลายด้าน อาทิ ลดการพึ่งพา การนำเข้าจากต่างประเทศ แก้ปัญหาการขาดแคลนชุดตรวจซึ่งอาจเกิดขึ้นเนื่องจากการระบาดรอบใหม่หลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น อินเดีย ในของโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา และสายพันธุ์ใหม่ คือ สายพันธุ์
ซึ่งนักวิทยาศาสตร์คาดว่าอาจจะมีความรุนแรงขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้ การผลิตชุดตรวจโควิดใน ประเทศ ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งของผู้ป่วย โรงพยาบาล และรัฐบาล อีกทั้งเป็นการทดแทนการนำเข้า และลดงบการขาดดุลการค้าอีกด้วย
น.สพ.สุชาติ วรวุฒางกูร กรรมการผู้จัดการ บริษัท โปร เทส คิท จำกัด ซี่งเป็นบริษัทในกลุ่ม ไบโอซายน์ กล่าวว่า กลุ่ม ไบโอซายน์ เป็น บริษัทฯ ที่มุ่งเน้นการวิจัย และพัฒนาชุดตรวจในสัตว์และสัตว์สู่คน โดย บริษัท โปร เทส คิท จำกัด ซี่งเป็นบริษัทย่อย ได้พัฒนาชุดตรวจโควิด-19 แบบ Real Time PCR ร่วมกับพันธมิตร คือ บริษัท อาฟเตอร์ แล็บ จำกัด เป็นรายแรกของไทยที่ได้รับใบอนุญาติจากสำนักงานคณะกรรมาการอาหารและยา ในเดือน กันยายน 2563 และมีการใช้จริงในห้องแล็ปปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ และโรงพยาบาลชั้นนำต่างๆ โดยบริษัทฯ มีกำลังการผลิตประมาณ 2.4 ล้านเทสต์ต่อปี โดยบริษัทประเมินมูลค่าธุรกิจการตรวจสอบเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยชุดตรวจ RT-PCR ประมาณ 4.5 พันล้านบาท