"ฉีดวัคซีน" แล้วแพ้ ดาวน์โหลดเอกสารยื่นคำร้องรับเงินที่นี่ เช็คเงื่อนไข
"ฉีดวัคซีน" แล้วแพ้ ดาวน์โหลดเอกสารยื่นคำร้องรับเงินที่นี่ เช็คเงื่อนไข โดยสามารถยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือได้ที่โรงพยาบาล ที่ฉีดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือ สปสช. พื้นที่ทั้ง 13 เขตทั่วประเทศ
ดาวน์โหลดเอกสารยื่นคำร้องกรณี ได้รับความเสียหาย (แพ้วัคซีน) หรือเกิดอาการไม่พึงประสงค์หลังได้รับการ "ฉีดวัคซีนโควิด-19" ที่ภาครัฐจัดให้ สามารถยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือได้ที่โรงพยาบาล ที่ฉีดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือ สปสช. พื้นที่ทั้ง 13 เขตทั่วประเทศ ภายใน 2 ปีนับตั้งแต่วันที่ทราบความเสียหาย
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ด่วน "โควิดวันนี้" พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 12,709 ราย เสียชีวิต 106
- "วัคซีนเด็ก" เช็คอาการข้างเคียง หลังฉีด "วัคซีนซิโนฟาร์ม"
-
สรุป "Antibody Cocktail" ยารักษาโควิด ต่อสู้เดลตา ข้อดี ผลข้างเคียง รู้เรื่อง
การยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือกรณี ได้รับความเสียหาย (แพ้วัคซีน) หรือเกิดอาการไม่พึงประสงค์หลังได้รับการ "ฉีดวัคซีนโควิด-19" ต้องเตรียมเอกสารดังนี้
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาใบมรณบัตร (กรณีเสียชีวิต)
- ความเห็นแพทย์ผู้ให้การรักษา พร้อมแนบแบบคำร้อง
กรณีได้รับความเสียหาย (แพ้วัคซีน) หรือเกิดอาการไม่พึงประสงค์ หลังฉีดวัคซีน
1.กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวร ช่วยเหลือไม่เกิน 400,000 บาท
2.กรณีสูญเสียอวัยวะหรือพิการ ช่วยเหลือไม่เกิน 240,000 บาท
3.กรณีเกิดภาวะเจ็บป่วยที่ต้องรับการรักษาไม่เกิน 1 แสนบาท
ดาวน์โหลดแบบคำร้องขอได้ที่นี่ (คลิก)
สอบถามเพิ่มเติม สายด่วน สปสช. 1330
คำแนะนำ
1.ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องได้แก่ ผู้รับบริการ หรือ ทายาท ผู้อุปการะ (กรณีไม่มีทายาท) ที่ให้การช่วยเหลือเกื้อกูลหรือดูแลผู้รับบริการอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานพอสมควร หรือหน่วยบริการที่ให้บริการ
2.สถานที่ยื่นคำร้อง ได้แก่ หน่วยบริการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาเขตพื้นที่
3.ระยะเวลาในการยื่นคำร้องภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ทราบความเสียหาย
4.หน่วยงานที่แจ้งผลพิจารณา : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขตพื้นที่ ที่รับผิดชอบพื้นที่ จังหวัดที่เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19
5.หากมีข้อสงสัย ติดต่อสอบถามได้ที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โทรศัพท์ 02-141-4000 เวลาราชการ โทรสาร 02-143-9730-1 หรือติดต่อสายด่วน สปสช.1300 เปิดบริการ 24 ชั่วโมง หรือ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขตพื้นที่