เด่นโซเชียล

เช็ค "ไฟเซอร์" ผลกระทบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ-เจ็บหน้าอก ต้องรักษาอย่างไร

เช็ค "ไฟเซอร์" ผลกระทบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ-เจ็บหน้าอก ต้องรักษาอย่างไร

02 พ.ย. 2564

ผู้ปกครองเช็คด่วน อาการแบบไหนเข้าข่าย "กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ" หลังนักเรียนฉีดวัคซีนไฟเซอร์ แนะติดตามอาการต่อเนื่อง 30 วัน

วันนี้ (4 ต.ค. 64) เป็นวันแรกที่กระทรวงสาธารณสุข เริ่มฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้นักเรียนตั้งแต่อายุ 12-17 ปี โดยมีเป้าหมายว่าจะต้องฉีดให้ครอบคลุมจำนวนนักเรียนที่ยื่นความประสงค์เข้ามา 3.6 ล้านคน และคนอื่นๆเพิ่มเติมอีก เพื่อให้นักเรียนสามารถกลับไปเรียนหนังสือได้ในช่วงเดือนพ.ย. นี้

เกี่ยวกับการฉีดวัคไฟเซอร์ให้เด็กดูเหมือนจะยังสร้างความกังวลให้กับหลายฝ่าย โดยเฉพาะผู้ปกครอง  เพราะวัคซีนชนิด mRNA นั้น แม้ว่าจะประสิทธิภาพต่อสู้กับโควิดกลายพันธุ์ได้สูงกว่าวัคซีนชนิดเชื้อตาย แต่ก็ยังมีผลข้างเคียงไม่น้อยเช่นกัน   การฉีดวัคซีนเด็กนั้น แน่นอนว่าหลายประเทศมีการใช้วัคซีนไฟเซอร์เป็นวัคซีนหลักสำหรับฉีดให้เด็ก แต่ประเทศไทยยังถือว่าเป็นเรื่องใหม่ และหลายคงยังกังวลเรื่องผลข้างเคียง 

สำหรับการฉีดวัคซีน "ไฟเซอร์" มีผลข้างเคียงและข้อควรระวัง 

ผลงานวิจัยในต่างประเทศ ระบุว่า ในกลุ่มเด็กที่ได้รับวัคซีนชนิด mRNA นั้น มีความเสี่ยงเล็กน้อยที่จะเกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ซึ่งพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง และมีโอกาสเกิดขึ้นหลังจากที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 ไปแล้ว โดยอาการในเบื้องต้นจะเจ็บหน้าอก หัวใจเต้นแรง ในบางรายที่อาการไม่หนักมากมักจะหายไปเอง 
ส่วนในรายที่อาการรุนแรงจะมีการวินิจฉัย และส่งต่อให้อายุรแพทย์โรคหัวใจเพื่อประเมินการทำงานของหัวใจ เพื่อทำการรักษาแบบประคับประคอง โดยการจ่ายยาต้านการอักเสบ (NsAIDs) อัตราการเกิดยาสเตียรอยด์ (Prednisolone) รวมถึงยา Colchicine ผู้ป่วยก็จะหายเป็นปกติได้เกือบทั้งหมด ทั้งนี้ในประเทศไทยมีเด็กชายที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์และเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ แต่ขณะนี้รักษาหายเป็นปกติแล้ว 
 

อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า คณะกรรมการที่ปรึกษาในโครงการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ฮ่องกง เสนอให้รัฐบาลฮ่องกง ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้เด็กอายุ 12-17 ปี เพียงเข็มเดียวเท่านั้น เพื่อลดอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เนื่องจากผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นหลังจากฉีดไฟเซอร์นั้นมีค่อนข้างสูง ดังนั้นเพื่อลดโอกาสเสี่ยงจากการเกิดภาวะหัวใจอักเสบ ประกอบกับอัตราการแพร่ระบาดในฮ่องกงยังไม่สูงนัก การฉีดวัคซีนเพียงเข็มเดียวให้คนกลุ่มนี้ก็น่าจะเพียงพอแล้ว

ด้าน ศ.นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลว่า การวัคซีนชนิด mRNA ในเด็กนั้นค่อนข้างมีความเสี่ยงสูงมากกว่าการฉีดวัคซีนชนิดเชื้อตาย ถึงแม้ว่าจะมีรายงานออกมาอัตราการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบมีน้อยมาก แต่การฉีดวัคซีนในเด็ก ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก และแม้ว่าอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจะสามารถรักษาให้หายได้ แต่ก็มักจะส่งผลระยะยาวต่อการใช้ชีวิตเช่นกัน ดังนั้นวัคซีนที่เหมาะกับกับเด็กมากกว่าจึงควรเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย แต่หากยังกังวลว่าการฉีดวัคซีนเชื้อตายทำให้ภูมิคุ้มกันขึ้นช้า และลงเร็ว เราสามารถกระตุ้นเข็มที่ 3 ด้วยวัคซีนชนิดอื่น ๆ ผ่านการฉีดเข้าใต้ชั้นผิวหนัง ก็จะได้ผลดีและปลอดภัยกับเด็กมากกว่า 

 

อาการที่ต้องเฝ้าระวังของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื้อหุ้มหัวใจอักเสบ มีดังนี้

  • แน่นหน้าอกเจ็บหน้าอก
  • หอบเหนื่อยง่าย
  • ใจสั่น
  • หมดสติเป็นลม

 

ส่วนอาการข้างเคียงที่ไม่รุนแรง ซึ่งพบได้หลังจากที่ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ไปแล้วประมาณ 1-2 วัน ดังนี้

  • มีไข้ หนาวสั่น
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • ปวดข้อต่อ
  • ท้องเสีย
  • อ่อนเพลีย
  • ปวด บวม หรือรอยแดงบริเวณที่ฉีด

 

ที่มา: กลุ่มโรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชันแนล 

 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง