เด่นโซเชียล

"วัคซีนเด็ก" เล็งฉีด "mRNA" เพียงเข็มเดียว ลดผลกระทบกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

"วัคซีนเด็ก" เล็งฉีด "mRNA" เพียงเข็มเดียว ลดผลกระทบกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

20 ก.ย. 2564

"วัคซีนเด็ก" หมอยง ชี้ เร่งทำผลวิจัย เล็งฉีด "mRNA" ให้เด็กวัยรุ่นเพียงเข็มเดียว ลดผลกระทบ การเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

"วัคซีนเด็ก" กับข้อถกเถียง ถึงความเหมาะสม โดยเฉพาะวัคซีนชนิด mRNA ที่ผลการศึกษาพบว่า เกิดความเสี่ยงโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ จนทำให้ผู้ปกครองหลายคน เกิดความลังเล สับสน ที่จะต้องเลือกวัคซีน ที่ดีที่สุดให้กับลูก

 

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ข้อมูล เรื่อง โควิด 19 ในเด็ก และการให้วัคซีน
ผ่านทางเฟซบุ๊ค ว่า

 

"โรคโควิด-19 ในเด็ก อายุ 12 -17 ปี จะมีอาการไม่มาก หรือเสียชีวิตน้อยมาก จากการศึกษาในอเมริกาช่วงการระบาด 120 วัน เด็กวัยรุ่น 1 ล้านคน ผู้ชายเสียชีวิต 2 คน ถ้าเป็นผู้หญิงเสียชีวิต 1 คน การติดเชื้อในเด็กส่วนมากจะรับเชื้อมาจากผู้ใหญ่ เช่น ผู้ปกครอง ครอบครัว ครู และบุคลากรในโรงเรียน เมื่อเด็กมารวมกันเป็นกลุ่ม จะเป็นต้นเหตุของการระบาดได้

 

\"วัคซีนเด็ก\" เล็งฉีด \"mRNA\" เพียงเข็มเดียว ลดผลกระทบกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

การให้วัคซีนในผู้ใหญ่ จึงมีความสำคัญในการป้องกันเด็ก และการให้วัคซีนในเด็กจะต้องมีความปลอดภัยสูง วัคซีน mRNA อาการข้างเคียงที่สำคัญคือ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

  • อายุน้อยพบมากกว่าผู้ที่สูงอายุ
  • เพศชายพบมากกว่าเพศหญิง
  • ส่วนใหญ่พบในเข็มที่ 2 มากกว่าเข็มแรก
  • ประเทศ อังกฤษ สวีเดน และฮ่องกง ให้ฉีดเพียงเข็มเดียว 
  • การฉีดเข็มเดียวภูมิต้านทานที่เกิดขึ้น ไม่เพียงพอ 

 

เมื่อมีวัคซีน mRNA กระทรวงสาธารณสุข ให้บุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องการ วัคซีน mRNA มีอยู่ข้อหนึ่งว่า ผู้ที่ได้รับวัคซีนชนิดใดมาก็ตาม สามารถฉีดวัคซีน pfizer เป็นเข็มที่ 2  โดยกำหนดระยะห่างตามวัคซีนเข็มแรก บุคลากรทางการแพทย์ที่ฉีดวัคซีนเชื้อตาย sinovac หรือ sinopharm แล้วฉีด pfizer เข็มที่ 2  น่าจะได้มีการรวบรวมอาการข้างเคียง ทางศูนย์ก็ยินดีที่จะตรวจภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นหลังจากการฉีดดังกล่าว เพื่อเป็นแนวทางในการใช้ในเด็กวัยรุ่น ในการให้วัคซีน mRNA เพียงเข็มเดียว เพื่อลดการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

 

ที่มา : Yong Poovorawan