ยืนยันจ่าย "เบี้ยผู้สูงอายุ" ทุกคนตามเกณฑ์เดิม ไม่มีตัดสิทธิ์ให้เฉพาะคนจน
พม. ยันไม่มีนโยบายปรับเกณฑ์จ่าย "เบี้ยผู้สูงอายุ" ระบุจ่ายเบี้ยให้ทุกคนตามเกณฑ์เดิม เล็งหาแนวทางสร้างอาชีพและรายได้ให้สูงวัยเพิ่ม
จากกรณีที่มีกระแสข่าวเกี่ยวกับการปรับลดเบี้ยผู้สูงอายุถ้วนหน้า โดยจะให้แค่คนจนเท่านั้น ส่งผลให้เกิดกระแสวิจารณ์เป็นจำนวนมาก
นางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ให้สัมภาษณ์กับคมชัดลึกออนไลน์ ว่า พม. ยังไม่มีนโยบายที่จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบ และกฎเกณฑ์การจ่ายเงินยังชีพของผู้สูงอายุ เพราะขณะนี้ประชาชนกำลังเดือดร้อนจากการกระบาดของโควิด-19 ดังนั้น พม. ยืนยันว่า ยังคงนโยบายการจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุตามเดิมไม่มีการเปลี่ยนรูปแบบใดๆ ทั้งสิ้น โดยผู้สูงอายุที่จะได้รับเบี้ยถ้วนหน้านั้น ยังคงเป็นที่มีอายุ 59 ปีบริบูรณ์ โดยนับจากวันเกิด จนถึงวันที่ 1 กันยายน 2565 และต้องไม่เคยได้รับสิทธิประโยชน์ จากหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ไม่ว่าจะเป็นเงินบำนาญ บำนาญพิเศษ เบี้ยหวัด รวมถึงเงินอื่น ๆ
ส่วนรูปแบบการจ่ายเงินยังคงเป็นการแบขั้นบันใด ดังนี้
อายุ 60 – 69 ปี จะได้รับ 600 บาท
อายุ 70 – 79 ปี จะได้รับ 700 บาท
อายุ 80 – 89 ปี จะได้รับ 800 บาท
อายุ 90 ปีขึ้นไป จะได้รับ 1,000 บาท
เบื้องต้นตามที่มีข่าวออกไปคาดว่าจะเป็นการเสนอแนวทางในที่ประชุมเท่านั้น แต่ไม่ได้มีการเห็นชอบในมติแต่อย่างใด
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- อย่าตกใจ ผส.ยัน ปรับ "เบี้ยผู้สูงอายุ" เฉพาะคนจน ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน
- โอนเงิน "เบี้ยยังชีพ" ให้คนแก่-คนพิการทั่วประเทศแล้ววันนี้
- "ศรีสุวรรณ"ชี้เบี้ยยังชีพคนชราไม่ต้องส่งคืนถ้ารับไว้โดยสุจริต ใช้หมดแล้วและขาดอายุความ
- เช็กเลยเงินเข้าวันนี้ "เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ" ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
- พักหนี้ "ผู้สูงอายุ" รัฐคืนเบี้ยยังชีพซ้ำซ้อน 4.7 ล้านคน จ่ายเงินช่วยเพิ่ม "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ"
นางพัชรี กล่าวต่อว่า พม. ยืนยันว่าไม่มีการปรับเกณฑ์แน่นอน เพราะการจ่ายเงินเบี้ยถ้วนหน้าผู้สูงอายุเป็นการดำเนินการตาม พรบ.ผู้สูงอายุ 2546 ที่ระบุว่าจะต้องให้สิทธิผู้สูงอายุในการรับเบี้ยถ้วนหน้าทุกคน อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา พม. ได้หาแนวทางส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีงานทำ และช่วยเหลือตัวเองได้ เพราะผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปยังมีศักยภาพที่สามารถทำงานได้อยู่ ดังนั้นรัฐจะต้องพิจารณาต่อว่าจะจ้างงานอย่างไร เพราะหากเข้าสังคมผู้สูงอายุจำเป็นจะต้องปรับรูปแบบขึ้นมารองรับ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ไม่เป็นภาระของลูกหลาน
เบื้องต้นอาจจะพิจารณาขยายอายุการเกษียณราชการออกไปถึงช่วงอายุ 65 ปี ด้วยการพิจารณาหาตำแหน่งอื่นให้เหมาะสม ที่ไม่ใช่ตำแหน่งบริหาร หรืออาจจะมีการตั้งกรมขึ้นมาเฉพาะ และดึงผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เข้ามาทำงานและคิดนโยบายต่าง ๆ ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะมีการหารือกับผู้เกี่ยวข้องอีกครั้ง