ปม "เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ" ไม่จบ ซัดต่อ จ่อจ่ายเฉพาะคนจน เป็นเรื่องจริง
เพจ "บำนาญแห่งชาติ" ลั่น อย่าด้อยค่าประชาชน หลังโดน ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ให้ข่าวว่าการนำเสนอปม "เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ" เป็นข้อมูลที่บิดเบือน
จากกรณีที่เพจ “บำนาญแห่งชาติ” ออกมานำเสนอข่าวให้ประชาชนช่วยกันจับตากระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ส่อแววถอยกลับจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เฉพาะคนจน แล้วทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(DE) ให้ข่าวว่า เป็นข้อมูลที่บิดเบือนนั้น (อ้างอิง: https://www.facebook.com/.../a.113638500.../590742079026636/) Anti-Fake News Center Thailand SocialMsociety (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
หยุดป้ายสีประชาชน!
เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ ผู้ทำเพจ "บำนาญแห่งชาติ" ขอเรียนชี้แจงว่า
1.สิ่งที่เพจนำเสนอข้อมูลในการประชุมการกำหนดนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ (ใหม่) ว่า “มีแนวโน้มว่า จะให้จ่ายเบี้ยยังชีพเฉพาะกลุ่มคนยากจน” เป็นข้อเท็จจริงที่มีการถกเถียงกันในที่ประชุมเมื่อวันที่ 14 กันยายน ที่ผ่านมา
2.ภาพประกอบข่าวของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทยที่ใช้โพสต์ว่าเป็นข่าวที่บิดเบือนนั้น เป็นโพสต์ที่เพจบำนาญแห่งชาตินำเสนอข้อมูลผู้สูงอายุที่ได้ลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งใช้ข้อมูลจากเว็บไซต์ของกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มาอ้างอิง โดยเข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 17 กันยายน ที่ผ่านมา หากกระทรวง DE ต้องการสื่อว่าข้อมูลที่นำเสนอนั้นบิดเบือน แปลว่าข้อมูลจากหน่วยงานของรัฐตามแหล่งอ้างอิงก็บิดเบือนเช่นกัน (ดูแหล่งข้อมูลอ้างอิงในคอมเมนท์ที่เราแค่ปมาทันก่อนที่เว็บไซต์จะปรับปรุง)
3.แม้การประชุมของคณะอนุกรรมการกำหนดนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ(ใหม่) จะยังไม่มีข้อสรุป และจะมีการหารือเพิ่มเติมกันอีกครั้งในวันพรุ่งนี้ (23 กันยายน) แต่ การเฝ้าจับตา และ แสดงความห่วงกังวล ของประชาชนต่อนโยบายของรัฐ อันจะมีผลผูกพันกับประชาชนหลายล้านคนในอนาคต ถือเป็นสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญ หากประชาชนผู้เฝ้าติดตามประเด็น “บำนาญแห่งชาติ” มาโดยตลอดกว่า 10 ปี ไม่ส่งเสียงท้วงติง อาจเป็นผลทำให้รัฐละเลยการรับฟังความคิดเห็นของคนเล็กคนน้อยผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายนั้นได้
4.กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ควรชี้แจงข้อมูลทำความเข้าใจให้กับประชาชนมากกว่าการกล่าวร้ายป้ายสี ด้อยค่าข้อมูลที่ประชาชนนำเสนอ หรือมีข้อห่วงกังวลต่อนโยบายของรัฐว่าเป็นการบิดเบือน อย่างไรก็ดี สังคมจะเจริญงอกงามทางความคิดได้ หากรัฐเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นได้อย่างหลากหลาย ไม่ใช่การแปะป้ายใส่ข้อมูลหรือข่าวอันใดที่นำเสนอไม่ตรงกับความเห็นของรัฐว่าเป็นข้อมูลที่บิดเบือน
ที่มา เพจ บำนาญแห่งชาติ
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- โอนเงิน "เบี้ยยังชีพ" ให้คนแก่-คนพิการทั่วประเทศแล้ววันนี้
- "ลิซ่า" สร้างประวัติศาสตร์ เพลง Money ขึ้นอันดับ 1 เพลงแรปขายดีสุดในอเมริกา
- "แจ็คกี้ ชาเคอลีน" อยากลง MUT2021 แต่ลงไม่ได้ จะลงนางสาวเชียงใหม่ในดวงใจแทน
- พิจิตร "ลุ้น" นาข้าวรอด ไม่รอด ห่วงรับน้ำจากจังหวัดใกล้เคียง
- น้ำท่วมไม่ลด คนเลี้ยง "แพะ" ศรีสำโรง เดือดร้อน
.