เด่นโซเชียล

เลือกไม่ได้-หมดสิทธิเลือก "วัคซีน Pfizer" ฉีดเด็ก เสี่ยงกว่าติดโควิด 6 เท่า

เลือกไม่ได้-หมดสิทธิเลือก "วัคซีน Pfizer" ฉีดเด็ก เสี่ยงกว่าติดโควิด 6 เท่า

24 ก.ย. 2564

เลือกไม่ได้ หรือ หมดสิทธิเลือก เมื่อผลวิจัยชี้ "วัคซีน Pfizer" ไฟเซอร์ ฉีดเด็กชาย เสี่ยงจากวัคซีน มากกว่าเสี่ยงจาก "โควิด" ถึง 6 เท่า

ยังคงเป็นข้อกังขา สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง ในการเลือกรับวัคซีนโควิด-19 ให้กับลูก ระหว่างวัคซีน mRNA กับ "วัคซีนเชื้อตาย" เมื่อทั้งหมอไทย และ ผลวิจัยจากต่างประเทศ ต่างงัดข้อมูลมาชี้ถึง ข้อดี-ข้อเสีย ของวัคซีนแต่ละชนิด ทำเอาคนเป็นพ่อเป็นแม่ที่ต้องการเลือกวัคซีน ที่ดีที่สุด และ ปลอดภัยที่สุดให้กับลูก ถึงกับยืนงง ในดง "วัคซีน" กันเลยทีเดียว

 

และยิ่งตอกย้ำเข้าไปอีก สำหรับพ่อแม่ที่เลือกวัคซีน "Pfizer" ไฟเซอร์ เพราะล่าสุด งานวิจัยสหรัฐ ระบุว่า หัวใจผิดปกติในเด็กชาย หลังฉีดวัคซีน Pfizer พุ่งสูงมากเกินขีดยอมรับได้!  (162.2 คน ใน 1 ล้านคน) "เสี่ยงจากวัคซีน" มากกว่าเสี่ยงป่วยจากโควิด 4-6 เท่า ย้ำให้เห็นเข้าไปอีกว่า โทษมากกว่าประโยชน์
 

สรุปผลการทดลองในเด็กสุขภาพดี 

อัตราการเกิดอาการโรค "กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ" และ "โรคเยื่อหุ้มหัวใจ" หลังการฉีดวัคซีน Pfizer 2 เข็ม

เด็กชาย

  • อายุ 12-15 ปี อยู่ที่ 162.2 คน ใน 1 ล้านคน 
  • อายุ 16-17 ปี อยู่ที่ 94 คน ใน 1 ล้านคน

เด็กหญิง

  • อายุ 12-15 ปี อยู่ที่ 13.4 คน ใน 1 ล้านคน 
  • อายุ 16-17 ปี อยู่ที่ 13 คน ใน 1 ล้านคน

 

รายงานผลการศึกษาล่าสุดของ ดร.เทรซี่ ฮีก (Tracy Hoeg) จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่มีการเผยแพร่ เมื่อวันที่ 8 กันยายนที่ผ่านมา ระบุว่า จากการวิเคราะห์อาการไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับกลุ่มเด็กอายุ 12-17 ปี ในสหรัฐอเมริกาช่วง 6 เดือนแรกของปี 2564 พบว่า อัตราการเกิดอาการโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และโรคเยื่อหุ้มหัวใจ หลังการฉีดวัคซีน Pfizer 2 เข็ม ในกลุ่มเด็กชายอายุ 12-15 ปี ที่มีสุขภาพดี อยู่ที่ประมาณ 162.2 คน ใน 1 ล้านคน ในขณะที่ กลุ่มเด็กชายสุขภาพดี อายุระหว่าง 16-17 ปี อยู่ที่อัตราส่วน 
94 คน ใน 1 ล้านคน และในอัตราส่วนที่เท่า ๆ กัน 

เลือกไม่ได้-หมดสิทธิเลือก \"วัคซีน Pfizer\" ฉีดเด็ก เสี่ยงกว่าติดโควิด 6 เท่า

สำหรับกลุ่มเด็กหญิง อายุ 12-15 ปี ที่มีสุขภาพดี จะอยู่ที่ 13.4 คน ใน 1 ล้านคน ส่วนเด็กหญิง อายุระหว่าง 16-17 ปี จะอยู่ที่ 13 คน ใน 1 ล้านคน ขณะที่ อัตราการติดเชื้อในสหรัฐฯ ณ ปัจจุบัน จะทำให้เกิดความเสี่ยงที่กลุ่มวัยรุ่นที่มีสุขภาพดี อาจจะติดเชื้อโควิค-19 จนต้องถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลในอีก 120 วันข้างหน้า (หลังผลรายงานวิจัยชิ้นนี้) อยู่ที่ประมาณ 44 คน ต่อ 1 ล้านคน

 

นอกจากนี้ รายงานดังกล่าวยังพบว่า กลุ่มเด็กชายอายุ 12-15 ปี ที่ไม่มีโรคประจำตัว มีโอกาสที่จะเกิดอาการ "โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ" และ "โรคเยื่อหุ้มหัวใจ" หลังได้รับวัคซีน mRNA ครบ 2 เข็มมากกว่าโอกาสที่จะมีอาการเจ็บป่วย จนเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล จากการติดเชื้อโควิค-19 มากถึง 4-6 เท่า ในช่วงระยะเวลานับจาก 4 เดือนที่ผ่านมา โดยเด็กส่วนใหญ่ที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้ยากนี้ จะเกิดอาการภายในไม่กี่วัน หลังได้รับวัคซีน mRNA เข็มที่ 2 และในจำนวนนี้ ซึ่งเกือบ 86% เป็นเด็กชาย ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล

 

เลือกไม่ได้-หมดสิทธิเลือก \"วัคซีน Pfizer\" ฉีดเด็ก เสี่ยงกว่าติดโควิด 6 เท่า

สอดรับกับข้อมูลที่ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ บอกกับ"คมชัดลึกออนไลน์" ว่า การเลือกวัคซีนให้เด็ก ความปลอดภัยสำคัญที่สุด วัคซีนชนิด mRNA ถึงแม้จะมีประสิทธิภาพมากกว่าวัคซีนเชื้อตาย แต่การเกิด "โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ" กลับพบในเด็กที่อายุต่ำกว่า 16 ปี โดยเฉพาะเด็กผู้ชาย และผลกระทบ จะเกิดขึ้นในระยะยาว เมื่อโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ 

 

เมื่อมีฝ่ายค้าน ก็ต้องมีฝ่ายที่เห็นด้วย เมื่อ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ยังคงยืนยันว่า "วัคซีนไฟเซอร์" มีความปลอดภัย มีข้อมูลวิชาการรองรับ แต่การฉีดในเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องให้ผู้ปกครองยินยอม ซึ่งเป็นไปตามความสมัครใจ และไม่ได้นำมาเป็นข้อจำกัดไม่ให้เด็กไปโรงเรียน โดย "วัคซีนไฟเซอร์" ล็อตแรก จะมาถึงวันที่ 29 กันยายนนี้ 

 

สุดท้ายแล้ว ขึ้นอยู่กับผู้ปกครอง ที่จะใช้วิจารณญาณ ในการเลือกสิ่งที่ดีที่สุด ให้กับลูกของตัวเอง ซึ่งก็ไม่รู้ว่า วัคซีนที่เลือกใช้ เป็นวัคซีนที่ " เลือกไม่ได้ หรือ ไม่มีสิทธิเลือก"  กันแน่

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง