เด่นโซเชียล

"ลงทะเบียนว่างงาน" เช็คขั้นตอน รับเงินเยียวยา ตกงานช่วงโควิด-19

"ลงทะเบียนว่างงาน" เช็คขั้นตอน รับเงินเยียวยา ตกงานช่วงโควิด-19

09 ต.ค. 2564

"ลงทะเบียนว่างงาน" ผู้ประกันตนมาตรา 33 ตกงานช่วงโควิด-19 เช็คขั้นตอน และเงื่อนไข รับเงินเยียวยาช่วยเหลือได้ที่นี่

เช็กสิทธิผู้ประกันตน ผู้ประกันตนมาตรา 33 สำนักงานประกันสังคม เร่งอนุมัติสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน เพื่อช่วยเหลือผู้ประกันตนมาตรา 33 โดยผู้ประกันตนที่มีสิทธิ ต้องส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือนใน 15 เดือนย้อนหลัง ก่อนวันที่ว่างงาน ซึ่งมีรายละเอียดต่างกันไปในแต่ละกรณี


เงื่อนไขแบบไหนประกันสังคมดูแล

 

  • ว่างงานจากเหตุสุดวิสัย  รับเงิน 50% ของค่าจ้าง (รายวัน) ไม่เกิน 90 วัน
  • ถูกเลิกจ้าง รับเงิน 70% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 200 วัน/ปีปฎิทิน
  • ลาออก-สิ้นสุดสัญญา รับเงิน 45% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน/ปีปฎิทิน

 

อัตรานี้บังคับใช้ 2 ปี มีผลตั้งแต่ 1 มี.ค.2563 ถึง 28 ก.พ.2565(ต้องส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือน ใน 15 เดือนย้อนหลัง ก่อนวันที่ว่างงาน)

 

ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.2565 กลับมาใช้ในอัตราเดิม 

  • กรณีเลิกจ้าง จ่าย 50% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 180 วัน
  • กรณีลาออก จ่าย 30% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน

 

\"ลงทะเบียนว่างงาน\" เช็คขั้นตอน รับเงินเยียวยา ตกงานช่วงโควิด-19

ช่องทางการขึ้นทะเบียนผู้ว่างงาน

 

  1. เข้า website https://e-service.doe.go.th 
  2. กดปุ่มเข้าสู่ระบบ (เมนูด้านขวามือ)
  3. เลือกบุคคลธรรมดา
  4. กดปุ่มเข้าใช้งานระบบ/ลงทะเบียน

4.1 สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนครั้งแรก ลงทะเบียน เพื่อให้ได้ ชื่อบัญชีผู้ใช้งาน / รหัสผ่าน เพื่อนำไปใช้ในการเข้าระบบครั้งถัดไป
4.2 สำหรับผู้ที่มี ชื่อบัญชีผู้ใช้งาน / รหัสผ่าน และที่ได้ลงทะเบียนตามข้อ 1 แล้ว กดปุ่มขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน
 

5. เลือกเมนูขึ้นทะเบียน (สำหรับผู้ประกันตนที่ยังไม่เคยขึ้นทะเบียนก่อนหน้า), เลือกเมนูรายงานตัว (สำหรับผู้ประกันตนที่ขึ้นทะเบียนแล้ว)

 

หลักฐานที่ต้องใช้เพื่อขอรับเงินทดแทนกรณีว่างงาน

 

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7)
  2. หนังสือรับรองการออกจากงาน หรือสำเนาแบบแจ้งการลาออกจากงานของผู้ประกันตนออกจากงานของผู้ประกันตน (สปส. 6 -09) กรณีที่ไม่มีสำเนา สปส.6-09 ก็สามารถไปขึ้นทะเบียนกรณีว่างงานได้
  3. หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างให้ออกจากงาน (ถ้ามี)
  4. หนังสือรับรองการขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน เนื่องจากเหตุสุดวิสัยกรณีเป็นผู้ประกันตนกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย
  5. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน ดังนี้
  • ธนาคารกรุงไทย
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
  • ธนาคารกรุงเทพ
  • ธนาคารไทยพาณิชย์
  • ธนาคารกสิกรไทย
  • ธนาคารทหารไทย
  • ธนาคารธนชาต
  • ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย
  • ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
  • ธนาคารออมสิน
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

 

อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ลูกจ้างผู้ประกันตนว่างงาน ยังคงสามารถใช้สิทธิประกันสังคมในการรักษาพยาบาลต่อไปได้อีก 6 เดือน ซึ่งหลังจากนี้ ในกรณีที่ยังไม่ได้เริ่มงานใหม่ ผู้ประกันตน สามารถขึ้นทะเบียนสมัครประกันสังคมในมาตรา 39 หรือ มาตรา 40 ก็ได้

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง