จับตา "สถานการณ์น้ำ" 3 เขื่อนหลักมีปริมาณน้ำมากเฝ้าระวังท้ายเขื่อน
"กรมชลประทาน" เฝ้าระวัง "สถานการณ์น้ำ" 3 เขื่อนหลักเจ้าพระยา-ป่าสักชลสิทธิ์-พระราม6 ปริมาณน้ำไหลผ่านจำนวนมากหวั่นกระทบพื้นที่ท้ายเขื่อน
จากอิทธิพลของร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคกลาง ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ในช่วงวันที่ 22 - 24 กันยายน 2564 และการคาดหมายของกรมอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 28 กันยายน – 2 ตุลาคม 2564 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงพาดผ่านภาคกลางตอนล่างและภาคใต้ตอนบน ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่งในภาคกลางตอนล่าง และภาคใต้ตอนบน และส่งผลให้เกิดน้ำหลากในพื้นที่ดังกล่าวได้
โดยกรมชลประทานได้รายงาน "สถานการณ์น้ำ" ในเขื่อนหลักประจำวันที่ 30 กันยายน 2564 ดังนี้
เขื่อนเจ้าพระยา บริเวณ จ. นครสวรรค์-จ.สิงห์บุรี-จ.อ่างทอง-จ.พระนครศรีอยุธยา
สถานีC.2 อ.เมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ ปริมาณน้ำไหลผ่านรายชั่วโมงอยู่ที่ 2,674 ลบ.ม./วินาที ระดับตลิ่ง 26.20 ม. ความจุฯ 3,590.00 ลบ.ม./วินาที
สถานี C.13 อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ปริมาณน้ำไหลผ่านรายชั่วโมงอยู่ที่ 2,775.00 ลบ.ม./วินาที ระดับตลิ่ง 16.34 ม. ความจุฯ 2,840.00 ลบม./วินาที
สถานี C.3 อ.เมืองสิงห์บุรี จ.สิงห์บุรี ปริมาณน้ำไหลผ่านรายชั่วโมงอยู่ที่ 2,565.00ลบ.ม./วินาที ระดับตลิ่ง 13.40 ม. ความจุฯ 2,900.00 ลบม./วินาที
สถานี C.7A อ.เมืองอ่างทอง จ.อ่างทอง ปริมาณน้ำไหลผ่านรายชั่วโมงอยู่ที่ 2,490.00 ลบ.ม./วินาที ระดับตลิ่ง 10.00 ม. ความจุฯ 2,800 ลบม./วินาที
สถานี C.35 อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ปริมาณน้ำไหลผ่านรายชั่วโมงอยู่ที่ 1,341.00 ลบ.ม./วินาที ระดับตลิ่ง 4.58 ม. ความจุฯ 1,179.00 ลบม./วินาที
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ -อ.แก่งคอย-จ.สระบุรี-เขื่อนพระรามหก-จ.พระนครศรีอยุธยา
สถานี S.28 อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี ปริมาณน้ำไหลผ่านรายชั่วโมงอยู่ที่ 1,229.00 ลบ.ม./วินาที ระดับตลิ่ง 31.46 ม. ความจุฯ 1,300.00 ลบม./วินาที
สถานีS.9 อ.แก่งคอย จ.สระบุรี ปริมาณน้ำไหลผ่านรายชั่วโมงอยู่ที่ 1,049.00 ลบ.ม./วินาที ระดับตลิ่ง 22.56 ม. ความจุฯ1,740.00 ลบม./วินาที
สถานี S.32 อ.เมืองสระบุรี จ.สระบุรี ระดับตลิ่ง 212.80 ม. ความจุฯ 1,555.00 ลบม./วินาที
เขื่อนพระราม6
สถานี S.26 อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา ปริมาณน้ำไหลผ่านรายชั่วโมงอยู่ที่ 751.00 ลบ.ม./วินาที ระดับตลิ่ง 8.00 ม. ความจุฯ 800.00 ลบม./วินาที
สถานีS.5 อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ระดับตลิ่ง 4.70 ม. ความจุฯ 1,400.00 ลบม./วินาที
ส่งผลให้ระดับน้ำตั้งแต่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันประมาณ 1.20 - 2.40 เมตร และท้ายเขื่อนพระรามหกเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันประมาณ 2.30 - 2.80 เมตร ในช่วงวันที่ 1 – 5 ตุลาคม 2564 ดังนี้
1.จังหวัดชัยนาท แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณตำบลโพนางดำออก และตำบลโพนางดำตก อำเภอสรรพยา
2.จังหวัดสิงห์บุรี แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณวัดเสือข้าม วัดสิงห์ อำเภออินทร์บุรี อำเภอเมืองสิงห์บุรี และอำเภอพรหมบุรี
3.จังหวัดอ่างทอง คลองโผงเผง และแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณวัดไชโย อำเภอไชโย และอำเภอป่าโมก
4.จังหวัดลพบุรี ริมสองฝั่งแม่น้ำป่าสัก บริเวณอำเภอพัฒนานิคม
5.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บริเวณคลองบางบาล และริมแม่น้ำน้อย บริเวณตำบลหัวเวียง
อำเภอเสนา ตำบลลาดชิด ตำบลท่าดินแดง อำเภอหักไห่ และริมสองฝั่งแม่น้ำป่าสัก อำเภอท่าเรือ และอำเภอนครหลวง อำเภอพระนครศรีอยุธยาจรดแม่น้ำเจ้าพระยา
6.จังหวัดสระบุรี ริมสองฝั่งแม่น้ำป่าสัก อำเภอวังม่วง อำเภอแก่งคอย อำเภอเมือง อำเภอเสาไห้ และอำเภอบ้านหมอ
7.จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดนนทบุรี บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกแนวคันกั้นน้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
8.กรุงเทพมหานคร แนวคันกั้นน้ำบริเวณพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- "สถานการณ์น้ำท่วม" เหนือ-อีสาน เริ่มคลี่คลายแล้ว 7 เหลือ 23 จังหวัด ยังจับตา
- "เช็ค" สถานการณ์น้ำในแม่น้ำปราจีนบุรี เดือดร้อนจุดไหนบ้าง
- กทม.เฝ้าระวังน้ำเหนือสูงสุด หลังระดับน้ำใน "เขื่อนเจ้าพระยา" เพิ่มสูง
- จับตาระดับน้ำท้าย "เขื่อนเจ้าพระยา" เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง
- เลขธูป "เจ๊ฟองเบียร์" ส่อง "เลขเด็ด 1/10/64" มาแล้ว ให้ 3 ตัวเน้น ๆ