"พายุไลออนร็อค" เข้าไทย 11 ต.ค.นี้ อีสานตอนบนรับมือฝนตกหนักอากาศแปรปรวน
11-12 ต.ค.นี้ "พายุไลออนร็อค" จ่อเข้าใจกระทบบริเวณภาคอีสานตอนบน 5 จังหวัด อุดรธานี เลย หนองคาย หนองบัวลำภู บึงกาฬ รับมือฝนตกหนัก สภาพอากาศแปรปรวน
เพจ ติดตามลมฟ้าอากาศ พายุฝนฟ้าคะนอง โพสต์ ข้อความระบุว่า มาอัพเดท "พายุไลอ้อนร็อค" และ "หย่อมความกดอากาศต่ำ "พายุคมปาซุ" ตั้งชื่อโดยประเทศญี่ปุ่น หมายถึงกลุ่มดาววงเวียน คาดจะเข้าไทยวันที่ 13-14 ตุลาคม 2564 ทางเวียดนามตอนกลาง ส่วน "พายุไลอ้อนร็อค" ทิศทางเดิมเข้า เกาะไหหลำ เข้าเมือง วิญ เวียดนามตอนบน เฝ้าติดตามกันนะครับถ้าทิศทาง โมเดลวินดี้.com ไม่เปลี่ยนแปลง ช่วงวันที่ 12-13-14-15-16 ตุลาคม นี้ โปรดติดตามกันนะเพราะหย่อมทั้ง 2 ได้เกิดขึ้นแล้ว ทางมหาสมุทรแปซิฟิก ตอนกลางของฟิลิปปินส์
ล่าสุด ทวีกำลังขึ้นเป็น "พายุดีเปรสชั่น" ( LANNIE ชื่อที่ฟิลิปปินส์เรียก) เรียบร้อยแล้ว สำหรับ หย่อม 92W กำลังจะผ่านฟิลิปปินส์มาลงทะเลจีนใต้ พิกัดล่าสุดอยู่ที่ 10.3°N 124.8°E ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 45 กม/ชม ความกดอากาศ 1005 มล.บาร์ เคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ด้วยความเร็ว 20กม/ชม คาดว่าอีก 2 วันจะทวีกำลังขึ้นเป็นโซนร้อน คิวชื่อพายุ คือ "ไลออนร็อค" (LIONROCK ) หมายถึง ชื่อยอดเขาในฮ่องกง และเป็นพายุลูกที่ 17 ของปี 2564
ขณะที่ คุณชวลิต จันทรรัตน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) TEAMG หรือทีมกรุ๊ป ซึ่งมีประสบการณ์ความชำนาญในด้านการบริหารจัดการน้ำมากกว่า 30 ปี วิเคราะห์พายุหมายเลข 17 "ไลออนร็อค" เป็นชื่อฮ่องกงตั้ง ขึ้นฝั่งล่าช้ากว่าปกติ จากเดิม 7-9 ต.ค. แต่พายุขึ้นไปทางเหนือ อ้อมไปที่เกาะไหหลำ ก่อนจะมาขึ้นเมืองวิญ ประเทศเวียดนาม
การรวมตัวกันช้า เมื่อเข้าไทยจึงมีพลังมากพอ เพราะรวมพลังได้ใหญ่ผ่านทะเลรวบรวมความชื้นมากขึ้น โดยจะเข้าไทยที่จ.นครพนม ฝนที่นครพนม ตกหนัก 11-12 ต.ค. เช่นเดียวกับที่จ.บึงกาฬ จ.อุดรธานี แต่ไม่น่าห่วงเพราะสามารถระบายลงแม่น้ำโขง ได้เร็ว
ที่น่าเป็นห่วงคือ จ.อุดรธานี ต้องระวังให้ดีการระบายน้ำในตัวจังหวัดต้องเร่งจัดการเรื่องท่อ และเตรียมทดลงเครื่องสูบน้ำไว้ให้ดี
สำหรับ พายุหมายเลข 17 "ไลออนร็อค" จะช่วยเติมน้ำอ่างเก็บน้ำลำปาว และอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ ให้มีปริมาณน้ำมากขึ้น จากที่ปัจจุบัน ทั้ง 2 อ่างมีปริมาณน้ำกักเก็บไม่มากสำหรับ พายุไลออนร็อค นี้ มีโอกาสจะข้ามภูเขา มาถึงจ.น่าน ทำให้ฝนตกเหนือเขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนภูมิพล ซึ่งตอนนี้มีน้ำ ไม่ถึง 40% ส่วนฝน ที่ตกใต้เขื่อนลำน้ำน่าน มีพื้นที่เพียงพอที่จะรับน้ำได้ นับเป็นผลดีมากกว่าผลเสีย
ที่มา: ขอบคุณ nationtv
เพจเฟซบุ๊ก ติดตามลมฟ้าอากาศ พายุฝนฟ้าคะนอง