เด่นโซเชียล

ระวัง "สถานการณ์น้ำ" อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เสี่ยงล้นตลิ่งเร่งระบายชี-มูล

ระวัง "สถานการณ์น้ำ" อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เสี่ยงล้นตลิ่งเร่งระบายชี-มูล

14 ต.ค. 2564

อัปเดต "สถานการณ์น้ำ" อ่างเก็บน้ำหลายแห่งปริมาณน้ำสูงขึ้น เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่งเสี่ยงกระทบพื้นที่ท้ายเขื่อน เร่งระบายน้ำชี-มูล ลงแม่น้ำโขงลดวามเดือดร้อนประชาชน

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้ประเมินและวิเคราะห์ สถานการณ์น้ำ จากฝนคาดการณ์ (ONE MAP) ของกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังดินถล่มและน้ำป่าไหลหลากของกรมทรัพยากรน้ำ และกรมทรัพยากรธรณี ซึ่งได้ประกาศพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงอุทกภัย ในช่วงวันที่ 11 – 16 ตุลาคม 2564  ตามประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 22/2564 เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2564 ทั้งนี้ จึงขอเน้นย้ำยังคงให้ติดตามสถานการณ์ซึ่งยังมีพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวัง ในช่วงวันที่ 13 – 20 ตุลาคม 2564 ดังนี้


1. เฝ้าระวังน้ำหลาก ดินถล่ม บริเวณภาคตะวันออก จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี และตราด ภาคตะวันตก จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี และเพชรบุรี ภาคใต้ จังหวัดระนอง และพังงา


2. เฝ้าระวังระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำล้น กระทบพื้นที่บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดนครราชสีมา สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ และสกลนคร) ภาคตะวันออก (จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด) ภาคกลาง (จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี และสระบุรี) ภาคตะวันตก (จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี และเพชรบุรี)


3. เฝ้าระวังระดับน้ำล้นตลิ่ง และสถานการณ์น้ำท่วมขังบริเวณที่ลุ่มต่ำมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณแม่น้ำมูล อำเภอประโคนชัย อำเภอสตึก และอำเภอคูเมือง  จังหวัดบุรีรัมย์ อำเภอชุมพลบุรี และอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ อำเภอเมืองศรีสะเกษ และอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
  •  ภาคกลาง บริเวณแม่น้ำป่าสัก อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี แม่น้ำลพบุรี อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี แม่น้ำท่าจีน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี 
     

สถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำชี ในพื้นที่ต่างๆ มีดังนี้

  • จ.ชัยภูมิ ระดับน้ำที่ท่วมขังในตัวเมืองชัยภูมิ กลับเข้าสู่ระดับตลิ่งแล้วเหลือเพียงพื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณจุดลำปะทาว บรรจบแม่น้ำชี และรอบๆ บึงละหาน ขนานแม่น้ำมาตลอดความยาวแม่น้ำชี คาดว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติในเร็ววันนี้
  • จ.ขอนแก่น ในเขตตัวเมืองขอนแก่น ระดับน้ำยังสูงกว่าตลิ่ง 1.11 เมตร มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง 
  • จ.มหาสารคาม ในเขตโกสุมพิสัย  ปัจจุบันระดับน้ำยังสูงกว่าตลิ่ง 1.25 เมตร 
  • จ.ร้อยเอ็ด ปัจจุบันระดับน้ำเริ่มขึ้นสูงกว่าตลิ่ง 0.86 เมตร คาดว่าระดับน้ำจะสูงสุดในวันที่ 23 ต.ค. 64 นี้ จ.อุบลราชธานี คาดการณ์ประเมินปริมาณน้ำจากแม่น้ำชีผ่านอ.เขื่องใน จะไปบรรจบลงแม่น้ำมูล ที่อ.เมืองอุบลราชธานี ประมาณ 900 - 1,000 ลบ.ม./วินาที 

เว็บไซต์ คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ รายการสถานการณ์ปริมาณน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง และลุ่มน้ำชี-มูล โดยหลายแห่งเริ่มมีปริมาณน้ำล้นตลิ่ง 

ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง

คลองบางบาล ต.ไทรน้อย  อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา น้ำล้นตลิ่งระดับน้ำอยู่ที่ 8.38 ม.รทก.
สถานีเมืองลพบุรี  ต.โพธิ์เก้าต้น อ.เมือง จ.ลพบุรี น้ำล้นตลิ่ง ระดับน้ำอยู่ที่  6.84 ม.รทก.