เด่นโซเชียล

ก.แรงงาน เร่ง "เยียวยาลูกจ้าง" เคส บึ้มสยองโรงงานเส้นก๋วยเตี๋ยว

ก.แรงงาน เร่ง "เยียวยาลูกจ้าง" เคส บึ้มสยองโรงงานเส้นก๋วยเตี๋ยว

26 ต.ค. 2564

กระทรวงแรงงานห่วงใยลูกจ้าง โรงงานเส้นหมี่ ตราพระอาทิตย์ จังหวัดฉะเชิงเทรา พร้อมกำชับเจ้าหน้าที่ในสังกัดช่วยเหลือ "เยียวยาลูกจ้าง" ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย

"กระทรวงแรงงาน" ห่วงใยลูกจ้าง โรงงานเส้นหมี่ ตราพระอาทิตย์ จังหวัดฉะเชิงเทรา พร้อมกำชับเจ้าหน้าที่ในสังกัดช่วยเหลือ "เยียวยาลูกจ้าง" ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายพึงมี

 

 

 

วันนี้ (26 ตุลาคม ) นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กรณีเหตุเตาบอยเลอร์สำหรับต้มน้ำเพื่อใช้ไอน้ำนึ่งเส้นก๋วยเตี๋ยวระเบิด ณ โรงงานเส้นหมี่ ตราพระอาทิตย์ เลขที่ตั้ง 5/1 ม.9 ต.ปากน้ำ อ.บางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา มีลูกจ้างจำนวน 28 ราย เป็นชาวกัมพูชา 13 คน ชาวเมียนมา 6 คน และคนไทย 9 คน ตนเองรู้สึกไม่สบายใจกับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจนทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย ชื่อ นายทองแก้ว อายุ 25 ปี ชาวกัมพูชาสาเหตุการเสียชีวิตเกิดจากเตาบอยเล่อร์เกิดระเบิดทำให้ช่วงท้ายของเตาฉีกขาดพุ่งออกจากจุดติดตั้งชนลูกจ้างจนเสียชีวิตทันที ณ จุดเกิดเหตุ และมีลูกจ้างบาดเจ็บอีก 1 ราย จึงขอแสดงความเสียใจกับญาติของผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ

 

 

 

ก.แรงงาน เร่ง \"เยียวยาลูกจ้าง\" เคส บึ้มสยองโรงงานเส้นก๋วยเตี๋ยว

จากเหตุเตาบอยเลอร์สำหรับต้มน้ำระเบิดนี้ จึงสั่งการให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานเข้าไปให้ความช่วยเหลือ โดยในเบื้องต้นพนักงานตรวจความปลอดภัย ในการทำงานและพนักงานตรวจแรงงาน ได้เข้าตรวจสอบพื้นที่ดูแลในเรื่องสภาพความปลอดภัยของ สถานประกอบกิจการ

 

 

รวมทั้งกำชับให้คุ้มครองดูแลผลกระทบต่อลูกจ้างที่อาจต้องหยุดการทำงานชั่วคราวหรือถูกเลิกจ้าง ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ถูกต้องตามกฎหมาย สำนักงานประกันสังคมให้ดูแลในเรื่องสิทธิประโยนช์ของลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนให้ได้รับสินไหมทดแทนกรณีเสียชีวิต และได้รับการรักษาพยาบาลสำหรับผู้บาดเจ็บ กรมการจัดหางานให้ดูแลหาตำแหน่งงานรองรับกรณีหากสถานประกอบกิจการไม่สามารถดำเนินกิจการได้ต่อไป ให้ลูกจ้างได้มีงานทำอย่างต่อเนื่อง

 

 

 

ก.แรงงาน เร่ง \"เยียวยาลูกจ้าง\" เคส บึ้มสยองโรงงานเส้นก๋วยเตี๋ยว

 

 

 

นายนิยม สองแก้ว อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วงที่ผ่านมามีอุบัติเหตุในสถานประกอบกิจการเกิดขึ้นอยู่เสมอ จึงขอความร่วมมือนายจ้าง ลูกจ้าง ในสถานประกอบกิจการ ตรวจสอบเครื่องจักร อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกปี หากพบว่าชำรุดต้องซ่อมแซมทันที รวมทั้งปิดเครื่องจักร อุปกรณ์ไฟฟ้าและระบบต่าง ๆ ที่ไม่ได้ทำงานให้เรียบร้อย เพื่อจะได้ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุได้

 

 

และจากอุบัติเหตุในครั้งนี้ได้มอบให้สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดฉะเชิงเทรา และศูนย์ความปลอดภัยในการทำงานเขต 10 เข้าตรวจสอบเบื้องต้น พร้อมทั้งเชิญนายจ้างเข้าพบเพื่อให้ข้อเท็จจริงเพิ่มเติม ซึ่งนายจ้างพร้อมเข้าพบในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2564 โดยจะสอบข้อเท็จจริงว่าสถานประกอบกิจการได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2564 หรือไม่ หากนายจ้างไม่ปฏิบัติตามก็จะดำเนินคดีต่อไป พร้อมทั้งดูแลสิทธิประโยชน์ที่ลูกจ้างพึงได้

 

 

 

ก.แรงงาน เร่ง \"เยียวยาลูกจ้าง\" เคส บึ้มสยองโรงงานเส้นก๋วยเตี๋ยว