ย้ำ "เงินฝากเผื่อเรียกพิเศษ" ออมสิน ออกเงินฝากดอกเบี้ยสูง รีบเช็คด่วน
23 พ.ย. 2564
"เงินฝากเผื่อเรียกพิเศษ" ธนาคารออมสิน ออกเงินฝากเอาใจสายชอบออม ด้วยดอกเบี้ยเงินฝากสูง ไม่หักภาษี เตรียมส่งเสริมการออมช่วงท้ายปี
"เงินฝากเผื่อเรียกพิเศษ" ของธนาคารออมสิน ออกเงินฝากใหม่สำหรับสายออมเงินและอยากได้ดอกเบี้ยสูงกว่าปกติ! ต้อง "เงินฝากเผื่อเรียกพิเศษ" เลย
"เงินฝากเผื่อเรียกพิเศษ" มีจุดเด่นอย่างไร?
- การเก็บเงินไว้ใช้ทั่วไป เพื่อเป็นผลตอบแทน, หลักประกัน และเงินสำรองในอนาคต
- ถอนเท่าไหร่ก็ได้
- คำนวณดอกเบี้ยเป็นรายวันจากยอดเงินฝาก
- บุคคลธรรมดา ไม่หักภาษี
เงื่อนไข "เงินฝากเผื่อเรียกพิเศษ"
- เปิดบัญชีขั้นต่ำ 10,000 บาท
- ฝากเพิ่มครั้งละไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท
- บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลประเภท ไม่จำกัดวงเงินรับฝากต่อราย
- เมื่อฝากครบ 5 เดือน นับตั้งแต่วันที่ฝาก ธนาคารจะโอนยอดเงินฝากและดอกเบี้ยเข้าบัญชี "เงินฝากเผื่อเรียกพิเศษ" ที่เป็นบัญชีคู่โอนที่ผู้ฝากแจ้งไว้
- ใช้สมุด "เงินฝากเผื่อเรียกพิเศษ" 5 เล่มเดิมมาฝากเพิ่มได้
การคำนวณและการรับดอกเบี้ย "เงินฝากเผื่อเรียกพิเศษ
1.อัตราดอกเบี้ย (เงินฝากเรียกพิเศษ 5)
- บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลไม่แสดงหากำไร ร้อยละ 0.425 ต่อปี
- นิติบุคคลทั่วไป ร้อยละ 0.325 ต่อปี
- ส่วนราชการ ร้อยละ 0.325 ต่อปี
- รัฐวิสาหกิจและองค์การของรัฐ ร้อยละ 0.325 ต่อปี
- สถาบันการเงิน ร้อยละ 0.325 ต่อปี
- สหกรณ์ออมทรัพย์ และสหกรณ์การเกษตร ร้อยละ 0.325 ต่อปี
2.อัตราดอกเบี้ย (เงินฝากเรียกพิเศษ 8)
- บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลไม่แสดงหากำไร ร้อยละ 0.475 ต่อปี
- นิติบุคคลทั่วไป ร้อยละ 0.375 ต่อปี
- ส่วนราชการ ร้อยละ 0.375 ต่อปี
- รัฐวิสาหกิจและองค์การของรัฐ ร้อยละ 0.375 ต่อปี
- สถาบันการเงิน ร้อยละ 0.375 ต่อปี
- สหกรณ์ออมทรัพย์ และสหกรณ์การเกษตร ร้อยละ 0.375 ต่อปี
2.คำนวณดอกเบี้ยเป็นรายวันจากยอดเงินฝาก
- ลงรับดอกเบี้ยเมื่อครบกำหนดระยะเวลาฝาก โดยโอนเข้าบัญชีเผื่อเรียกที่เป็นบัญชีคู่โอน
ระยะเวลารับฝาก "เงินฝากเผื่อเรียกพิเศษ"
- ตั้งแต่วันที่ 1-30 พฤศจิกายน 2564
เงื่อนไขการถอน "เงินฝากเผื่อเรียกพิเศษ"
- ถอนเท่าไหร่ก็ได้
- ถอนหรือปิดบัญชีก่อนครบระยะเวลาฝาก นับตั้งแต่วันที่ฝาก จำนวนเงินที่จะถอนจะได้รับดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยเงิน"เงินฝากเผื่อเรียกพิเศษ" ตามที่ธนาคารประกาศกำหนด ฯ วันถอน
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- บุคคลธรรมดาไม่หักภาษี ณ ที่จ่าย
- นิติบุคคลหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร
เมื่อครบระยะเวลาฝาก
- จะโอนดอกเบี้ยและยอด"เงินฝากเผื่อเรียกพิเศษ" ที่เป็นบัญชีคู่โอนที่ผู้ฝากแจ้งไว้