"รวมหนี้" รีไฟแนนซ์ แก้หนี้ระยะยาว ลดภาระดอกเบี้ย ผ่อนค่างวด เช็คที่นี่
เปิดมาตรการเพิ่มเติม ธปท. "รวมหนี้" รีไฟแนนซ์ แก้หนี้ระยะยาว ลดภาระดอกเบี้ยและการผ่อนค่างวด รายละเอียด เงื่อนไขโครงสร้าง เป็นอย่างไรบ้าง เช็คเลยที่นี่
"รวมหนี้" รีไฟแนนซ์ แก้หนี้ระยะยาว ธปท. ออกมาตรการเพิ่มเติมด้วยการรีไฟแนนซ์และการรวมหนี้ จากการที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกมาตรการต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (non-bank) ให้ความช่วยความเหลือลูกหนี้ได้อย่างสอดคล้องกับสภาพปัญหาและสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในแต่ละช่วงนั้น
เพื่อให้การช่วยเหลือขยายออกไปครอบคลุมกลุ่มลูกหนี้ที่มีหลักประกันประเภท สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ในวงที่กว้างขึ้น ธปท. จึงกำหนดให้มีแรงจูงใจในการสนับสนุนให้สถาบันการเงินทำการรวมหนี้ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และ สินเชื่อรายย่อยประเภทอื่น (debt consolidation) เข้าด้วยกัน เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีประวัติการชำระหนี้ดี หรือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ โควิด-19 ด้วยการนำหลักประกันของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ในการช่วยลดภาระดอกเบี้ยและค่างวดในระยะยาว
นอกจากนี้ ธปท. ได้ดำเนินการลดข้อจำกัดการทำรีไฟแนนซ์ (refinance) หนี้ เพื่อส่งเสริมการแข่งขันของสถาบันการเงินในการรวมหนี้ให้กับลูกหนี้ควบคู่ไปด้วย
การปรับโครงสร้างหนี้ด้วยวิธีรวมหนี้ คืออะไร
- การรวม สินเชื่อบ้าน กับ สินเชื่อรายย่อย เพื่อช่วยลดภาระดอกเบี้ยและการผ่อนค่างวด
รวมหนี้ในธนาคารเดียวกันและต่างธนาคารได้
- รวมหนี้บ้านและหนี้บัตรในธนาคารเดียวกัน
- โอนหนี้บัตรจากธนาคาร B ไปรวมกับหนี้บ้านของธนาคาร A หรือโอนหนี้บ้านไปรวมกับหนี้บัตรก็ได้
- โอนหนี้จากธนาคาร A และ B ไปรวมที่ธนาคาร C ก็ทำได้เช่นกัน
ประโยชน์ของการรวมหนี้
- อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อรายย่อยลดลงเมื่อนำมารวมหนี้ ลูกหนี้จะมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น
- ชำระหนี้ง่ายขึ้น เพื่อเหลือหนี้ก้อนเดียว และอัตราดอกเบี้ยเรทเดียว
- ลูกหนี้ไม่เสียประวัติข้อมูลเครดิต หากเจรจาปรับโครงสร้างหนี้สำเร็จ ตั้งแต่ก่อนเป็นหนี้เสีย
ข้อควรรู้สำหรับลูกหนี้
- ลูกหนี้สามารถรวมหนี้ได้ไม่เกินมูลค่าของหลักประกัน ทั้งนี้ หากยอดหนี้ของสินเชื่อรายย่อยสูงกว่ามูลค่าหลักประกัน สามารถขอรวมหนี้บางส่วนได้
- ลูกหนี้ต้องให้ความยินยอมเปิดเผยข้อมูลที่จำเป็น เช่น ชื่อเจ้าหนี้ ยอดหนี้คงค้าง แก่ธนาคารที่ทำการรวมหนี้
- ลูกหนี้อาจถูกพิจารณาปรับลดวงเงินส่วนที่นำไปรวมหนี้ เพื่อให้อยู่ในระดับที่ลูกหนี้สามารถบริหารจัดการได้
ทั้งนี้ คาดว่าสถาบันการเงินจะทยอยออกมาตรการได้ภายในสิ้นเดือนธันวาคม 2564
มาตรการสนับสนุนการรีไฟแนนซ์ (Refinance)
- ห้ามเรียกเก็บค่าปรับจากการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนครบกำหนด (prepayment fee) เป็นการชั่วคราว จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
- สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ
- สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ
สินเชื่อที่เข้าข่ายการห้ามเรียกเก็บค่าปรับจากการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนครบกำหนด
- สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ (ห้ามเรียกเก็บจนถึง 31 ธันวาคม 2566)
- สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ (ห้ามเรียกเก็บจนถึง 31 ธันวาคม 2566)
- สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (ห้ามเรียกเก็บหลังจาก 3 ปีไปแล้ว*)
- สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ (ห้ามเรียกเก็บ)
- สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล (ห้ามเรียกเก็บ)
- สินเชื่ออุปโภคบริโภค เช่น สินเชื่อสวัสดิการ สินเชื่อที่มีหลักประกันอื่น ๆ (ห้ามเรียกเก็บ)
* เรียกเก็บค่าปรับไถ่ถอนสินเชื่อก่อนครบกำหนดได้ กรณีลูกค้าเลือกทำสัญญาสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่มีเงื่อนไข ดังนี้
- กำหนดอัตราดอกเบี้ยลอยตัวตั้งแต่แรก หรือ กำหนดอัตราดอกเบี้ยแบบผสมระหว่างดอกเบี้ยลอยตัวและดอกเบี้ยคงที่ ซึ่งต้องการไฟแนนซ์ไปสถาบันการเงินอื่น ภายในช่วง 3 ปีแรกนับจากวันทำสัญญา และ
- กำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่และลูกค้าประสงค์ไก่ถอนสินเชื่อก่อนครบรอบเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย (เปลี่ยนทุก 3 ปี หรือ 5 ปี) หรือกรณีที่ลูกค้าประสงค์จะขอเปลี่ยนไปใช้สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยลอยตัวก่อนครบรอบสัญญาที่กล่าว