เด่นโซเชียล

"ค่าล่วงเวลา" ต้องจ่าย OT หรือไม่ นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานเกินวันละ 8 ชั่วโมง

"ค่าล่วงเวลา" ต้องจ่าย OT หรือไม่ นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานเกินวันละ 8 ชั่วโมง

28 พ.ย. 2564

กฎหมายแรงงาน รองศาสตราจารย์ ตรีเนตร สาระพงษ์ ไขข้อข้องใจ "ค่าล่วงเวลา" หรือ OT ต้องจ่ายหรือไม่ นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานเกินวันละ 8 ชั่วโมง เปิดหลักกฎหมายเวลาทำงาน อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 8822-8823/2556

 

ไขข้อข้องใจ "ค่าล่วงเวลา" หรือ OT เพจ กฎหมายแรงงาน รองศาสตราจารย์ ตรีเนตร สาระพงษ์ ให้ความรู้อ้างอิง คำพิพากษาฎีกาที่ 8822-8823/2556 กรณี นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานเกินวันละ 8 ชั่วโมง ต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้าง โดยหลักกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องเวลาทำงานมีดังนี้

 

 

 

 

  1. กฎหมายห้ามมิให้นายจ้างประกาศเวลาทำงานเกินวันละ 8 ชั่วโมง สัปดาห์หนึ่งไม่เกิน 48 ชั่วโมง มีข้อยกเว้นบ้างกรณีงานตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
  2. ถ้าทำเกินวันละ 8 ชั่วโมง ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน เป็นคราว ๆ ไป
  3. คดีนี้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในเวลาทำงานปกติตั้งแต่ 07.30 - 20.00 น. เป็นการทำงานวันละ 12.50 ชั่วโมง เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดคือวันละ 8 ชั่วโมง
  4. ต้องถือว่านายจ้างให้ลูกจ้างทำงานเกินกว่าเวลาทำงานปกติที่กฎหมายอนุญาต ลูกจ้างจึงมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาไม่น้อยกว่า 1.5 เท่า ของค่าจ้างปกติรายชั่วโมง และค่าล่วงเวลาในวันหยุดไม่น้อยกว่า 3 เท่า ของค่าจ้างต่อชั่วโมง
  5. คดีนี้ลูกจ้างมาฟ้องหลังจากเลิกจ้างแล้วก็สามารถทำได้ (แต่ระวังอย่างนานเกินเพราะจะขาดอายุความ)
  6. คดีนี้นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าล่วงเวลา (ชนิดแทบล้มละลายกันเลยทีเดียว) เพราะศาลให้คำนวณว่าทำงานเกินวันละ 8 ชั่วโมงมากี่วัน กี่เดือน กี่ปี ก็ให้นำมาคำนวณ พร้อมกับคิดดอกเบี้ยให้ร้อยละ 15 ต่อปีอีกด้วย

 

 

 

 

กฎหมายแรงงาน, ค่าล่วงเวลา, OT, นายจ้าง, ลูกจ้าง

 

 

กฎหมายแรงงาน, ค่าล่วงเวลา, OT, นายจ้าง, ลูกจ้าง

 

 

ข้อมูล : กฎหมายแรงงาน