เด่นโซเชียล

เคาะแล้ว "ก๊าซหุงต้ม" LPG มติ กบง. บรรเทาภาระประชาชน คงราคาขายอีกแค่ 1 เดือน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กบง. พิจารณาราคาขาย "ก๊าซหุงต้ม" LPG เพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพของประชาชน ให้คงต่อไปอีกแค่ 1 เดือน แต่ให้ติดตามสถานการณ์และประสานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อพิจารณาอีกครั้ง

 

เคาะราคาแล้ว "ก๊าซหุงต้ม" ที่ กระทรวงพลังงาน วันนี้ (24 ธันวาคม 2564) การประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ที่ประชุม กบง. มีมติให้ขยายระยะเวลา คงราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นแอลพีจี LPG ซึ่งไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ 14.3758 บาทต่อกิโลกรัม โดยมีกรอบเป้าหมายเพื่อให้ราคาขายปลีก LPG อยู่ที่ประมาณ 318 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม ต่อไปอีก 1 เดือน (ตั้งแต่ 1 - 31 มกราคม 2565)

 

 

มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการ ติดตามสถานการณ์ราคา และประสานคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) เพื่อพิจารณาบริหารจัดการเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงให้สอดคล้องกับการทบทวนการกำหนดราคาก๊าซแอลพีจี LPG ต่อไป แล้วนำเสนอแนวทางการบริหารจัดการราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นแอลพีจี LPG ต่อ กบง. พิจารณาอีกครั้ง

 

 

 

 

นอกจากเคาะราคา "ก๊าซหุงต้ม" แล้ว ที่ประชุม กบง. มีมติเห็นชอบแผนการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสมาร์ทกริดของประเทศไทย ระยะปานกลาง พ.ศ. 2565 - 2574 (แผนการขับเคลื่อนฯ ระยะปานกลาง) ซึ่งเป็นแผนเพื่อขับเคลื่อนด้านสมาร์ทกริดตามกรอบแผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะของประเทศไทย พ.ศ. 2558 - 2579 โดยมีวิสัยทัศน์ (Vision) คือ

 

“ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ และการจัดการทรัพยากรในระบบจำหน่ายไฟฟ้าที่จำเป็น รองรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้ายุคใหม่ อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม”

 

เสาหลักที่ 1

 

  • การตอบสนองด้านโหลดและระบบบริหารจัดการพลังงาน (DR & EMS)

 

เสาหลักที่ 2

 

  • การพยากรณ์ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานหมุนเวียน (RE Forecast)

 

เสาหลักที่ 3

 

  • ระบบไมโครกริดและโปรซูเมอร์ (Microgrid & Prosumer)

 

เสาหลักที่ 4

 

  • ระบบกักเก็บพลังงาน (ESS)

 

เสาหลักที่ 5

 

  • การบูรณาการยานยนต์ไฟฟ้า (EV Integration) และแผนอำนวยการสนับสนุน

 

 

 

 

ทั้งนี้ แผนการขับเคลื่อนฯ ระยะปานกลาง จะมีความสำคัญและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบไฟฟ้าในอนาคต ซึ่งจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับระบบโครงข่ายไฟฟ้าของประเทศให้สามารถรองรับการเพิ่มขึ้นของพลังงานหมุนเวียน รวมถึงการใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานแบบกระจายศูนย์ (DERs) ประเภทต่าง ๆ ที่จะเติบโตตามแนวโน้มของโลก เพื่อช่วยสนับสนุนให้ประเทศไทยสามารถมุ่งไปสู่พลังงานสะอาดและลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 ตามที่นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศเจตจำนงในการประชุม COP26 และเกิดประโยชน์ในมิติของความสมดุลด้านพลังงาน (Energy Trilemma) มีความสอดคล้องกับหลักการเสริมสร้างความยั่งยืนตามยุทธศาสตร์ของด้านความมั่นคง ด้านความมั่งคั่ง และด้านความยั่งยืน อีกด้วย

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ