เช็คเลย "เนื้อวัว" นมวัว ทานประจำทำเลือดเป็นกรดเสี่ยงติดเชื้อโควิดได้ง่าย
"เนื้อวัว" นมวัว กลายเป็นประเด็นถกเถียงในโลกออนไลน์ ท่ามกลางการระบาดของ โควิดสายพันธุ์ใหม่ โอไมครอน และการพบ โควิดกลายพันธุ์ตัวใหม่ B.1640.1 งานนี้ สายเนื้อ เสี่ยงติดเชื้อ โควิด-19 ได้ง่าย จริงหรือไม่ เช็คเลย สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แจงแล้ว
"เนื้อวัว" นมวัว กลายเป็นประเด็นถกเถียงในโลกออนไลน์ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิดสายพันธุ์ใหม่ Omicron รวมทั้งข่าวการพบ โควิดกลายพันธุ์ตัวใหม่ ที่น่าจะหลบหนีภูมิคุ้มกันได้เช่นเดียวกับ โอไมครอน หรือ โอมิครอน คลัสเตอร์เล็ก ๆ ในฝรั่งเศส ชื่อว่า B.1640.1 ที่เชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศแคเมอรูนจากผู้ป่วยรายแรก ทำให้สายเนื้อสะดุดกันเลยทีเดียว หลังแชร์ว่อนเน็ต ทานเนื้อวัว นมวัว เป็นประจำทำให้เลือดเป็นกรด เสี่ยงติดเชื้อโควิดได้ง่าย
กรณีการเผยแพร่ข้อมูลว่าผู้ที่ทาน "เนื้อวัว" นมวัว เป็นประจำ ทำให้เลือดในร่างกายเป็นกรด ซึ่งเมื่อเจอกับเชื้อไวรัส โควิด-19 ทำให้เชื้อเติบโตได้เป็นอย่างดี นั้น สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวและชี้แจงว่า ความเป็นกรดด่างของเลือด ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ด้วยการรับประทานอาหารเพียงอย่างเดียว ระบบการทำงานร่างกายจะมีกลไกการควบคุมอวัยวะในร่างกายให้ทำงานได้ตามปกติ การกินอาหารที่เป็นกรดหรือด่าง จึงไม่สามารถที่จะลดหรือทำลายไวรัสโควิดในร่างกายได้
ข้อมูล "เนื้อวัว" นมวัว ที่เป็นประเด็นมีการแชร์ข้างต้น ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในการรับประทานอาหาร ซึ่งควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย ปริมาณ สัดส่วนที่เหมาะสม มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน เพียงพอ มีสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดี ร่วมกับการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียง
ดังนั้น ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจาก กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.anamai.moph.go.th หรือโทร. 02 5904000
บทสรุปของเรื่อง "เนื้อวัว" นมวัว นี้คือ : ค่าความเป็นกรดด่างของเลือด ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ด้วยการรับประทานอาหารเพียงอย่างเดียว อีกทั้งการกินอาหารที่เป็นกรดหรือด่าง ไม่สามารถที่จะลดหรือทำลายไวรัสโควิดในร่างกายได้