เด่นโซเชียล

"google doodle" กูเกิล ดูเดิล ร่วมรำลึกวันเกิด ของ Stephen Hawking

"google doodle" กูเกิล ดูเดิล ร่วมรำลึกวันเกิด ของ Stephen Hawking

08 ม.ค. 2565

"google doodle" "google doodle" กูเกิล ดูเดิล ร่วมเฉลิมฉลองวันเกิดบุคคลสำคัญทางวิทยาศาสตร์ อัจฉริยะผู้ไขความลับแห่งจักรวาล อย่างสตีเฟน ฮอว์คิง (Stephen Hawking) โดยวันที่ 8 มกราคม เป็นวันคล้ายวันเกิดครบรอบ 80 ปี

 

"google doodle" กูเกิล ดูเดิล เปลี่ยนโลโก้เป็นวิดีโอฉลองวันเกิดอัจริยะผู้ไขความลับแห่งจักรวาล อย่างสตีเฟน ฮอว์คิง (Stephen Hawking) ผู้ทรงอิทธิผลคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ เป็นทั้งนักเขียน, นักจักรวาลวิทยา และนักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ อธิบายทฤษฏีการชนกันของหลุมดำจนเกิดบิ๊กแบง ในขณะที่หนังสือที่ขายดีที่สุดของเขา ทำให้ผู้อ่านหลายล้านคนทั่วโลกสามารถเข้าใจเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างกว้างขวาง

 

 

 

 

 

โดย "google doodle" กูเกิล ดูเดิล ได้จัดวิดีโอนี้ขึ้น เนื่องจาก วันที่ 8 มกราคม ในปี 1942 เป็นวันเกิดของ สตีเฟน วิลเลียม ฮอว์คิง (Stephen William Hawking) ในเมืองอ็อกซ์ฟอร์ด ของประเทศอังกฤษ ด้วยความอยากรู้อยากเห็นและสติปัญญาของเขา ทำให้เขาได้รับสมญานามว่า "ไอน์สไตน์" จากความหลงใหลในการทำงานของจักรวาลตั้งแต่อายุยังน้อย

 

ซึ่งหลังจากการพบแพทย์ในวัย 21 ปี ผลวินิจฉัยพบว่า เขาเป็นโรคทางระบบประสาท ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องเศร้าสำหรับใครหลายคน แต่สำหรับเขา กลับชีวิตของเขากลับขับเคลื่อนด้วยความสุขจาก ดนตรีของนักแต่งเพลง Richard Wagner และการสนับสนุนด้วยความรักจาก Jane Wilde ภรรยาในอนาคตของเขา ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้เขา อุทิศตนให้กับฟิสิกส์, คณิตศาสตร์ และจักรวาลวิทยา

 

 

 

 

ในปี 1965 ฮอว์คิงได้เสนอวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกของเขาที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์เรื่อง คุณสมบัติการขยายจักรวาล (Properties of Expanding Universes) ซึ่งนำเสนอทฤษฎีเกี่ยวกับการปฏิวัติที่ว่าอวกาศและเวลาเกิดขึ้นจากภาวะเอกฐาน จุดที่มีขนาดเล็กและหนาแน่นอย่างไม่สิ้นสุด ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในปัจจุบันว่า เป็นคุณลักษณะสำคัญของหลุมดำ

 

ด้วยทฤษฎีดังกล่าว ทำให้ ฮอว์คิง ได้รับการยอมรับให้เป็นนักวิจัยที่วิทยาลัย Gonville และ Caius ในเมืองเคมบริดจ์ ซึ่งเป็นบ้านวิชาการของเขาตลอดระยะเวลาของการวิจัย ความหลงใหลในหลุมดำของ ฮอว์คิง ทำให้เขาค้นพบในปี 1974 ว่าอนุภาคสามารถหลบหนีจากหลุมดำได้ ซึ่งทฤษฎีนี้เรียกว่า การแผ่รังสีของฮอว์คิง ซึ่งถือเป็นการมีส่วนสนับสนุนที่สำคัญที่สุดของเขาในด้านฟิสิกส์

 

 

และในปี 1979 ผลงานที่ก้าวล้ำของฮอว์คิง ในเรื่องหลุมดำก็ทำให้เคมบริดจ์ตัดสินใจแต่งตั้งเขาให้เป็นศาสตราจารย์ภาควิชาคณิตศาสตร์ของลูคัส ซึ่งดำรงตำแหน่งโดยไอแซก นิวตันในปี 1669

 

วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกของฮอว์คิงเผยแพร่สู่สาธารณะในปี 2017 บนเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ซึ่งได้รับการเข้าถึงเป็นอย่างมาก และนี่คือนักประดิษฐ์ทรงอิทธิพลของวงการดาราศาสตร์ ผู้ที่เปลี่ยนแปลงวิธีที่โลกเข้าใจจักรวาลมากยิ่งขึ้น ทาง "google doodle" กูเกิล ดูเดิล จึงได้เปลี่ยนโลโก้ เพื่อเป็นการให้เกียรติบุคคลอันทรงคุณค่านั่นเอง