เด่นโซเชียล

"เลื่อนนาฬิกาปลุก" เป็นประจำ อันตรายต่อสมอง จริงหรือไม่ หมอตอบแล้ว

"เลื่อนนาฬิกาปลุก" เป็นประจำ อันตรายต่อสมอง จริงหรือไม่ หมอตอบแล้ว

19 ม.ค. 2565

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ยัน พฤติกรรม "เลื่อนนาฬิกาปลุก" เป็นประจำเสี่ยงเป็น "โรคสมองเสื่อม" และ โรคหัวใจ เป็นข่าวบิดเบือน

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ยัน พฤติกรรม "เลื่อนนาฬิกาปลุก" เป็นประจำเสี่ยงเป็น "โรคสมองเสื่อม" และ โรคหัวใจ เป็นข่าวบิดเบือน

 

วันนี้ 19 ม.ค. 65 ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในประเด็นเรื่องการกด "เลื่อนนาฬิกาปลุก" บ่อยๆ เสี่ยงเป็นโรคหัวใจ และ "โรคสมองเสื่อม" ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน

กรณีที่มีการโพสต์ข้อมูลโดยระบุว่าแพทย์เตือน "เลื่อนนาฬิกาปลุก" บ่อยๆ เสี่ยงโรคหัวใจ สมองเสื่อม ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่า การกดเลื่อนนาฬิกาปลุกบ่อยๆ ไม่มีผลโดยตรงต่อความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ หรือ "โรคสมองเสื่อม" โดยปกติแล้วคนเราจะมีรอบการนอนประมาณเฉลี่ย 5-6 รอบต่อคืน กินระยะเวลาประมาณ 90-120 นาที

 

โดยมีระดับการนอน 4 ระดับคือ

  • การนอนหลับตื้นระดับ 1-2 (Non REM I-II)
  • การหลับลึก (Non REM III)
  • และการนอนหลับฝัน (REM)

 

ซึ่งในสภาวะปกติ คนเราจะตื่นในช่วงหลังจาก REM ซึ่งจะตื่นง่าย แต่หากถูกปลุกในระยะที่เป็นหลับลึก (Non REM III) ก็จะตื่นยาก ซึ่งการ "เลื่อนนาฬิกาปลุก" จะส่งผลต่อสุขนิสัยของการนอน ซึ่งจะส่งผลต่อความง่วงเหงาหาวนอนหรือความรู้สึกไม่สดชื่นในช่วงกลางวัน ปัญหาเหล่านี้สามารถจัดการได้ด้วยการปรับสุขนิสัยการนอน เข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลา การนอนหลับอย่างมีคุณภาพและสุขนิสัยที่ดี จะช่วยให้ร่างกายและการหลั่งฮอร์โมนต่าง ๆ เป็นปกติ

 

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามข้อมูลได้ที่โทร. 02 5917007