เด่นโซเชียล

อัปเดต "ประกันสังคม" มาตรา 40 วิธีสมัคร ช่องทางชำระเงินสมทบ รับประโยชน์ทดแทน

อัปเดต "ประกันสังคม" มาตรา 40 วิธีสมัคร ช่องทางชำระเงินสมทบ รับประโยชน์ทดแทน

30 ม.ค. 2565

"ประกันสังคม" อัปเดต มาตรา 40 ล่าสุด ผู้ประกันตนเช็คเลย ช่องทางชำระเงินสมทบ และช่องทางการรับประโยชน์ทดแทน วิธีสมัคร

 

สำนักงาน "ประกันสังคม" กระทรวงแรงงาน อัปเดต ช่องทางการชำระเงินสมทบ ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 และช่องทางการรับประโยชน์ทดแทนมาตรา 40 โดยการจ่ายเงินสมทบ มาตรา 40 แบบใหม่ มี 3 ทางเลือก ดังนี้

 

  • ทางเลือกที่ 1 : จ่าย 42 บาทต่อเดือน จากเดิม 70 บาท
  • ทางเลือกที่ 2 : จ่าย 60 บาทต่อเดือน จากเดิม 100 บาท
  • ทางเลือกที่ 3 : จ่าย 180 บาทต่อเดือน จากเดิม 300 บาท

 

ทั้งนี้ สำนักงานประกันสังคม ได้ลดเงินสมทบ ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 เหลือร้อยละ 60 ของเงินสมทบเดิม เป็นระยะเวลา 6 เดือนตั้งวันที่ 1 สิงหาคม 2564 - 31 มกราคม 2565

 

 

 

 

"ประกันสังคม" ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้สิทธิคุ้มครอง ดังนี้

 

  • ทางเลือก 1 : เจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต
  • ทางเลือก 2 : เจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ
  • ทางเลือก 3 : เจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ สงเคราะห์บุตร

 

ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 200 บาท ไม่เกิน 30 วัน / ปี

 

  • การรักษาพยาบาลใช้สิทธิ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) หรือ บัตรทอง 30 บาท นั่นหมายความว่า ผู้ประกันตน ตามมาตรา 40 จะใช้สิทธิบัตรทองได้เหมือนเดิม เพียงแต่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้เพิ่มขึ้นเท่านั้น

 

เงื่อนไขการรับสิทธิ กรณีประสบอันตราย / เจ็บป่วย

 

  • ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายใน 4 เดือน ก่อนประสบอันตราย / เจ็บป่วย
  • รักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป จะได้รับสิทธิวันละ 200 บาท ไม่เกิน 30 วันต่อปี

 

กรณีทุพพลภาพ

 

  • ได้รับเงินทดแทนการขาดได้ตั้งแต่ 500 - 1,000 บาท / เดือน เป็นระยะเวลา 15 ปี
  • เสียชีวิตก่อนครบ 15 ปี รับเงินค่าทำศพ 20,000 บาท

 

 

เงื่อนไขในการรับสิทธิ กรณีทุพพลภาพ

 

  • จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 6 เดือน ภายในระยะเวลา 10 เดือนก่อนทุพพลภาพ รับ 500 บาทต่อเดือน
  • จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 12 เดือน ภายในระยะเวลา 20 เดือนก่อนทุพพลภาพ รับ 650 บาทต่อเดือน
  • จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 24 เดือน ภายในระยะเวลา 40 เดือนก่อนทุพพลภาพ รับ 800 บาทต่อเดือน
  • จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 36 เดือน ภายในระยะเวลา 60 เดือนก่อนทุพพลภาพ รับ 1,000 บาทต่อเดือน

 

 

กรณีชราภาพ (รับเงินบำเหน็จ)

 

  • ได้เงินบำเหน็จพร้อมผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) คืนทั้งหมด


 

เงื่อนไขการรับสิทธิ กรณีชราภาพ

 

  • เมื่อผู้ประกันตนมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และแจ้งสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน หรือลาออก
  • ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบสามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มได้ไม่เกิน 1,000 บาท/เดือน

 

 

 

 

"ประกันสังคม" มาตรา 40 กรณีชราภาพ (รับเงินบำนาญ)

 

  • ได้รับบำนาญรายเดือนขึ้นต่ำ 600 บาท / เดือน ตลอดจนเสียชีวิต
  • กรณีจ่ายเงินสมทบไม่ถึงหลักเกณฑ์ที่จะรับเงินบำนาญ (ขั้นต่ำ) จะได้รับเงินบำเหน็จพร้อมผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) คืนทั้งหมด
  • ได้รับบำนาญแล้วเสียชีวิตภายใน 60 เดือน ทายาทได้รับเงินบำเหน็จ 10 เท่าของเงินบำนาญรายเดือน
  • กรณีทุพพลภาพก่อนได้รับบำนาญ จะมีสิทธิขอรับบำเหน็จพร้อมผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) คืน


 

เงื่อนไขการรับสิทธิ

 

  • ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินสมทบครบหลักเกณฑ์ที่จะรับเงินบำนาญ (ขั้นต่ำ) หรือจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 420 เดือน (35 ปี)
  • ผู้ประกันตนจะต้องมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน หรือลาออก
  • ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบสามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มได้ไม่เกิน 1,000 บาท / เดือน
  • ผู้ประกันตนสามารถจ่ายเงินสมทบย้อนหลังได้ไม่เกินเดือน พฤษภาคม 2555


 

เงินสงเคราะห์บุตร

 

  • ในกรณีเป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 40 ทางเลือกที่ 3 จะมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์บุตรรายเดือน ตั้งแต่บุตรแรกเกิดจนอายุ 6 ปีบริบูรณ์ คนละ 200 บาท คราวละไม่เกิน 2 คน ทั้งนี้ ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินสมทบตามที่ประกันสังคมกำหนดด้วย

 

 

เช็คประกันสังคม มาตรา 40

 

 

 

วิธีลงทะเบียนผู้ประกันตนตามมาตรา 40

 

 

 

ช่องทางการสมัครอื่น ๆ

 

  • นอกจากจะสมัครผ่านเว็บไซต์ประกันสังคมได้แล้ว สำหรับคนที่ไม่สะดวกสมัครผ่านเว็บไซต์ สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ได้ในช่องทางอื่น ๆ ดังต่อไปนี้

 

  1. สมัครด้วยตนเองที่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่
  2. สายด่วนประกันสังคม หมายเลข 1506
  3. เซเว่น-อีเลฟเว่น ทุกสาขา
  4. ธนาคาร ธ.ก.ส. ทุกสาขา
  5. บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์
  6. เครือข่ายประกันสังคมทั่วประเทศ

 

 

ช่องทางการชำระเงินสมทบ

 

  • เคาน์เตอร์ธนาคาร / หน่วยบริการ

 

  1. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  2. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  3. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
  4. เคาน์เตอร์เซอร์วิส (เซเว่น-อีเลฟเว่น)
  5. เคาน์เตอร์โลตัส
  6. ตู้บุญเติม
  7. เคาน์เตอร์บิ๊กซี
  8. เคาน์เตอร์ CenPay Powered by บุญเติม

 

 

  • หักบัญชีเงินฝากธนาคาร

 

  1. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  2. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  3. ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
  4. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  5. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
  6. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  7. ธนาคารออมสิน
  8. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

 

  • ผ่าน Mobile Application Shopee

 

 

ช่องทางการรับเงินประโยชน์ทดแทนมาตรา 40

 

  1. รับเงินด้วยตนเอง / มอบอำนาจรับเงินแทน ที่สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ
  2. รับเงินทางธนาณัติ
  3. รับเงินผ่านธนาคาร

 

  • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารออมสิน
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

 

 

ข้อมูล : สำนักงานประกันสังคม