เด่นโซเชียล

ไขข้อสงสัย คนท้องดื่ม "น้ำกระท่อม" ไม่ส่งผลต่อสุขภาพ จริงหรือมั่ว

ไขข้อสงสัย คนท้องดื่ม "น้ำกระท่อม" ไม่ส่งผลต่อสุขภาพ จริงหรือมั่ว

03 ก.พ. 2565

ตอบข้อสงสัย คุณแม่มือใหม่ สามารถดื่ม "น้ำกระท่อม" ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพและลูก จริงหรือไม่ กระทรวงสาธาณสุขตอบชัดเป็นข้อมูลเท็จ

วันนี้ 3 ก.พ. 65 ตามที่ได้มีการส่งต่อข้อความในสื่อออนไลน์ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง คนท้องสามารถดื่มน้ำกระท่อมได้ ไม่ส่งผลต่อสุขภาพหรือทารกในครรภ์ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

 

กรณีการส่งต่อข้อมูลที่ระบุว่า คนท้องสามารถดื่ม "น้ำกระท่อม" ได้ ไม่มีผลต่อทารกในครรภ์นั้น ทางทางกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้ชี้แจงถึงเรื่องดังกล่าวว่า ในประเทศไทยพบมีการใช้ใบกระท่อมมีหลายรูปแบบ เช่น บดเป็นผง ละลายน้ำดื่ม หรือเคี้ยวใบสด นิยมบริโภคโดยการเคี้ยวใบสด เคี้ยวเหลือแต่กากแล้วคายออกหรือเอาใบมาย่างให้เกรียมและตำให้ละเอียดผสมกับน้ำพริกรับประทานเป็นอาหาร

 

เพื่อให้มีแรงทำงานและสามารถทน ตากแดดอยู่กลางแจ้งได้เป็นเวลานานโดยไม่รู้สึกเหนื่อย ซึ่งเป็นการใช้แบบวิถีชุมชน และตามภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้าน ใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง แก้บิด ท้องเสีย แก้ปวดเมื่อย ทำให้นอนหลับ และระงับประสาท

 

โดยหมอพื้นบ้าน จะนำส่วนของเปลือกและ "ใบกระท่อม" มาใช้เป็นยารักษาแก้ท้องร่วง ปวดท้อง ลดอาการปวดบิดถ่ายเป็นเลือด ใช้รักษาโรคกระเพาะอาหาร โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคผิวหนัง โดยการเคี้ยวใบกระท่อมที่แกะก้านใบออก อาจกลืนหรือคายกาก แล้วดื่มน้ำตาม

ซึ่งสารเสพติดที่พบใน "ใบกระท่อม" คือ ไมทราไจนีน (Mitragynine) เป็นสารจำพวกอัลคาลอยด์ ออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง (CNS depressant) เช่นเดียวกับยาเสพติดกลุ่มเดียวกัน เช่น psilocybin LSD และ ยาบ้า

 

พบข้อมูลรายงานการศึกษาวิจัยจากการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับผลลัพธ์ของมารดาและทารกที่ได้รับ "น้ำกระท่อม" ก่อนการคลอด โดยกลุ่มมารดาที่ใช้กระท่อมระหว่างตั้งครรภ์ 6 ราย ช่วงอายุ 37-39 ปี ซึ่งมีเหตุผลการใช้ที่ต่างกันออกไป เช่น ใช้เพื่อการลดอาการปวด ลดความวิตกกังวล บรรเทาอาการถอนยากลุ่ม Opioid และใช้เพื่อมีผลคล้ายกลุ่ม Opioid จากผลการวิเคราะห์พบว่า 6 กรณีศึกษาที่ได้รับกระท่อมก่อนคลอดมีอาการแสดง

โดยมารดาและทารกมีอาการถอนยากระท่อม ซึ่งได้รับ "น้ำกระท่อม" รูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น บางรายดื่มชากระท่อม เป็นเวลา 3-4 ครั้งต่อวัน , บางรายดื่มชากระท่อมเป็นประจำทุกวัน บางรายใช้กระท่อมเป็นประจำทุกวัน ขนาด 18 – 20 กรัม ฯลฯ อาการของมารดาที่มีอาการถอนยาจากกระท่อมจะแสดงอาการวิตกกังวล ขนลุกกระสับกระส่าย เหงื่อออกมาผิดปกติ ในส่วนของทา#ใบกระท่อม

 

พบอาการขาดยาในทารก (Neonatal Abstinence Syndrome : NAS) ที่มารดาใช้สารเสพติดประเภท เฮโรอีน และกลุ่มบรรเทาอาการปวดหรือยาแก้ปวด ซึ่งมีอาการหายใจหอบ เร็ว ถ่ายเหลว อาเจีย ตัวสั่น เกร็ง เป็นต้น ทั้งนี้มีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดความซับซ้อนของ "น้ำกระท่อม" ต่อการเกิดอาการถอนยา (Wright,2021)

 

 

ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลการศึกษาการใช้ "น้ำกระท่อม" ในหญิงตั้งครรภ์ที่แน่ชัด หากหญิงตั้งครรภ์ที่มีความประสงค์ใช้กระท่อมควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้เพื่อความปลอดภัยของมารดาและทารก