"สินเชื่อ" SME สร้างโอกาส กู้ออนไลน์ได้ 2 ล้าน ปลอดชำระ 12 เดือน เช็คได้ที่นี่
"สินเชื่อ" SME สร้างโอกาส เสริมสภาพคล่อง กู้สบาย ดอกเบี้ยต่ำ ปลอดชำระ 12 เดือน วงเกินกว่า 500 ล้านบาท เช็คเงื่อนไข ครบจบได้ที่นี่
"สินเชื่อ" SME สร้างโอกาส เสริมสภาพคล่อง SME จาก SME D Bank ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย เล็งเห็นวิกฤตภาคธุรกิจ SME ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 จนทำให้หลายธุรกิจต้องปิดตัวถาวร เนื่องจาก ไม่สามารถแบกรับภาระขาดทุนต่อเนื่องได้อีกต่อไปแล้ว
ล่าสุด SME D Bank ประกาศ โครงการสินเชื่อสร้างโอกาส เสริมสภาพคล่อง SME วงเงิน 500 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยเฉพาะ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
วัตถุประสงค์การกู้
- เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุง เสริมสภาพคล่องในการดำเนินกิจการ หรือ สำรองเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ
- หรือเป็นไปตามที่คณะกรรมการบริหารกำหนด
ทั้งนี้ ห้ามให้สินเชื่อ แก่ SME เพื่อนำเงินกองทุนไปชำระหนี้เดิมของสถาบันการเงินอื่น (Refinance) หรือ ทดแทนหนี้เดิมในสถาบันการเงินเดิม
เว้นแต่เป็นการลงทุนเฉพาะ ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ โดยมีการเปิด L/C (Letter of Credit) เพื่อนำเข้าสินค้า และมีระยะเวลาไม่เกิน 12 เดือน ให้สามารถนำเงินกองทุนไปชำระหนี้ที่เกิดจากการเปิด L/C และ/หรือ T/R (Trust Receipt) ให้กับสถาบันการเงินอื่นได้
คุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามของผู้อยู่ในข่ายได้รับการสนับสนุนด้านสินเชื่อ
- เป็น SME ที่มีศักยภาพ และมีขนาดของกิจการ ดังนี้
- กิจการประเภท การผลิตสินค้า หรือการให้บริการ โดยมีจำนวนการจ้างงานไม่เกินสองร้อยคน หรือมีมูลค่าสินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดิน ไม่เกินสองร้อยล้านบาท
- กิจการประเภท การค้าปลีก หรือการค้าส่ง โดยมีจำนวนการจ้างงานไม่เกินห้าสิบคน หรือมีมูลค่าสินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดิน ไม่เกินหนึ่งร้อยล้านบาท
- เป็น SME ที่เป็นนิติบุคคลสัญชาติไทย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เฉพาะที่เป็นบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือนิติบุคคลประเภทอื่น ตามที่คณะกรรมการบริหารกำหนด
- เป็น SME ที่เป็นผู้ผลิต ให้บริการ ค้าปลีก หรือค้าส่ง ในธุรกิจ ดังนี้
- กลุ่มอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
- กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารแปรรูป
- กลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่น
- กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน
- กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก
- กลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้าง
- กลุ่มอุตสาหกรรมโลจิสติกส์
- ธุรกิจอื่นให้เป็นไปตามประกาศ กระทรวงอุตสาหกรรม ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2561 หรือตามที่คณะกรรมการบริหารกำหนด
- ทั้งนี้ ธุรกิจที่ไม่เข้าข่ายที่จะให้การสนับสนุน ได้แก่ ธุรกิจจัดสรรที่ดินหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อขาย หรือธุรกิจผิดกฎหมาย หรือธุรกิจที่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของสังคม
- มีระบบบัญชีเดียว หรือ แจ้งความประสงค์ที่จะเข้าสู่ระบบบัญชีเดียว
- ไม่เป็น NPL หรือ ถูกดำเนินคดี ณ วันยื่นขอเข้าโครงการ
- มีประวัติการชำระหนี้ปกติ และไม่มีหนี้ค้างชำระกับสถาบันการเงิน ณ วันยื่นขอเข้าโครงการ
- ต้องไม่อยู่ระหว่างการยื่นความประสงค์ หรือได้รับความช่วยเหลือด้านการเงินจากทุนหมุนเวียนที่ได้ดำเนินการอยู่แล้ว ดังนี้
- กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
- เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย
- กองทุนพัฒนา SME ตามแนวประชารัฐ
- หรือเป็นไปตามที่คณะกรรมการบริหารกำหนด
การรับสมัครและคัดเลือก SME เข้าโครงการ
- การรับสมัคร SME ยื่นความประสงค์เข้าร่วมโครงการ ณ สำนักงาน โดยผ่านช่องทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักงาน www.thaismefund.com ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 เว้นแต่วงเงินสินเชื่อจะหมดก่อน สำนักงานมีหน้าที่บริหารการจัดสรรสินเชื่อในภาพรวม โดยให้เป็นไปตามที่สำนักงานกำหนด
- สำนักงาน จัดลำดับคำขอของ SME ที่ยื่นความประสงค์เข้าร่วมโครงการ และส่งให้หน่วยร่วมดำเนินการ เพื่อเข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการและอนุมัติสินเชื่อ
-
หน่วยงานที่ร่วมดำเนินการ มีหน้าที่และอำนาจ พิจารณาและคัดเลือก SME ที่มีคุณสมบัติเข้าข่ายของโครงการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อเข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการและอนุมัติสินเชื่อ
วงเงินสินเชื่อต่อราย
- ตั้งแต่ 1 แสนบาท (หนึ่งแสนบาท) และสูงสุดไม่เกิน 2 ล้านบาท (สองล้านบาท)
ประเภทสินเชื่อและระยะเวลาการให้กู้ยืม
- เงินกู้สินเชื่อระยะยาว (Term Loan) ระยะเวลากู้ สูงสุดไม่เกิน 7 ปี
- ปลอดชำระคืนเงินต้น สูงสุดไม่เกิน 12 เดือน
- ให้พิจารณาตามความจำเป็นและความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้
- อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี ตลอดอายุสัญญา หากมีการเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการบริหารประกาศกำหนด
- กรณีผิดนัดชำระหนี้ ให้เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติของหน่วยร่วมดำเนินการ แต่ทั้งนี้สูงสุดไม่เกินอัตราดอกเบี้ยตามที่กฎหมายกำหนด
ค่าธรรมเนียมการกู้
- ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ค่าอากรแสตมป์ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการบริหารกำหนดไปตามที่คณะกรรมการบริหารกำหนด
หลักประกัน พิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการเป็นสำคัญ โดยมีการผ่อนปรนหลักประกัน ดังนี้
- ให้กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม และ/หรือ ผู้ถือหุ้นใหญ่ และ/หรือ ผู้ได้รับประโยชน์จากสินเชื่อค้ำประกันเต็มวงเงินที่ได้รับอนุมัติ
- กรณีนำเงินของกองทุนไปลงทุนในเครื่องจักร หรือ ยานพาหนะ ให้จดทะเบียนเป็นหลักประกันทางธุรกิจเต็มวงเงินที่ได้รับอนุมัติ
- กรณีนำเงินไปลงทุนในอาคาร สิ่งปลูกสร้าง เครื่องจักร ยานพาหนะ ให้มีการจัดทำประกันภัยแก่หลักประกันตามแนวทางของหน่วยร่วมดำเนินการ
การยื่นสินเชื่อผ่านช่องทางออนไลน์
- ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ที่เว็บไซต์ www.thaismefund.com หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานกองทุนพัฒนา SME ตามแนวประชารัฐ โทร. 02-354-3310 หรือ E-mail : [email protected]
คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
ข้อมูล : thaismefund