เด่นโซเชียล

"ประกันสังคม" จ่าย ชดเชย ม.33 ม.39 ม.40 รับเงินกรณีไหน เท่าไหร่ เช็คจบที่นี่

"ประกันสังคม" จ่าย ชดเชย ม.33 ม.39 ม.40 รับเงินกรณีไหน เท่าไหร่ เช็คจบที่นี่

02 มี.ค. 2565

ล่าสุด "ประกันสังคม" พร้อมจ่าย ชดเชย มาตรา 33 มาตรา 39 มาตรา 40 แล้วจะได้รับเงินกรณีไหนบ้าง เท่าไหร่ เช็คได้เลย ครบจบที่นี่

 

อัปเดต "ประกันสังคม" ท่ามกลางการแพร่ระบาดของ โควิด-19 กลายพันธุ์ โควิดสายพันธุ์ใหม่ Omicron (โอไมครอน หรือ โอมิครอน) ที่น่ากังวลมากที่สุดเวลานี้ และแม้ โควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นอยู่เรื่อย ๆ แต่ชาวประกันสังคมไม่ต้องหวั่นใจไป เพราะ สำนักงานประกันสังคม พร้อมจ่าย ชดเชย ให้ทุกมาตรา

 

 

 

 

 

 

มาตรา 33

 

  • กรณีลาป่วย : รับค่าจ้าง 30 วันแรก จากนายจ้าง
  • หยุดรักษาตัว เกิน 30 วัน : สามารถเบิกสิทธิประโยชน์กรณีขาดรายได้ จากประกันสังคม นับตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วย โดยได้รับเงินทดแทนร้อยละ 50 ของค่าจ้างจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยได้รับครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน

 


มาตรา 39

 

  • รับเงินทดแทน ขาดรายได้ร้อยละ 50
  • คิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบ (4,800 บาท) : ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01)

 

 

* ม.33 และ ม.39 จะพิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และผู้ประกันตนต้องมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ

 

 

 

 

มาตรา 40

 

  • รับเงินทดแทนขาดรายได้ตามทางเลือก 1 - 2 - 3
  • ต้องนำส่งสมทบ 3 เดือน : ภายในระยะเวลา 4 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย พิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01/ม.40)

 

 

โควิด-19, ประกันสังคม, ค่าจ้าง, เงินทดแทนขาดรายได้, สำนักงานประกันสังคม