เด่นโซเชียล

แฉ "บัตร" เครดิต เดบิต บัตรกดเงิน รู้ให้ทัน มิจฉาชีพ อาจทำแบบนี้กับบัตรเราได้

แฉ "บัตร" เครดิต เดบิต บัตรกดเงิน รู้ให้ทัน มิจฉาชีพ อาจทำแบบนี้กับบัตรเราได้

22 ก.พ. 2565

แฉ "บัตร" เครดิต เดบิต บัตรกดเงินต่าง ๆ ตำรวจสอบสวนกลาง เผยข้อมูล มิจฉาชีพอาจทำแบบนี้กับบัตรเราได้ รู้ให้ทันป้องกันการโดนโกงไม่รู้ตัว

 

"บัตร" บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรกดเงินสด เป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่มาอำนวยความสะดวกประชาชนในเรื่องของการทำธุรกรรมทางการเงินแบบต่าง ๆ และด้วยความที่บัตรเหล่านี้ต้องมีข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลทางการเงิน ก็อาจเป็นช่องทางให้เหล่ามิจฉาชีพเข้ามาขโมยข้อมูลที่สำคัญได้ งานนี้ทางด้าน ตำรวจสอบสวนกลาง ก็ได้ออกมาโพสต์เตือนภัยเกี่ยวกับเรื่องราวนี้แล้ว

 

 

 

 

"บัตร" บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรกดเงินสด เชื่อว่าหลายคนต้องมีบัตรประเภทนี้ไว้ใช้งานอย่างน้อย 1 ใบ เพื่อความสะดวกสบายในการใช้จ่ายต่าง ๆ ที่มากขึ้น แต่บางครั้งสิ่งเหล่านี้ถ้าใช้งานอย่างไม่ระมัดระวัง ก็อาจเป็นช่องทางให้มิจฉาชีพเข้ามาฉวยโอกาสเอาข้อมูลที่สำคัญในบัตรเหล่านี้ไป จนหลายคนอาจจะต้องสูญเสียทรัพย์สินกันเลยทีเดียว และงานนี้เราจะรู้ให้เท่าทันกลโกงเหล่านั้นได้อย่างไร ทางด้านเพจเฟซบุ๊ก ตำรวจสอบสวนกลาง ก็ได้ออกมาโพสต์ข้อมูลเตือนภัยไว้ว่า รู้ทัน! 4 กลโกงบัตรอิเล็กทรอนิกส์

 

 

 

 

บัตรอิเล็กทรอนิกส์ เช่น บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรกดเงินต่าง ๆ เป็นบัตรที่อำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมทางการเงินให้กับเรา โดยบัตรเหล่านี้จะบันทึกข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลทางการเงินของเราไว้ ซึ่งหากมีมิจฉาชีพเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลทางการเงินที่บันทึกไว้ในบัตรของเราได้ มิจฉาชีพอาจจะนำข้อมูลไปปลอมทำบัตรเพื่อทำธุรกรรมต่าง ๆ แทนเรา

 

กลโกงบัตรอิเล็กทรอนิกส์ มีดังนี้

 

1. คัดลอกข้อมูลจากแถบแม่เหล็กของบัตร โดยเครื่องสกิมเมอร์ (Skimmer) ที่ติดตั้งไว้ที่ตู้เอทีเอ็ม

 

2. คัดลอกข้อมูลจากแถบแม่เหล็กของบัตร โดยเครื่องสกิมเมอร์ขนาดพกพา หรือแฮนด์เฮลด์สกิมเมอร์ (Handheld Skimmer) ซึ่งมิจฉาชีพมักจะถือไว้ในฝ่ามือ และจะนำบัตรของเหยื่อมารูดูรหัสปลอดภัยจากด้านหลังบัตร ขณะเหยื่อเผลอ

 

3. ปลอมแปลงเอกสารส่วนตัว หรือใช้เอกสารส่วนตัวของเหยื่อที่ขโมยมา ไปใช้สมัครบัตรเครดิต แล้วนำไปใช้จ่ายในนามของเหยื่อ

 

4. ขโมยข้อมูลจากใบบันทึกรายการ (ATM Slip) ตามตู้เอทีเอ็มที่มียอดคงเหลือค่อนข้างมาก โดยนำไปใช้ค้นหาข้อมูลสำคัญในการทำธุรกรรมทางการเงิน

 

ที่มา: ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย

 

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ตำรวจสอบสวนกลาง